Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 (เก่ง) / การจัดองค์กรรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ เพื่อรองรับบทบาทและภารกิจภาครัฐที่ต้องการประสิทธิภาพสูง : องค์การมหาชน

การจัดองค์กรรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ เพื่อรองรับบทบาทและภารกิจภาครัฐที่ต้องการประสิทธิภาพสูง : องค์การมหาชน

ที่มา | ผู้รับผิดชอบ: คุณสุนทรี สุภาสงวน

การจัดองค์กรรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ เพื่อรองรับบทบาทและภารกิจภาครัฐที่ต้องการประสิทธิภาพสูง องค์การมหาชน (Public Organization)
องค์การมหาชน เป็นองค์กรของรัฐประเภทหนึ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อทำบริการสาธารณะที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องการประสิทธิภาพสูง โดยมิได้ค้ากำไรจากการบริการ มีวัฒนธรรมองค์กรเยี่ยงภาคธุรกิจ ที่สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งมิอาจดำเนินการได้ในส่วนราชการซึ่งเป็นองค์การแบบราชการ (Bureaucratic model) องค์การมหาชนมีสถานะเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นนิติบุคคล จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงาน เพื่อรับผิดชอบภารกิจของรัฐในการให้บริการสาธารณะหรือดำเนินกิจกรรมเฉพาะด้านที่ภาครัฐยังจำเป็นต้องดำเนินการและจัดให้มี หรือภาครัฐต้องมีบทบาทให้การสนับสนุนในเรื่องงบประมาณเพื่อให้เกิดการดำเนินงาน เป็นบริการในส่วนที่รัฐต้องการส่งเสริม หรือเป็นบทบาทของรัฐในการให้บริการ การแทรกแซงตลาด หรือบริการที่ภาคเอกชนยังไม่สนใจหรือมีศักยภาพที่จะดำเนินการ
หลักเกณฑ์พื้นฐานในการจัดตั้งองค์การมหาชนได้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ซึ่งสามารถแยกแยะองค์ประกอบในการจัดตั้งได้ 3 ประการ คือ

  • เมื่อรัฐบาลมีนโยบายด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อจัดทำบริการสาธารณะ
  • แผนงานการจัดทำบริการสาธารณะนั้นมีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งหน่วยงานบริหารขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
  • การจัดตั้งหน่วยบริหารขึ้นใหม่นั้นมีความมุ่งหมายให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ปัจจุบันมีองค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 รวม 20 แห่ง เช่น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน เป็นต้น และผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอีกจำนวนหนึ่ง เช่น สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เป็นต้น
และนอกจากองค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกา ตาม พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ. 2542 แล้ว ในทางทฤษฎียังมีองค์กรของรัฐอีกประแภทหนึ่งที่ถูกจัดเป็นองค์การมหาชน คือ หน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งถ้าพิจารณาจากลักษณะของหน่วยงานแล้วพบว่า หน่วยงานในกำกับก็คือ องค์การมหาชน เพียงแต่เป็นรูปแบบหน่วยงานที่เกิดขึ้นก่อนองค์การมหาชน มีความแตกต่างจากองค์การมหาชนที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ในสามนัย คือ

  • การจัดตั้ง หน่วยงานในกำกับจัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะของหน่วยงานแต่ละแห่ง ขณะที่องค์การมหาชนจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหน่วยงาน ตาม พ.ร.บ. องค์การมหาชน พ.ศ. 2542
  • การบริหารจัดการ หน่วยงานในกำกับมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการมากกว่าองค์การมหาชน แม้จะต้องอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเช่นเดียวกับองค์การมหาชน แต่อำนาจในการบริหารจัดการเป็นของคณะกรรมการ โดยไม่ถูกกำกับตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเพื่อกำกับองค์การมหาชน เป็นต้น       
  • ลักษณะภารกิจ ในการจัดการภารกิจต้องการอำนาจตามกฎหมายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ขององค์การหรือตัวองค์การมีอำนาจในการกำกับตรวจสอบ หรือแทรกแซงกิจการอื่นอาจเป็นกิจการของรัฐหรือเอกชน รวมทั้งประชาชนผู้รับบริการซึ่งอำนาจนั้นต้องมีกฎหมายรองรับ ตัวอย่างเช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น

ผลการดำเนินการ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 กำหนดให้ ก.พ.ร. รับผิดชอบในการให้คำปรึกษาแนะนำแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งรวมถึง การส่งเสริม กำกับ ดูแล องค์การมหาชน เพื่อการดำเนินการในเรื่องนี้ ก.พ.ร. ได้แต่งตั้ง อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมองค์การมหาชน และองค์กรรูปแบบอื่นในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการขึ้น โดยมีหน้าที่หลักในการ พิจารณาออกแบบและวางระบบการบริหารงานเพื่อให้การจัดตั้งองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นฯ มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย กำกับดูแลการเปลี่ยนสถานภาพ เพื่อให้องค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นฯ สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น รวมทั้งการติดตามและประเมินผลการจัดตั้งองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นฯ ทั้งนี้ สามารถสรุปสาระสำคัญของผลการดำเนินการในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ของ อ.ก.พ.ร. ชุดดังกล่าวและสำนักงาน ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและองค์กรรูปแบบอื่นฯ ได้ ดังนี้

1. การพัฒนาหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเพื่อใช้กับองค์การมหาชน
คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2547 ได้มีมติเห็นชอบกับข้อเสนอของ ก.พ.ร. ได้แก่

  • หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการองค์การมหาชน และ
  • หลักเกณฑ์การกำหนดเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการองค์การมหาชน

หลักการสำคัญในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ทั้งสอง คือ การพิจารณาจัดกลุ่มองค์การมหาชน จากการประเมินค่างานซึ่งพิจารณาจากองค์ประกอบ 3 มิติ คือ มิติความรับผิดชอบในการบริหารงาน มิติประสบการณ์ของผู้บริหาร และมิติสถานการณ์ ผลจากการประเมินค่างานสามารถจัดกลุ่มองค์การมหาชน ได้เป็น 3 กลุ่ม และกำหนดอัตราเงินเดือนพื้นฐานและอัตราเบี้ยประชุมแตกต่างตามการจัดกลุ่ม เป็นกรอบอัตราขั้นต่ำ ? ขั้นสูง โดยให้คณะกรรมการขององค์การมหาชนเป็นผู้มีอำนาจและรับผิดชอบในการกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการตามช่วงอัตราค่าตอบแทนตามการจัดกลุ่มขององค์การมหาชน ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง และให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดอัตราเบี้ยประชุมตามช่วงอัตราตามการจัดกลุ่มเช่นเดียวกับการกำหนดค่าตอบแทนผู้อำนวยการ

  • การพัฒนาการดำเนินงานและการประเมินผลองค์การมหาชน

หลักการในเรื่องนี้ คือ การกำหนดระบบการประเมินผลองค์การมหาชน เพื่อพิสูจน์ถึงความมีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าขององค์การมหาชน โดยให้องค์การมหาชนทุกแห่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและลงนามในคำรับรองการปฏิบัติงาน โดยให้ ก.พ.ร.และสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้ประเมินผลงานขององค์การมหาชนตามคำรับรองการปฏิบัติงานและรายงานต่อคณะรัฐมนตรี
2.  การกำหนดเป็นหลักการให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ก.พ.ร. ได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อมิให้จะต้องดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ในทุกครั้งที่มีการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ จึงควรที่จะได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ใหม่ ก.พ.ร. จึงได้เสนอ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ซึ่งมีสาระสำคัญในการกำหนดให้องค์การมหาชน และมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งมิใช่ส่วนราชการเป็นหน่วยงานของรัฐตามความหมายของมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2547 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....  ตามที่ ก.พ.ร. เสนอ และปัจจุบันได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2548 โดยให้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2548

3. การปรับปรุงพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542

สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2546 มอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และ ก.พ.ร.รับไปพิจารณาปัญหาอันเกิดจากกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน โดยหากต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายก็ให้ยกร่าง แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ในเรื่องนี้ ก.พ.ร. โดย อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนฯ และ อ.ก.พ.ร.เกี่ยวกับการตีความและวินิจฉัยปัญหากฎหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้พิจารณาเกี่ยวกับปัญหาของพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ได้พิจารณายกร่างแก้ไขพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการปรับปรุงแก้ไขในมาตราต่างๆ เช่น มาตรา 5 หน่วยงานที่จะตั้งเป็นองค์การมหาชน มาตรา 19  คณะกรรมการขององค์การมหาชน มาตรา 20 คุณสมบัติของกรรมการ  มาตรา 43 การกำกับดูแลองค์การมหาชน เป็นต้น
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2548 ลงมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่ ก.พ.ร. เสนอและให้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ปัจจุบัน ร่างพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

4. ขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน
การจะเสนอจัดตั้งหน่วยงานในกำกับหรือองค์การมหาชน ให้ส่งเรื่องให้ ก.พ.ร. พิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี
อย่างไรก็ดี ส่วนราชการบางแห่งมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและแนวทางการขอจัดตั้งองค์การมหาชนดังกล่าว การขอจัดตั้งองค์การมหาชนส่วนใหญ่ที่นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรียังไม่มีความพร้อมเกี่ยวกับการจัดบทบาทภารกิจ การบริหารงานภายใน รวมทั้งทรัพยากรที่จะใช้ ทำให้คณะรัฐมนตรีได้รับข้อมูลที่ไม่เพียงพอเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา จากปัญหาที่เกิดขึ้น ก.พ.ร.ได้ทบทวนขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชนใหม่ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ รัฐมนตรีและหน่วยงานกลางมีความเข้าใจร่วมกันและเพื่อให้องค์การมหาชนที่จะจัดตั้งมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการลดภาระในการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
5. การจัดทำโครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการดำเนินการขององค์การมหาชน

  • การจัดทำโครงการประเมินผลองค์การมหาชนและหน่วยงานในกำกับของรัฐ 

สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดทำโครงการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินผลองค์การมหาชนและหน่วยงานในกำกับของรัฐ จำนวน 16 แห่ง โดยประเมินใน 3 เรื่อง คือ (1) ความเหมาะสมของพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และการบังคับใช้กฎหมาย (2) การประเมินผลการบริหารจัดการขององค์การมหาชนและหน่วยงานในกำกับของรัฐ (3) การประเมินผลการดำเนินงานขององค์การมหาชนเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
ผลการศึกษาสามารถจำแนกประเภทองค์การมหาชนและหน่วยงานในกำกับของรัฐออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1    หน่วยงานที่มีผลสัมฤทธิ์ในการบรรลุภารกิจ และความเป็นองค์การมหาชนเกื้อหนุนต่อความสำเร็จ 
กลุ่มที่ 2    หน่วยงานที่มีผลสัมฤทธิ์ในการบรรลุภารกิจ แต่ความเป็นองค์การมหาชนมิได้เกื้อหนุนต่อความสำเร็จโดยตรง 
กลุ่มที่ 3    หน่วยงานที่ประเมินผลสัมฤทธิ์ได้ลำบาก แต่ความเป็นองค์การมหาชนเกื้อหนุนต่อการดำเนินภารกิจ
กลุ่มที่ 4    หน่วยงานที่ต้องมีการพิจารณาทบทวนใหม่ทั้งในด้านขอบข่ายภารกิจหน้าที่ของหน่วยงาน และในด้านของสถานภาพความเป็นหน่วยงานในระบบองค์การมหาชน
การจัดตั้งองค์การมหาชน
            ในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ก.พ.ร.ได้พิจารณาคำขอจัดตั้งองค์การมหาชนโดยพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 ในกระทรวงต่างๆ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 14 แห่ง ดังนี้

1.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน:Community Organizations Development Institute

พอช.

27ก.ค 43

2.

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์:Mihadol Wittayanusorn School

มหิดล

25 ส.ค. 43

3.

โรงพยาบาลบ้านแพ้ว : Banphaeo Hospital

รพ.บ้านแพ้ว

11 ก.ย. 43

4.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
Geo Informatics and Space Technology Development Agency

สทอภ.

2 พ.ย. 43

5.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
The Office for National Education Standards and Quality Assessment

สมศ.

3 พ.ย. 43

6.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร :  Princess Maha Chakri Sirindhorn
Anthropogy Centre

คมส.

15พ.ย.43

7.

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
The International Institute for Trade and Development

สคพ.

30พ.ค.44

8.

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
Thailand Convention and Exhibition Bureau

สสปน.

27ก.ย.45

9.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
Agricultural Research Development Agency

 สวก.      

14มี.ค.46

10.

สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน : The Energy Fund Administration Institute

สบพน.

26มี.ค.46

11.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
Designated Areas for Sustainable Tourism Administration

อพท.

2 มิ.ย. 46

12.

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ : Software Industry
Promotion Agency

สอซช.

23ก.ย. 46

13.

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ
The Support Arts and Crafts International Centre of Thailand

ศ.ศ.ป.

31ต.ค.46

14.

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ 
The Gem and Jewelry Institute of Thailand

สวอ.

31ธ.ค.46

หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ  (Service Delivery Unit : SDU)

เพื่อการส่งเสริมประสิทธิภาพการพัฒนาระบบราชการตามเจตนารมณ์และเงื่อนไขตามมาตรา 3/1 และมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2546 ? 2550) เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้ศึกษาแนวทางการจัดรูปแบบหน่วยงานของรัฐรูปแบบที่เรียกว่า ?หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ? (Service Delivery Unit: SDU)
แนวคิดและหลักการของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
1.   หน่วยบริการรูปแบบพิเศษคืออะไร
1.1 หน่วยบริการรูปแบบพิเศษมีสถานะเป็นหน่วยงานให้บริการภายในของระบบราชการ โดยมีลักษณะกึ่งอิสระหรือมี arm?s length แต่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลยังคงถือเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงหรือกรม และอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของปลัดกระทรวงหรืออธิบดีสุดแล้วแต่กรณี มีเป้าหมายให้บริการหน่วยงานแม่เป็นอันดับแรก และหากมีกำลังการผลิตส่วนเกินจะให้บริการหน่วยงานอื่นได้ ในการส่งมอบผลผลิตต้องมีระบบการประกันคุณภาพ
1.2 มีลักษณะของการจัดโครงสร้างการบริหารในแบบการกระจายอำนาจ แยกส่วนออกมาเป็นหน่วยงานเอกเทศ หรือเรียกกันว่า ศูนย์รับผิดชอบ (responsibility center) ที่สามารถดูแลรับผิดชอบการดำเนินงานการบริหารทรัพยากรและการส่งมอบผลผลิตของตนเองในลักษณะเดียวกันกับศูนย์กำไร (profit center) ที่นิยมจัดตั้งขึ้นในบริษัทธุรกิจโดยทั่วไป
1.3 มีการถ่ายโอนและโยกย้ายข้าราชการและลูกจ้างบางส่วนออกไป ลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงานให้ดีขึ้น

2.   ลักษณะงานที่อาจกำหนดเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ  
จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
2.1  มีลักษณะงานที่เป็นการให้บริการ
2.2  สามารถดำเนินการได้อย่างชัดเจนภายใต้กรอบนโยบายที่กำหนดขึ้น
2.3  มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและสร้างภาระรับผิดชอบต่อหน่วยงานแม่ต้นสังกัดได้
2.4  สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
2.5  มีขนาดที่เหมาะสมเพียงพอต่อการแยกส่วนออกมาจากหน่วยงานแม่ต้นสังกัด
2.6  ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

3. การบริหารงาน 
อาจดำเนินการในรูปของคณะกรรมการอำนวยการหรือคณะกรรมการบริหารที่ได้รับการแต่งตั้งจากหน่วยงานแม่ต้นสังกัด โดยให้มีผู้อำนวยการซึ่งผ่านการคัดเลือกตามเงื่อนไขที่กำหนด ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารงานให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าว ทั้งนี้ หน่วยบริการรูปแบบพิเศษจะต้องมีอิสระความคล่องตัวในการจัดโครงสร้างองค์กร อัตรากำลังและค่าตอบแทนของตนได้เองตามความเหมาะสม โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการอำนวยการหรือคณะกรรมการบริหาร หรือผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานแม่สุดแล้วแต่กรณี

 ผลการดำเนินการ
1.  ขั้นจัดทำต้นแบบและทดลองนำร่อง 5 หน่วยงาน คือ

  1. สำนักกษาปณ์  กรมธนารักษ์
  2. กองโรงพิมพ์  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  3. สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  สำนักงาน ก.พ.ร.
  4. หน่วยงานทางด้านศิลปะ วัฒนธรรมหรือ พิพิธภัณฑ์
  5. หน่วยงานทางด้านห้องปฏิบัติการ

2.  คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. ?.  ตามที่ ก.พ.ร. เสนอ
ในปัจจุบัน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. 2548 ได้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2548
3.  การจัดตั้งหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ รวม 4 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันนโยบายสาธารณะ (SDU) ในสำนักนายกรัฐมนตรี สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) (SDU) กรมประชาสัมพันธ์ สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา (SDU) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (SDU) สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานกำกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) (SDU)


1. ตารางแสดงข้อมูลพื้นฐานขององค์การมหาชน
2.พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542
3.พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์คุณธรรม
   - พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

  โดยสรุปปัจจุบันมีองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน รวม 36 แห่ง

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 21 ธันวาคม 2555 09:25:49 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 21 ธันวาคม 2555 09:25:49

เอกสาร และ สื่อ

2555    |   2554    |   2553    |    2551 - 2552    |   


 

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th