Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 (เก่ง)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 (เก่ง)

| ผู้รับผิดชอบ:

บทนำ

ภายใต้บริบทของการเปลี่ยนแปลงและท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาประเทศทั้งมิติเศรษฐกิจสังคมและการเมือง เพื่อประโยชน์สุขของคนไทยทุกกลุ่มอย่างสมดุล โดยที่กลุ่มหลากหลายของประชากรมีทั้งผู้ด้อยโอกาสและผู้มีสถานภาพสูง แต่ละกลุ่มมีความต้องการ ความคาดหวัง มีขีดความสามารถแตกต่างกันมาก จึงเป็นหน้าที่ของภาคราชการที่ต้องดูแลและให้บริการอย่างเป็นธรรม ภารกิจเหล่านี้เป็นงานยาก ละเอียดอ่อนและซับซ้อน ภาคราชการจึงต้องมีสมรรถนะสูง ดังนั้น การยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานของระบบราชการให้อยู่ในระดับสูงจึงเป็นเป้าหมายสำคัญของงานพัฒนาระบบราชการ โดยเพิ่มขีดสมรรถนะและเสริมสร้างระบบราชการให้ทันโลกทันสมัย การเพิ่มขีดความสามารถของภาคราชการได้เน้นการปรับระบบราชการสู่การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยมีประเทศชาติและประชาชนเป็นศูนย์กลาง การทำให้ราชการมีมาตรฐานการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล ในช่วงที่ผ่านมา ผลจากการยกระดับขีดความสามารถโดยการปรับระบบการปฏิบัติราชการที่เน้นผลสัมฤทธิ์สามารถวัดผลงานได้ โดยมีสิ่งจูงใจ ส่งผลให้หน่วยงานราชการได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานข้าราชการมีขีดสมรรถนะสูง และมีการนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในราชการมากขึ้น ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้สะดวกและสามารถตอบสนองความต้องการประชาชนได้ดีขึ้นโดยลำดับ

การยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล
(High Performance) เป็นกระบวนการบริหารราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 ที่กำหนดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategy Formulation) ในรูปของแผนการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลและแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของส่วนราชการ โดยมีแผนปฏิบัติราชการประจำปี (Strategy Implementation) ที่มีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี รวมทั้งการประเมินและบริหารความเสี่ยงตามแผนที่วางไว้ นอกจากนี้ในการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ จำเป็นต้องปรับแต่งองค์การให้พร้อมทำงานด้วยการจัดทำขัอเสนอการเปลี่ยนแปลง เช่น การจัดกระบวนงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดโครงสร้างองค์การ การพัฒนากฎ ระเบียบ การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ การจัดการองค์ความรู้ และการพัฒนาเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ยังมีการนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐซึ่งเป็นการตรวจสอบและรับรองคุณภาพการบริหารจัดการและผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงานภาครัฐ โดยวิธีสร้างแรงจูงใจทั้งในรูปของตัวเงินและมิใช่ตัวเงิน เพื่อจูงใจให้หน่วยงานคิดค้นวิธีการและวางเป้าหมายในการปรับปรุงประสิทธิภาพ และพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชนที่เป็นรูปธรรม

เมื่อส่วนราชการแปลงแผนการบริหารราชการแผ่นดินไปสู่การปฏิบัติในรูปของแผนปฏิบัติการประจำปีของ
ส่วนราชการแล้ว กระบวนการและขั้นตอนในการกำกับและติดตามผล เพื่อแสดงผลการปฏิบัติว่าเป็นไปตามแผนและเป้าหมายที่กำหนดไว้ในคำรับรองการปฏิบัติราชการหรือไม่ จะต้องปรับปรุงสิ่งใดหรือมีสิ่งใดที่ทำได้ดี มีมาตรฐานมีคุณภาพ กลไกในหลาย ๆ ด้านก็จะเริ่มทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการประเมินการดำเนินงานขององค์การว่าได้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือประเมินว่า เมื่อยุทธศาสตร์เกิดขึ้นแล้วจะช่วยทำให้องค์การบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่ รวมทั้งเป็นการประเมินว่าได้มีปัญหา อุปสรรคใดๆ ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มาใช้ในการปรับปรุงแผน การบริหารราชการแผ่นดิน แผนงาน โครงการ รวมทั้งการดำเนินงานของส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐต่อไป

การยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าสากลได้กำหนดเป้าหมายไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546-2550) ดังนี้
1. แต่ละหน่วยราชการได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานอย่างน้อย 1 กระบวนงานหลักภายในปี 2550
2. ข้าราชการได้รับการพัฒนาขีดความสามารถตรงตามที่กำหนดไว้ อย่างน้อยร้อยละ 80 โดยเฉลี่ยภายใน ปี 2550
3. ส่วนราชการอย่างน้อยร้อยละ 90 ได้รับการพัฒนาการให้บริการหรือสามารถดำเนินงานในรูปแบบรัฐบาล อิเล็กทรอนิกส์ได้ภายในปี 2550

การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ใช้มาตรการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2546-2550) ดังนี้

  1. มาตรการสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ เช่นการสรรหาบุคลากรที่มีความสามารถเข้าสู่ระบบราชการ โดยมุ่งเน้นการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การเลือกสรรแบบระบบเปิดที่เน้นสมรรถนะการบริหารมาใช้กับผู้บริหารทุกตำแหน่ง ทบทวนระบบการจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนให้เหมาะสม การเพิ่มผลิตภาพของข้าราชการ
    และให้ส่วนราชการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเชิงยุทธศาสตร์ เป็นต้น
  2. มาตรการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยม เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้บริหารระดับสูง การจัดทำคำแถลงค่านิยมสร้างสรรค์เพื่อลดปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ และสร้างการมีส่วนร่วมในการแสวงหากระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมใหม่ที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบราชการ
  3. มาตรการเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย เป็นรูปแบบของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์ ภายใต้แนวคิดการบริการที่ยึดประชาชนเป็นสำคัญ สามารถให้บริการได้ตลอดเวลา

มาตรการเพื่อบรรลุเป้าหมายตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยมีหมวดต่าง ๆ ที่รองรับดำเนินการดังนี้

  1. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของรัฐ (มาตรา 9,12-19)
  2. การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (มาตรา 20-26)
  3. การอำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน (มาตรา 39-40)
  4. การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (มาตรา 45-49)

จากผลการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมาปรากฏผลการดำเนินการ ดังนี้ (ภาพที่ 1-1)


ที่มา: รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการการประเมินผลการพัฒนาระบบราชการในภาพรวมและจัดทำรายงานของ ก.พ.ร. ประจำปี พ.ศ. 2548 โดย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปี 2549
ภาพที่ 1-1 ผลลัพธ์แสดงการบรรลุเป้าหมายการยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูง และเทียบเท่าเกณฑ์สากล

ผลการยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าสากล

  1. หน่วยงานราชการได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน อย่างน้อยหน่วยงานละ 1 กระบวนงานหลัก ภายใน
    ปี พ.ศ. 25502 ผลลัพธ์ที่ได้ (ปี 2549) คือ 60%
  2. ข้าราชการได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ (Competencies) ตรงตามที่กำหนดไว้ อย่างน้อยร้อยละ 80 ภายใน ปี พ.ศ. 25503 ผลลัพธ์ที่ได้ (ปี2549) คือ 80%
  3. ส่วนราชการอย่างน้อยร้อยละ 90 ได้รับการพัฒนาการให้บริการหรือสามารถดำเนินงานในรูปแบบรัฐบาล อิเลกทรอนิกส์ได้ภายในปี พ.ศ. 25504 ผลลัพธ์ที่ได้ (ปี 2549) คือ 80%

ทั้งนี้ การยกระดับขีดความสามารถและมาตรฐานการทำงานให้อยู่ในระดับสูงและเทียบเท่าเกณฑ์สากล คือ
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ประกอบด้วยกระบวนการหลัก 3 ส่วน ได้แก่ การวางแผนยุทธศาสตร์หรือแผนการบริหารราชการแผ่นดิน การนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และการกำกับและติดตามผล ซึ่งทั้งสามส่วนมีความเชื่อมโยงกันเป็นระบบและในแต่ละส่วนจะมีระบบย่อยที่มีปฏิสัมพันธ์ในลักษณะของกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามแผนภาพข้างล่างนี้ (ภาพที่ 1-2)


2 มาจาก KPI 18 คือ ระดับความสำเร็จของการจัดทำมาตรฐานการรับประกันคุณภาพระบบงาน

3 มาจาก KPI 14 คือ ระดับความสำเร็จของแผนการบริหารด้านการพัฒนาขีดสมรรถนะองค์กรและบุคลากรและ KPI 16 คือ ร้อยละเฉลี่ยของจำนวนข้าราชการที่ฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ส่วนราชการกำหนด

4 มาจาก KPI 17 คือ ระดับคุณภาพของการจัดการสารสนเทศของส่วนราชการ

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2554 12:09:41
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th