Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 (ดี) / การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

| ผู้รับผิดชอบ:

3. การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
3.1 ระบบการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
          คณะกรรมการการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) มีการสอบทานรายงานการตรวจราชการ การตรวจสอบภายใน การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ และรายงานการเงิน รวมทั้งการสอบทานกรณีพิเศษ เพื่อรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยมีการรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ปีละ 2 ครั้ง (รอบ 6 เดือน และ 12 เดือน) พร้อมรายงานผลการประเมินตนเอง
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ค.ต.ป. ยังคงดำเนินงานภายใต้กรอบแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยกำหนดประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเป็น 2 ประเด็น คือ การสอบทานกรณีปกติซึ่งครอบคลุมเรื่องการตรวจราชการ การตรวจสอบภายใน (ทั้งนี้ ให้รวมถึงการสอบทานการปฏิบัติงานของหน่วยตรวจสอบภายในในการติดตามและตรวจสอบการประเมินมาตรฐานการจัดซื้อโดยรัฐ) และการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ รายงานการเงิน และการสอบทานกรณีพิเศษ ซึ่งเป็นโครงการสำคัญตามนโยบายรัฐบาล หรือโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กระทรวง
จากรายงานข้อค้นพบของส่วนราชการและจังหวัด พบว่ามีการพัฒนาการดำเนินงานในประเด็นที่ได้สอบทานทั้ง 5 ด้านดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1)    การตรวจราชการ ส่วนราชการและจังหวัดได้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548 ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด มีข้อค้นพบและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในระยะต่อไป อย่างไรก็ตาม พบว่าหน่วยรับตรวจไม่นำข้อเสนอแนะของผู้ตรวจราชการไปปฏิบัติเท่าที่ควร รวมทั้งโครงการในแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการยังไม่สะท้อนผลสัมฤทธิ์ของประเด็นนโยบายสำคัญของจังหวัด
2)    การตรวจสอบภายใน หน่วยตรวจสอบภายในของส่วนราชการและจังหวัดส่วนใหญ่มีผลการประเมินตนเองของหน่วยงานอยู่ในระดับดีถึงดีมาก โดยมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อใช้ในการวางแผนและรายงานผลการตรวจสอบพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง รวมทั้งติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจตามที่มีข้อเสนอแนะมากขึ้น แต่ยังคงพบว่ามีปัญหาด้านอัตรากำลังของผู้ตรวจสอบภายในโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับจังหวัดที่ยังมีข้อจำกัดในด้านทักษะ ความรู้ ความเข้าใจต่อการปฏิบัติงาน การควบคุมภายในและการบริหารควาสี่ยง ส่วนราชการและจังหวัดมีการจัดทำแผนการปรับปรุงการควบคุมภายในครบถ้วนตามภารกิจต่าง ๆ  มากขึ้น พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการรายงานให้ผู้บริหารทราบเพื่อการปรับปรุงการบริหารของหน่วยงาน แต่ยังพบว่าผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของบางหน่วยงานยังไม่ตระหนักถึงประโยชน์ของระบบการควบคุมภายในเท่าที่ควรและมีการวางระบบควบคุมภายในตามระเบียบแต่การนำมาปฏิบัติยังไม่ได้รับการตอบสนองให้เป็นไปตามเป้าหมาย
3)    การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ส่วนราชการและจังหวัดส่วนใหญ่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในคำรับรองการปฏิบัติราชการได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังพบว่าบางส่วนราชการมีการรายงานข้อมูลในตัวชี้วัดยังไม่สมบูรณ์ ครบถ้วน โดยไม่รายงานปัญหา/อุปสรรคต่าง ๆ รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงงานในปีต่อไป รวมถึงยังพบว่าจังหวัดยังมีข้อจำกัดในการจัดเก็บและจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการดำเนินงานตามตัวชี้วัด
4)    รายงานการเงิน การจัดทำรายงานการเงินของส่วนราชการและจังหวัดตามระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) มีความถูกต้อง ครบถ้วนมากขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาในปีที่ผ่านมาได้ในระดับหนึ่ง แม้จะพบว่าเจ้าหน้าที่ยังมีข้อจำกัดในความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการเงินในระบบ GFMIS และการเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการส่วนใหญ่ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ตาม
5)    การสอบทานกรณีพิเศษ การดำเนินงานโครงการสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่   ส่วนราชการและจังหวัดในการดำเนินโครงการอื่น ๆ เช่น โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษไทย กัมพูชา จัดสร้างซุ้มประตูเมืองพรมแดนคลองลึก ปอยเปต ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ และโครงการตามนโยบายพลังงานและพลังงานทดแทนในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและจังหวัดตรังที่เป็นแบบอย่างที่ดี ในเรื่องการใช้พลังงานทดแทนเพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่า การดำเนินงานโครงการบางโครงการยังมีความล่าช้า โดยมีการรายงานในลักษณะของรายงานผลการดำเนินงานมากกว่ารายงานผลสัมฤทธิ์ของโครงการ นอกจากนี้ โครงการในระดับจังหวัดยังไม่บูรณาการในภาพรวมทั้งระบบเท่าที่ควร
          ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ค.ต.ป. ได้มีการดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบ แนวทาง การตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ โดยศึกษาทบทวนบทบาทภารกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการให้มีประสิทธิภาพ มีขีดความสามารถในการส่งเสริมและกระตุ้นส่วนราชการให้มีการกำกับดูแลและควบคุมตนเองที่ดีตามเป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
3.2 ระบบสารสนเทศฐานข้อมูลกลางในการตรวจสอบและประเมินผลของหน่วยงานกลางที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานกลางในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของภาคราชการที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) กำหนดแนวทาง วิธีการการบูรณาการระบบการตรวจสอบและประเมินผลของหน่วยงานกลางที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร และผลักดันให้หน่วยงานกลาง รวมทั้งส่วนราชการต่าง ๆ ดำเนินการตามแนวทาง วิธีการบูรณาการระบบการตรวจสอบและประเมินผลของหน่วยงานกลางที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร
ทำให้สามารถจัดทำฐานข้อมูลกลางของเครื่องมือการประเมินผลฯ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานกลางต่างๆ จำนวน 10 เครื่องมือ ส่งผลให้สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การตรวจสอบและประเมินผลของหน่วยงานกลาง และช่วยลดความซ้ำซ้อนในการเตรียมเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ ให้หน่วยงานกลางของส่วนราชการต่าง ๆ ในการตรวจสอบและประเมินผล คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2553 ได้มีมติเห็นชอบกับข้อเสนอของ ค.ต.ป. โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. ศึกษาและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลกลางของเครื่องมือประเมินผลฯ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ขยายผลจากการศึกษาออกแบบระบบสารสนเทศฐานข้อมูลกลางฯ ในระยะที่ 1 โดยเป็นการทดลองการใช้งานจริงในส่วนราชการระดับกรมใน 3 เครื่องมือ ได้แก่
1)    การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
2)    การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)
3)    การวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (PART)


 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 20 ธันวาคม 2555 15:08:20 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 1 มีนาคม 2556 16:15:14

เอกสาร และ สื่อ

2556    |  2553    |    2552    |   2551    |   2550    |    2549   |

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th