Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 (ดี) / ระบบการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

ระบบการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

ที่มา | ผู้รับผิดชอบ: ผชช. ศรีประภา ถมกระจ่าง

 
ระบบการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

1.  ในปี พ.ศ. 2554 คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) ได้กำหนด
แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ โดยกำหนดประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเป็น 2 ประเด็น คือ การสอบทานกรณีปกติ ซึ่งครอบคลุมเรื่องการตรวจราชการ
การตรวจสอบภายใน ทั้งนี้ให้รวมถึงการสอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยตรวจสอบภายในใน
การติดตามและตรวจสอบการประเมินมาตรฐานการจัดซื้อโดยรัฐการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ รายงานการเงิน และการสอบทานกรณีพิเศษ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐบาล หรือโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวง และโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง โดยกำหนดให้มีการรายงานผล
การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา
ปีละ 2 ครั้ง (รอบ 6 เดือน และ 12 เดือน) พร้อมรายงานผลการประเมินตนเอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณารายงานผลฯ รอบ 12 เดือนของปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 และได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 รับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเสนอ

2. ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

     ข้อค้นพบของส่วนราชการและจังหวัด พบว่ามีการพัฒนาการดำเนินงานในประเด็นที่ได้สอบทานทั้ง 5 ด้าน ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
    1) การตรวจราชการ ส่วนราชการและจังหวัดได้ปฏิบัติตามระเบียบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตามพบว่าหน่วยรับตรวจไม่นำข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการไปปฏิบัติเท่าที่ควร รวมทั้งโครงการในแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการยังไม่สะท้อนผลสัมฤทธิ์ของประเด็นนโยบายสำคัญของจังหวัด

    2) การตรวจสอบภายใน หน่วยตรวจสอบภายในของส่วนราชการและจังหวัดส่วนใหญ่มีผลการประเมินตนเองของหน่วยงานอยู่ในระดับดีถึงดีมาก โดยมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อใช้ในการวางแผนและรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจตามที่มีข้อเสนอแนะมากขึ้น แต่ยังคงพบว่ามีปัญหาด้านอัตรากำลังของผู้ตรวจสอบภายในโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับจังหวัด

    3) การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ส่วนราชการและจังหวัดมีการจัดทำแผน
การปรับปรุงการควบคุมภายในครบถ้วนตามภารกิจต่างๆ มากขึ้น แต่ยังพบว่าผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของบางหน่วยงานยังไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของระบบการควบคุมภายในเท่าที่ควร

    4) การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ส่วนราชการและจังหวัดส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในคำรับรองการปฏิบัติราชการได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังพบว่าบางส่วนราชการยังมีการรายงานข้อมูลในตัวชี้วัดยังไม่สมบูรณ์ ครบถ้วน

    5) รายงานการเงิน การจัดทำรายงานการเงินของส่วนราชการและจังหวัดตามระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) มีความถูกต้อง ครบถ้วนมากขึ้น

    6) การสอบทานกรณีพิเศษ การดำเนินงานโครงการสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ส่วนราชการและจังหวัดในการดำเนินโครงการอื่น ๆ เช่น โครงการตามนโยบายพลังงานและพลังงานทดแทนในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและจังหวัดตรังที่เป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าการดำเนินงานโครงการบางโครงการยังมีความล่าช้า และมีการรายงานในลักษณะของรายงานผลการดำเนินงานมากกว่ารายงานผลสัมฤทธิ์ของโครงการ นอกจากนี้โครงการในระดับจังหวัดยังไม่บูรณาการในภาพรวมทั้งระบบเท่าที่ควร

3. ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.)

    1) การตรวจราชการ ส่วนราชการและจังหวัดควรให้ความสำคัญในการรายงานการประเมินถึงความมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่าในการปฏิบัติงานตามภารกิจของกระทรวงกรม และผลการประเมินความคุ้มค่าหรือมูลค่าเพิ่มของโครงการภายใต้ห่วงโซ่แห่งคุณค่าของประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่สอดคล้องกับ 5 ประเด็นนโยบายสำคัญ ควรเร่งติดตามการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการ และควรเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง รวมถึงควรเร่งรัดการจัดทำแผนและรายงานการตรวจราชการให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
    2) การตรวจสอบภายใน หัวหน้าส่วนราชการต้องกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในให้เป็นไปตามบทบาทหน้าที่ และส่งเสริมสนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายในเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำกับดูแลให้ผู้ตรวจสอบภายในของจังหวัดดำเนินการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Audit) พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาทักษะและความเชี่ยวชาญ และนอกจากนี้ หน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาทบทวนโครงสร้างหน่วยงานตรวจสอบภายในเพื่อแก้ไขปัญหาข้อจำกัดด้านอัตรากำลังของผู้ตรวจสอบภายใน

    3) การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหารทุกระดับและเจ้าหน้าที่ของ
ส่วนราชการควรให้ความสำคัญและตระหนักถึงประโยชน์ของระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ควรจัดให้มีการเพิ่มพูนความรู้ด้านการวางระบบการควบคุมภายในฯ และควรมีการจัดทำคู่มือการสอบทานในเรื่องการบริหารความเสี่ยงของส่วนราชการ รวมถึงควรให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนการควบคุมภายในและเร่งรัดการดำเนินการจัดทำกิจกรรมตามแผนฯ

    4) การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ผู้บริหารหน่วยงานควรให้ความสำคัญและกำกับ เร่งรัดให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายของแต่ละตัวชี้วัดอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง ควรมีระบบข้อมูลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพและเป็นปัจจุบัน และควรให้ความสำคัญกับคำชี้แจงการปฏิบัติงาน ปัจจัยสนับสนุน อุปสรรคในการดำเนินงานและข้อเสนอแนะในปีต่อไป

    5) รายงานการเงิน หัวหน้าส่วนราชการของหน่วยเบิกจ่ายและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในทุกระดับของจังหวัด ควรกำกับดูแลให้บันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ GFMIS ให้ถูกต้อง ครบถ้วน รวมทั้งทบทวนและวิเคราะห์ผลการจัดทำรายงานการเงินที่ผ่านมาเพื่อปรับปรุงแก้ไขในปีต่อไป รวมถึงการจัดทำรายงานการเงินตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด การฝึกอบรมและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจการจัดทำรายงานการเงินในระบบ GFMIS

    6) การสอบทานกรณีพิเศษ ควรให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการตั้งแต่การเริ่มจัดทำแผนงาน การกำกับดูแล การติดตามและประเมินผล ทั้งนี้ หากเป็นโครงการต่อเนื่องควรที่จะกำหนดตัวชี้วัดรายปีและควรเน้นการสอบทานในระดับผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการด้วย และใน
การจัดทำโครงการควรให้ความสำคัญในความสอดคล้องของเป้าประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จ ผลผลิต ผลลัพธ์ของโครงการ และความคุ้มค่าของโครงการ และควรมีการซักซ้อมความเข้าใจในการคัดเลือกโครงการในการดำเนินการสอบทานกรณีพิเศษตามแนวทาง ที่ ค.ต.ป. กำหนด

4. การส่งเสริมด้านการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

    1) การบูรณาการระบบการตรวจสอบและประเมินผลของหน่วยงานกลาง ในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2554 ได้ดำเนินโครงการระบบสารสนเทศฐานข้อมูลกลางในการตรวจสอบและประเมินผล
ของหน่วยงานกลางที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร เพื่อลดภาระการจัดทำรายงานของ
ส่วนราชการ
    2) การดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
โดยศึกษาทบทวนบทบาทภารกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการให้มีประสิทธิภาพ มีขีดความสามารถในการส่งเสริมและกระตุ้นส่วนราชการให้มี
การกำกับดูแลและควบคุมตนเองที่ดีตามเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

    คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ พ.ศ. 2548 ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2548 ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่เสริมสร้างความเข้มแข็งในการกำกับดูแลและควบคุมตนเองที่ดีของส่วนราชการ และเสริมสร้างความน่าเชื่อถือ




ภาพที่ 2.2-19  นายนิวัฒน์ธํารง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ค.ต.ป. ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องประชุม ก.พ.ร. ชั้น 5 สำนักงาน ก.พ.ร.

         ในปี พ.ศ. 2555 ค.ต.ป. มีการสอบทานรายงานการตรวจราชการ การตรวจสอบภายใน (ทั้งนี้รวมถึงการสอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยตรวจสอบภายในในการติดตามและตรวจสอบการประเมินมาตรฐานการจัดซื้อโดยรัฐ) การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ และรายงานการเงิน รวมทั้งการสอบทานกรณีพิเศษ (โดยคัดเลือกโครงการในการสอบทาน 2 ลักษณะ คือ โครงการสำคัญตามนโยบายรัฐบาล หรือโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวง หรือ แผนงาน/โครงการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย) เพื่อรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ภาพที่ 2.2-19)

          ข้อค้นพบที่สำคัญของ ค.ต.ป. จากการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ทั้งของ
ส่วนราชการและจังหวัด) ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สรุปได้ว่า การตรวจราชการ พบว่าข้อมูลที่ใช้ประกอบการตรวจราชการมีความเป็นปัจจุบัน น่าเชื่อถือ รวมทั้งข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนราชการยังไม่ได้นำข้อเสนอแนะประเด็นต่าง ๆ ที่ได้จากรายงานผลการตรวจราชการ ไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ในส่วนของ
การตรวจสอบภายใน พบว่าส่วนราชการและจังหวัดมีการจัดทำแผนการตรวจสอบภายใน ตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงที่ครอบคลุมการตรวจสอบทุกด้าน และสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงาน การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง พบว่าส่วนราชการและจังหวัดส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการติดตามผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในมากขึ้น ในส่วนการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ พบว่า ส่วนราชการและจังหวัดส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในคำรับรองการปฏิบัติราชการเป็นอย่างดี และรายงานผลการดำเนินงานในทุกมิติให้มีความเป็นปัจจุบันภายใต้กรอบระยะเวลาที่กำหนด รายงานการเงิน พบว่าอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายในรอบ 6 เดือน ทั้งในภาพรวมและงบลงทุนของส่วนราชการและจังหวัดส่วนใหญ่ต่ำกว่าเป้าหมายตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และในการสอบทานกรณีพิเศษ พบว่า โครงการส่วนใหญ่มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนด อย่างไรก็ตาม พบว่าระบบฐานข้อมูลของจังหวัดที่เกี่ยวกับข้อมูลโครงการยังไม่เป็นระบบ สำหรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 สรุปได้ดังนี้

        1) การตรวจราชการ ผู้บริหารทั้งในระดับกระทรวงและกรม ควรให้ความสำคัญและสั่งการให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะและติดตามผลตามข้อเสนอแนะ

        2) การตรวจสอบภายใน หัวหน้าส่วนราชการควรกำชับและติดตามผลการดำเนินงานของ
หน่วยรับตรวจอย่างจริงจังต่อเนื่อง และหน่วยตรวจสอบภายในควรพัฒนารายงานผลการตรวจสอบให้มีข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน

        3) การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง ส่วนราชการควรมีการประชุมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการจัดวางระบบควบคุมภายใน และส่งเสริมกระบวนการให้ความรู้และจัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง

        4) การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ผู้บริหารควรกำกับและติดตามผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง และสร้างความตระหนักให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบให้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการขับเคลื่อนตัวชี้วัด

        5) รายงานการเงิน ส่วนราชการควรทบทวนแผนการดำเนินงาน และกลไกในการปฏิบัติงาน เพื่อควบคุม เร่งรัดติดตามการดำเนินการให้มีการเบิกจ่ายแล้วเสร็จทันตามระยะเวลาที่กำหนด

        6) การสอบทานกรณีพิเศษ ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 มีการสอบทานรวมทั้งสิ้น 52 โครงการ มีข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ ค.ต.ป. ควรประสานจัดส่งรายงานผลการสอบทานของโครงการ
ที่มีการดำเนินงานล่าช้าให้สำนักงบประมาณ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเร่งรัดการดำเนินโครงการและพิจารณาคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 และหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงบประมาณ เป็นต้น ควรจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณให้หน่วยปฏิบัติโดยเร็วขึ้น เพื่อให้สามารถจัดเตรียมความพร้อมการดำเนินงานโครงการไว้ล่วงหน้าและสามารถการเบิกจ่ายงบประมาณได้ทันภายในปีงบประมาณ รวมถึงควรมีการจัดทำฐานข้อมูลของจังหวัดเกี่ยวกับโครงการของจังหวัดเพื่อเป็นข้อมูลในการติดตามประเมินผลความสำเร็จของโครงการด้วย

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 กันยายน 2555 10:04:54 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 กันยายน 2555 10:04:54

เอกสาร และ สื่อ

2556    |  2553    |    2552    |   2551    |   2550    |    2549   |


  •  แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2553
  •  เอกสารประกอบการสัมมนาแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2553  วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม  2553 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นท์

     

     

  •  จำนวนส่วนราชการประจำจังหวัดที่ใช้ในการประเมินผลตามตัวชี้วัดที่ 13 ระดับ ความสำเร็จของการควบคุมภายใน

  •  การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26 27 เมษายน 2553 ณ จังหวัดสุรินทร์

     

  •  เอกสารประกอบการสัมมนา ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน เรื่องรายงานผลความก้าวหน้าของการประเมินผลตามตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการควบคุมภายใน รอบ 6 เดือน ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 โดย ผู้เชี่ยวชาญภารกิจการส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (นางกิตติยา คัมภีร์) วันอังคารที่ 10 สิงหาคม 2553 เวลา 08.30 12.00 น. ณ ห้องจตุรทิศ ชั้น 3 โรงแรมเรดิสัน กรุงเทพฯ



     


         
        


     

  •     ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

    เกี่ยวกับ

    กฏหมายและระเบียบ

    หนังสือเวียน

    ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

    ศูนย์ความรู้

    ประชาสัมพันธ์

    W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

    Slocan

    สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

    59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th