การจัดสรรเงินรางวัลประจำปี22 เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี กำหนดให้ทุกส่วนราชการและจังหวัดต้องมีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและการประเมินผลและสิ่งจูงใจตามผลของงาน เริ่มครั้งแรกในปี2547การจัดสรรได้คำนึงถึง
- ผลการประเมินการปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการและจังหวัดต่างๆ โดยประเมินจากความสำเร็จในการดำเนินการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
- ขนาดของส่วนราชการโดยใช้ข้อมูลเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการและลูกจ้างประจำ ที่มีผู้ครอง ณ วันที่ 1 กันยายน จากกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
- การมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนราชการในพื้นที่ โดยจำแนกเป็น (1) ราชการบริหารส่วนกลาง (2) ราชการบริหารส่วนกลางที่ปฏิบัติราชการอยู่ในส่วนภูมิภาค และ (3) ราชการบริหารส่วนภูมิภาค
สรุปความคิดเห็นต่อการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานจัดสรรเงินรางวัลประจำปี 2547
จุดเด่น |
1. สร้างขวัญและกำลังใจให้กับข้าราชการ ทำให้ข้าราชการความกระตือรือร้นและตื่นตัวในการทำงานมากขึ้น 2. มีส่วนผลักดันให้แผนงาน โครงการที่กำหนดไว้ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลชัดเจน ผลประโยชน์ ทางอ้อมที่ข้าราชการจะ ได้รับคือ การพัฒนาหน่วยงาน คุณภาพงาน และการทำงานให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้าราชการ/หน่วยงานได้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อประชาชน และสังคมมากขึ้น 3. ทำให้ข้าราชการได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเงินเดือน |
จุดด้อย |
ข้อควรปรับปรุง |
1. การรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดสรรเงินรางวัลไม่ชัดเจน ไม่ทั่วถึง เช่น - ข้อกำหนดในการจัดสรรเงินรางวัล - มาตรฐานที่ใช้ในการจัดสรรเงินรางวัล - ความยุติธรรมและความโปร่งใส |
1.1 ตั้งคณะทำงานกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานและการจัดสรรเงินรางวัลที่มีผู้แทนจากทุกสำนัก/กอง/หน่วยงาน 1.2 รับฟังความคิดเห็น (hearing) / และประกาศให้ทราบโดยทั่วถึง 1.3 เพิ่มความหลากหลายในการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ควรใช้ทั้งหนังสือเวียน หรือ เอกสารคู่มือต่างๆที่ส่ง ให้กับหน่วยงาน ส่วนราชการและจังหวัดอย่างทั่วถึง การประชุมชี้แจงโดยตรง หรือ ระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต |
2. จำนวนเงินรางวัลที่ได้รับการจัดสรรน้อย |
2.1 เพิ่มจำนวนที่ใช้ในการจัดสรรเงินรางวัลให้ มากขึ้น 2.2 เพิ่มรูปแบบของรางวัลเป็นแบบอื่น ๆ เช่น การเพิ่มสวัสดิการด้านอื่น การพัฒนาหรือส่งเสริมให้ข้าราชการมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง หรือการมอบรางวัลต่าง ๆ เป็นต้น |
การดำเนินจัดสรรเงินรางวัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 สรุป ดังนี้
1. การรับรู้และเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรเงินรางวัล
1) แจ้งรายละเอียด หลักเกณฑ์ แนวทางและวิธีการไปยังส่วนราชการ สถาบันอุดมศึกษาและจังหวัดทุกแห่ง โดยตรง เช่น แจ้งผ่านหนังสือเวียน (ทั้งแบบเอกสารราชการ และบนเว็บไซต์) และให้ทุกหน่วยงานจัดทำหลักเกณฑ์แล้วประกาศ หรือ มีการแจ้งให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัดทราบโดยทั่วกัน
2) จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับส่วนราชการ และสถาบันอุดมศึกษา สำหรับจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด นั้น สำนักงาน ก.พ.ร.ได้จัดชี้แจงและตอบคำถามพร้อมกันโดยการประชุมทางไกล
3) ตอบปัญหา หรือ ข้อสงสัย ข้อร้องเรียนหรือ แจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบราชการ การจัดสรรเงินรางวัล ทั้งทางเว็บไซต์ สายด่วน หรือ ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
2. หลักเกณฑ์ของการจัดสรรเงินรางวัล
1) มีการจัดทำหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน พร้อมตัวอย่างเพื่อให้ส่วนราชการ/จังหวัดนำไปปฏิบัติ หรือ ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำหลักเกณฑ์สำหรับการจัดสรรเงินรางวัลให้กับข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัดต่อไปได้อย่างเหมาะสมกับส่วนราชการนั้นๆ โดยมีความถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของการจัดสรรเงินรางวัลอย่างแท้จริง และสอดคล้องกับระเบียบการเบิกจ่ายของกระทรวงการคลัง
2) กำหนดให้ส่วนราชการ/จังหวัด แจ้งหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินรางวัลให้กับข้าราชการโดยตรงหรือ สามารถเปิดเผยข้อมูลต่างๆที่ใช้ในการพิจารณาการจัดสรรเงินรางวัล เพื่อความโปร่งใสในการจัดสรรเงินรางวัล
3) กำหนดให้มีคณะกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินรางวัลของ
ส่วนราชการ/จังหวัด เพื่อความโปร่งใส ความยุติธรรม และให้จัดส่งหลักเกณฑ์ที่กำหนดในการจัดสรรเงินรางวัลของส่วนราชการ/จังหวัด ไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อช่วยสอบทานว่าการจัดสรรเงินรางวัลเป็นไปตามหลักเกณฑ์กลางและสอดคล้องกับระเบียบการเบิกจ่ายที่กำหนดไว้หรือไม่
สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป
สำหรับการดำเนินการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีงบประมาณต่อไป ข้อมูลจากหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการและจังหวัดต่างๆส่งไปยังสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งผลการสำรวจ ก.พ.ร.จะทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ แนวทางและวิธีการจัดสรรเงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 และอาจมีการปรับรูปแบบของสิ่งจูงใจให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อความมีส่วนร่วม ความโปร่งใส ความเหมาะสมตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีต่อไป
สรุป ในการเพิ่มโอกาสการพัฒนาระบบราชการที่มุ่งสร้างความร่วมมือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงจากภายในระบบราชการ รัฐบาลได้สร้างสิ่งจูงใจแก่ข้าราชการโดยปรับปรุงเงินเดือนและค่าตอบแทนให้เหมาะสมเพื่อเป็นการตอบแทนข้าราชการที่ได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ เป็นการธำรงรักษาข้าราชการที่มีคุณภาพให้อยู่ในระบบราชการและจูงใจให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่ระบบราชการมากขึ้น ทั้งนี้ นอกจากการปรับปรุงเงินเดือนแล้ว ยังปรับรูปแบบการให้ค่าตอบแทนพิเศษโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงาน ซึ่งช่วยสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถมากขึ้น เป็นการเชื่อมโยงค่าตอบแทนกับผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการและข้าราชการ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 3 มีนาคม 2557 16:05:13 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 3 มีนาคม 2557 16:05:13