Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 (เก่ง) / การจัดองค์กรรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ เพื่อรองรับบทบาทและภารกิจภาครัฐที่ต้องการประสิทธิภาพสูง : องค์การมหาชน / การถ่ายโอนภารกิจให้ภาคเอกชน / ภาคประชาสังคม

การถ่ายโอนภารกิจให้ภาคเอกชน / ภาคประชาสังคม

| ผู้รับผิดชอบ:

ที่มา

1. รัฐบาลได้มีนโยบายในการปรับบทบาทของภาครัฐ โดยลดภารกิจของภาครัฐบางส่วนลง และส่งเสริมหรือมอบให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการแทน มีแนวทางดำเนินการหลายแนวทาง คือ

1.1 การที่รัฐถอนตัวออกจากการดำเนินกิจกรรมบางอย่างและถ่ายโอนงานนั้นให้ภาคเอกชนดำเนินการแทน
1.2 การที่รัฐถอนตัวออกจากการดำเนินกิจกรรมบางอย่างและถ่ายโอนงานนั้นให้ภาคเอกชนดำเนินการแทน โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด
1.3 การจ้างเหมาบริการ เป็นการที่รัฐซื้อบริการจากภาคเอกชนเพื่อให้ปฏิบัติงานของ รัฐ โดยดำเนินการจ้างหรือดำเนินการจ้างที่ปรึกษาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ในการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการ ปี พ.ศ. 2545 ได้มีการ พิจารณาถ่ายโอนภารกิจที่กระทรวง ทบวง กรม ดำเนินการอยู่บางอย่างให้ภาคเอกชนดำเนินการทั้ง 3 แนวทาง โดยแนวทางที่มีการดำเนินการ มากที่สุด คือ การจ้างเหมาบริการ เนื่องจากทำได้กับงานเกือบทุกประเภท หากงานนั้นไม่มีผู้ปฏิบัติหรือมีแต่ไม่เพียง พอที่จะทำงานได้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการลดขนาดกำลังคนภาครัฐของรัฐบาล ลักษณะงานที่สามารถจ้างเหมาบริการได้มีทั้งงานที่ใช้แรงงาน งานที่ใช้ทักษะฝีมือและงานทางวิชาการ อาทิ งานรักษาความปลอดภัย งานดูแลต้นไม้ สนามหญ้า และสวนหย่อม งานยานพาหนะ งานศึกษาวิจัย งานติดตามประเมินผล งานจัดทำคำแปล งานผลิตและพิมพ์เอกสาร งานสถิติข้อมูล งานสำรวจออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง งานซ่อมบำรุงยานพาหนะ งานพัฒนาบุคคล งานตรวจสอบ และรับรอง มาตรฐาน และงานเทคนิคต่าง ๆ ที่เอกชนมีความชำนาญมากกว่า เป็นต้น

2. ใน ปี พ.ศ. 2546 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษา ดำเนินการศึกษาโครงการ การจัดการการพัฒนาระบบราชการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งได้มีแนวคิดในการจัดภารกิจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ดังนี้

แนวคิดการจัดกลุ่มภารกิจของรัฐตามลักษณะภารกิจ (F: Function) และการมีส่วนร่วม (P: Participation) ของภาคเอกชน - ภาคประชาชน

การพัฒนาระบบราชการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างเป็นองค์รวม เริ่มจาก การจัดกลุ่มภารกิจของรัฐ ตามลักษณะ ภารกิจ (F: Function) และการมีส่วนร่วม (P: Participation) ของภาคเอกชน - ภาคประชาชน อันนำไปสู่การจัดกลุ่มกระทรวงเพื่อที่เปิดให้ภาคเอกชน - ประชาชนมีส่วนร่วม โดยอธิบายบนภาพที่ 1-7 ให้แกนตั้งแทนการดำเนินงานที่ภาครัฐเป็นหลัก และแกนนอนแทนการดำเนินงานที่มีภาคเอกชน - ประชาชนเป็นหลัก ดังนั้นเส้นแบ่งที่ทำมุม 45 องศา จึงแทนการดำเนินงานแบบผสมหรือแบบเครือข่าย กระทรวงที่อยู่ใกล้แกนใด หมายถึงการดำเนินงานที่สามารถดำเนินงานในรูปแบบนั้นๆ ได้มาก - น้อย ตามลำดับ


ภาพที่ 1-7 ระดับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนและประชาชน
ที่มา : ชัยอนันต์ สมุทวณิช. มูลนิธิส่งเสริมนโยบายศึกษา, รายงานฉบับสมบูรณ์ การจัดการการพัฒนาระบบราชการเพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างเป็นองค์รวม 2546 เสนอต่อ สำนักงาน ก.พ.ร., หน้า 96.

เพื่อให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ทำให้ภาคเอกชนเติบโตอย่างรวดเร็ว ภาคประชาชนและชุมชนมีความเข้มแข็งและต้องการมีส่วนร่วมในการดำเนินการและจัดการมากขึ้นทั้งในส่วนกลาง ภูมิภาคและท้องถิ่น ดังนั้น ในการปฏิรูประบบราชการจึงควรมีการทบทวนถึงระดับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน - ประชาชนใหม่ใน 3 ระดับคือ

  • ภารกิจที่ภาครัฐเป็นผู้ควบคุมหรือดำเนินการหลัก
  • ภารกิจที่ภาครัฐ - เอกชน - ประชาชนร่วมกันจัดการได้
  • ภารกิจที่ภาคเอกชน - ประชาชนสามารถจัดการได้เองภายใต้กติกาและการส่งเสริมของภาครัฐ

การแบ่งภารกิจออกเป็น 3 ประเภทดังกล่าวทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มกระทรวงออกเป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทที่ 1 กระทรวงที่มีภารกิจที่รัฐเป็นผู้ควบคุมหรือดำเนินการหลัก ได้แก่
1. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2. กระทรวงสาธารณสุข
3. กระทรวงยุติธรรม
4. กระทรวงการต่างประเทศ
5. กระทรวงมหาดไทย
6. กระทรวงกลาโหม
7. กระทรวงการคลัง
8. สำนักนายกรัฐมนตรี

ประเภทที่ 2 กระทรวงที่มีภารกิจที่ภาครัฐ - เอกชน - ประชาชน ร่วมกันจัดการได้
1. กระทรวงศึกษาธิการ
2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ประเภทที่ 3 กระทรวงที่มีภารกิจที่ภาคเอกชน - ประชาชนสามารถ จัดการได้เองภายใต้กติกาและการส่งเสริมของภาครัฐ
1. กระทรวงแรงงาน
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3. กระทรวงพลังงาน
4. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
5. กระทรวงอุตสาหกรรม
6. กระทรวงพาณิชย์
7. กระทรวงวัฒนธรรม

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 กรกฎาคม 2551 15:48:34 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 กรกฎาคม 2551 15:48:34
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th