แนวคิดและหลักการขององค์การมหาชน
องค์การมหาชน เป็นองค์กรของรัฐประเภทหนึ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อทำบริการสาธารณะที่ กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องการประสิทธิภาพสูง โดยมิได้ค้ากำไรจากการบริการ มี วัฒนธรรมองค์กรเยี่ยงภาคธุรกิจ ที่สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมิอาจดำเนินการได้ในส่วนราชการซึ่งเป็นองค์การแบบราชการ องค์การมหาชนมีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ องค์การมหาชน พ . ศ . 2542 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อรับผิดชอบภารกิจของรัฐในการให้ บริการสาธารณะหรือดำเนินกิจกรรมเฉพาะด้านที่ภาครัฐยังจำเป็นต้องดำเนินการและจัดให้มี หรือภาครัฐต้องมีบทบาทให้การสนับสนุนในเรื่องงบประมาณเพื่อให้เกิดการดำเนินงาน เป็นบริการในส่วนที่รัฐต้องการส่งเสริม หรือเป็นบทบาทของรัฐในการให้บริการ การแทรกแซงตลาด หรือบริการที่ภาคเอกชนยังไม่สนใจหรือมีศักยภาพที่จะดำเนินการ
หลักเกณฑ์พื้นฐานในการจัดตั้งองค์การมหาชนได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ . ศ . 2542 ซึ่งสามารถแยกแยะองค์ประกอบในการจัดตั้งได้ 3 ประการ คือ
- เมื่อรัฐบาลมีนโยบายด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ
- แผนงานการจัดทำบริการสาธารณะนั้นมีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งหน่วยงานบริหารขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
- การจัดตั้งหน่วยบริหารขึ้นใหม่นั้นมีความมุ่งหมายให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
ปัจจุบันมีองค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 รวม 20 แห่ง เช่น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เป็นต้น และผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอีกจำนวนหนึ่ง เช่น สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เป็นต้น และนอกจากองค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา ตาม พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ. 2542 แล้ว ในทางทฤษฎียังมีองค์กรของรัฐอีกประเภทหนึ่งที่ถูกจัดเป็นองค์การมหาชน คือ หน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งถ้าพิจารณาจากลักษณะของหน่วยงานแล้วพบว่า หน่วยงานในกำกับก็คือ องค์การมหาชน เพียงแต่เป็นรูปแบบหน่วยงานที่เกิดขึ้นก่อน องค์การมหาชน มีความแตกต่างจากองค์การมหาชนที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ . ศ . 2542 ในสามนัย คือ
(1) การจัดตั้ง หน่วยงานในกำกับจัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ของหน่วยงานแต่ละแห่ง ขณะที่องค์การมหาชนจัดตั้งตามพระราช กฤษฎีกา จัดตั้งหน่วยงาน ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ . ศ . 2542 ตัวอย่างเช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดตั้งตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2534 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดตั้งตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ในขณะนี้โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดตั้งตาม พระราช กฤษฎีกา จัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2543 และ พระราช กฤษฎีกา จัดตั้งสถาบัน เทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2549 ตามนัยของพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ . ศ . 2542 เป็นต้น
(2) การบริหารจัดการ หน่วยงานในกำกับ มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการมากกว่าองค์การมหาชน แม้ จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเช่นเดียวกับองค์การมหาชน แต่อำนาจในการบริหารจัดการเป็นของคณะกรรมการ โดยไม่ ถูกกำกับตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเพื่อกำกับ องค์การมหาชน ตัวอย่างเช่น การกู้ยืมเงิน การถือหุ้นหรือการเข้าร่วมทุนในกิจการของนิติบุคคลอื่นขององค์การมหาชนจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด แต่สำหรับหน่วยงานในกำกับ เช่น คณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีอำนาจในการวางระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการลงทุน การเข้าร่วมกิจการหรือถือหุ้นได้เอง เป็นต้น
(3) ลักษณะภารกิจ ในการจัดการภารกิจต้องการอำนาจตามกฎหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ขององค์การหรือตัวองค์การมีอำนาจ ในการกำกับตรวจสอบ หรือแทรกแซงกิจการอื่นอาจเป็นกิจการของรัฐหรือเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้รับบริการซึ่งอำนาจนั้นต้องมีกฎหมายรองรับ ตัวอย่างเช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น
ผลการดำเนินการ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 กำหนดให้ ก.พ.ร. รับผิดชอบใน การให้คำปรึกษาแนะนำแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งรวมถึง การส่งเสริม กำกับ ดูแล องค์การ มหาชน เพื่อการดำเนินการในเรื่องนี้ ก.พ.ร. ได้แต่งตั้ง อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมองค์การมหาชน และองค์กรรูปแบบอื่นในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการขึ้น โดยมีหน้าที่หลักในการพิจารณาออกแบบและวางระบบการบริหารงานเพื่อให้การจัดตั้งองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นฯ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย กำกับดูแลการเปลี่ยนสถานภาพ เพื่อให้องค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นฯ สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการจัดตั้งองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นฯ ทั้งนี้ สามารถสรุปสาระสำคัญของผลการดำเนินการในระยะเวลา
4 ปีที่ผ่านมา ของ อ.ก.พ.ร. ชุดดังกล่าวและสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ ดังนี้
1. การพัฒนาหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้กับองค์การมหาชน
คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ได้มีมติเห็นชอบกับข้อเสนอของ ก.พ.ร. ได้แก่
หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการองค์การมหาชน และ
หลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการองค์การมหาชน
หลักการสำคัญในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ทั้งสอง คือ การพิจารณาจัดกลุ่มองค์การ มหาชน จากการประเมินค่างานซึ่งพิจารณาจากองค์ประกอบ 3 มิติ คือ มิติความรับผิดชอบในการบริหารงาน มิติประสบการณ์ของผู้บริหาร และมิติสถานการณ์ ผลจากการประเมินค่างานสามารถจัดกลุ่มองค์การมหาชน ได้เป็น 3 กลุ่ม และกำหนดอัตราเงินเดือนพื้นฐานและอัตราเบี้ยประชุมแตกต่างตามการจัดกลุ่ม เป็นกรอบอัตราขั้นต่ำ ขั้นสูง โดยให้คณะกรรมการขององค์การมหาชนเป็นผู้มีอำนาจและรับผิดชอบในการกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการตามช่วงอัตราค่าตอบแทนตามการจัดกลุ่มขององค์การมหาชน ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง และให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดอัตราเบี้ยประชุมตามช่วงอัตราตามการจัดกลุ่มเช่นเดียวกับการกำหนดค่าตอบแทนผู้อำนวยการ
2. การพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชน
หลักการในเรื่องนี้ คือ การกำหนดระบบการประเมินผลองค์การมหาชน เพื่อพิสูจน์ถึงความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าขององค์การมหาชน โดยให้องค์การมหาชนทุกแห่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและลงนามในคำรับรองการปฏิบัติงาน โดยให้ ก.พ.ร.และสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้ประเมินผลงานขององค์การมหาชนตามคำรับรอง
การปฏิบัติงานและรายงานต่อคณะรัฐมนตรี
3. การกำหนดเป็นหลักการให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เพื่อจะได้ไม่ต้องดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตาม พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ในทุกครั้งที่มีการจัดตั้งหน่วยงาน ของรัฐ ก.พ.ร. จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ใหม่ และเสนอ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญในการกำหนดให้องค์การมหาชน และมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งมิใช่ส่วนราชการเป็นหน่วยงานของรัฐตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2547 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราช กฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่ ก.พ.ร. เสนอ และปัจจุบันได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2548 โดยให้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2548
4. การปรับปรุงพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ . ศ . 2542
เป็นการปรับปรุงแก้ไขในมาตราต่างๆ เช่น มาตรา 5 หน่วยงานที่จะตั้งเป็น องค์การมหาชน มาตรา 19 คณะกรรมการขององค์การมหาชน มาตรา 20 คุณสมบัติของกรรมการ มาตรา 43 การ กำกับดูแลองค์การมหาชน เป็นต้น63 โดยมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2548 อนุมัติหลักการร่าง พระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่ ก.พ.ร. เสนอ ปัจจุบัน ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
5. ขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน
การจะเสนอจัดตั้งหน่วยงานในกำกับ หรือองค์การมหาชน ให้ส่งเรื่องให้ ก . พ . ร . พิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี 64
อย่างไรก็ดี ส่วนราชการบางแห่งมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและแนวทางการขอจัดตั้งองค์การมหาชนดังกล่าว การขอจัดตั้งองค์การมหาชนส่วนใหญ่ที่นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรียังไม่มีความพร้อมเกี่ยวกับการจัดบทบาทภารกิจ การบริหารงานภายใน รวมทั้งทรัพยากรที่จะใช้ ทำให้คณะรัฐมนตรีได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา จากปัญหาที่เกิดขึ้น ก.พ.ร.ได้ทบทวนขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชนใหม่ 65 เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ รัฐมนตรีและหน่วยงานกลางมีความเข้าใจร่วมกันและเพื่อให้องค์การมหาชนที่จะจัดตั้งมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการลดภาระในการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
6. การจัดทำโครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินการขององค์การมหาชน การจัดทำโครงการประเมินผลองค์การมหาชนและหน่วยงานในกำกับของรัฐ
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดทำโครงการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลองค์การมหาชนและหน่วยงานในกำกับของรัฐ จำนวน 16 แห่ง โดยประเมินใน 3 เรื่อง คือ (1) ความเหมาะสมของพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และการบังคับใช้กฎหมาย (2) การประเมินผลการบริหารจัดการขององค์การมหาชนและ หน่วยงานในกำกับของรัฐ (3) การประเมินผลการดำเนินงานขององค์การมหาชนเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
ผลการศึกษาสามารถจำแนกประเภทองค์การมหาชนและหน่วยงานในกำกับของรัฐออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 หน่วยงานที่มีผลสัมฤทธิ์ในการบรรลุภารกิจ และความเป็นองค์การมหาชนเกื้อหนุนต่อความสำเร็จ
กลุ่มที่ 2 หน่วยงานที่มีผลสัมฤทธิ์ในการบรรลุภารกิจ แต่ความเป็นองค์การมหาชนมิได้เกื้อหนุนต่อความสำเร็จโดยตรง
กลุ่มที่ 3 หน่วยงานที่ประเมินผลสัมฤทธิ์ได้ลำบาก แต่ความเป็นองค์การมหาชนเกื้อหนุนต่อการดำเนินภารกิจ
กลุ่มที่ 4 หน่วยงานที่ต้องมีการพิจารณาทบทวนใหม่ทั้งในด้านขอบข่ายภารกิจหน้าที่ของ หน่วยงาน และในด้านของสถานภาพความเป็นหน่วยงานในระบบองค์การ มหาชน
การจัดตั้งองค์การมหาชน
ปัจจุบันการจัดตั้งองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ทั้งสิ้น 36 แห่ง ดังนี้
1. |
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน:Community Organizations Development Institute
|
พอช. |
27ก.ค 43 |
2. |
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์:Mihadol Wittayanusorn School
|
มหิดล |
25 ส.ค. 43 |
3. |
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว : Banphaeo Hospital
|
รพ.บ้านแพ้ว |
11 ก.ย. 43 |
4. |
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ Geo Informatics and Space Technology Development Agency
|
สทอภ. |
2 พ.ย. 43 |
5. |
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา The Office for National Education Standards and Quality Assessment
|
สมศ. |
3 พ.ย. 43 |
6. |
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร : Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropogy Centre
|
คมส. |
15พ.ย.43 |
7. |
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา The International Institute for Trade and Development
|
สคพ. |
30พ.ค.44 |
8. |
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ Thailand Convention and Exhibition Bureau
|
สสปน. |
27ก.ย.45 |
9. |
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร Agricultural Research Development Agency
|
สวก. |
14มี.ค.46 |
10. |
สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน : The Energy Fund Administration Institute
|
สบพน. |
26มี.ค.46 |
11. |
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน Designated Areas for Sustainable Tourism Administration
|
อพท. |
2 มิ.ย. 46 |
12. |
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ : Software Industry Promotion Agency
|
สอซช. |
23ก.ย. 46 |
13. |
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ The Support Arts and Crafts International Centre of Thailand
|
ศ.ศ.ป. |
31ต.ค.46 |
14. |
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ The Gem and Jewelry Institute of Thailand
|
สวอ. |
31ธ.ค.46 |
15. |
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ Office of Knowledge Management and Development
|
สบร. |
4 พ.ค. 47 |
16. |
สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency
|
สพพ. |
16พ.ค.48 |
17. |
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ : National Institute of Educational Testing Service
|
สทศ. |
2 ก.ย. 48 |
18. |
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง : Highland Research and Development Institute
|
สวพส. |
14ต.ค.48 |
19. |
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ : Thailand Institute of Nuclear Technology
|
สทน. |
20 เม.ย. 49 |
20. |
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก Thailand Greenhouse Gas Management Organization
|
อบก. |
16ก.ค.50 |
21. |
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ : Biodiversity Based Economy Development
|
สพภ. |
19ก.ย. 51 |
22. |
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน : Synchrotron Light Research Institute
|
สช. |
20เม.ย49 |
23. |
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร : Hydro and Agro Informatics Institute
|
สสนก. |
31ธ.ค 51 |
24. |
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติิ: National Astronomical Research Institute of Thailand
|
สดร. |
31ธ.ค 51 |
25. |
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ : Defence Technology Institute
|
สทป. |
31ธ.ค 51 |
26. |
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : The Golden Jubilee Museum of Agriculture Office
|
พกฉ. |
22 มิ.ย. 52 |
27. |
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล : The Heathcare Accreditation Institute
|
สรพ. |
22 มิ.ย. 52 |
28. |
หอภาพยนตร์ : Film Archive
|
หภ. |
22 มิ.ย. 52 |
29. |
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ : National Innovation Agency
|
สนช. |
1 ก.ย. 52 |
30. |
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ : Electronic Government Agency
|
สรอ. |
21 ก.พ. 54 |
31. |
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ : Electronic Transactions Development Agency
|
สพธอ. |
21 ก.พ. 54 |
32. |
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
|
สคช. |
30 มี.ค. 54 |
33. |
สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
|
บจธ. |
10 พ.ค. 54 |
34. |
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
|
ศลช. |
27 พ.ค. 54 |
35. |
ศูนย์คุณธรรม
|
ศคธ. |
9 มิ.ย. 54 |
36. |
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย
|
สธท. |
13 มิ.ย. 54 |
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 22 มิถุนายน 2554 10:56:31 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 22 มิถุนายน 2554 10:56:31