Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 (เก่ง) / หลักสูตรการบริหารกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับผู้บริหารระดับสูง (บบพ.)

หลักสูตรการบริหารกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับผู้บริหารระดับสูง (บบพ.)

| ผู้รับผิดชอบ:

หลักสูตรการบริหารกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับผู้บริหารระดับสูง (บบพ.)

          สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ดำเนิน โครงการหลักสูตรการบริหารกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับผู้บริหารระดับสูง (บบพ.) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และกรอบการคิดวิเคราะห์ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ตั้งแต่ภาพรวมของการพัฒนาประเทศทั้งในระดับชาติ ระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ระดับท้องถิ่นและชุมชน จนถึงการประชุมเชิงปฏิบัติการและการศึกษาดูงานตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาพื้นที่ซึ่งการดำเนินกิจกรรมในโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในอนาคตสอดคล้องกับศักยภาพและทิศทางการพัฒนาประเทศ และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งสร้างความร่วมมือด้านงบประมาณและการปฏิบัติระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม มีกิจกรรมในการดำเนินงาน 5 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย กิจกรรม : การสร้างเสริมองค์ความรู้ การลงพื้นที่เพื่อศึกษาดูงานตัวอย่างที่ดี การประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ จังหวัดลพบุรี การศึกษาดูงานตัวอย่างที่ดีจากต่างประเทศ ณ ประเทศเกาหลีใต้ และกิจกรรมการนำเสนอต่อรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแล
ผลของการดำเนินงานโครงการดังกล่าวทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถมีความเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผนมากขึ้น และสามารถเชื่อมโยงแผนทุกระดับกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ ได้รับทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน โดยปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วยปัญหาด้านการพัฒนาและด้านการจัดการ และได้ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ดังนี้

          1)     ด้านการพัฒนา ในการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดโดยยึดพื้นที่ (Area-based Approach) ให้แต่ละพื้นที่มีทิศทางการพัฒนา (position) ที่ชัดเจน และผ่านการเห็นชอบร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พบว่า แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดไม่สะท้อนเป็นองค์รวม ไม่มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจน เนื่องจากขาดความเชื่อมโยงของการวิเคราะห์กระบวนการทั้งยุทธศาสตร์ เช่น ยุทธศาสตร์เกษตร ควรจะต้องมองภาพครบทั้งวงจร ตั้งแต่การผลิต การแปรรูป และการตลาด นอกจากนั้น โครงการส่วนใหญ่เป็นการจัดทำเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่มีการวางแผนพัฒนาเชิงรุก ตลอดจนขาดการบูรณาการระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ (ภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ในการคิดวิเคราะห์ร่วมกัน
ทั้งนี้ ได้วางแนวทางแก้ไขโดยการให้ความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผน การวิเคราะห์ ตลอดจนให้ความสำคัญของการบูรณาการระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ (ภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และการสร้างความเข้มเข็ง และระบบการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนให้กับชุมชน
          2)    ด้านการจัดการ ในการจัดระบบและการดำเนินการ ที่เป็นกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัด เช่น ระบบงบประมาณ ระบบฐานข้อมูล การสื่อสาร เป็นต้น พบว่า ด้านระบบงบประมาณ ขาดเจ้าภาพหลักในการบริหารจัดการภาพรวม และขาดการบูรณาการงบประมาณของหน่วยงานที่ดำเนินการในพื้นที่ โดยเฉพาะโครงการที่มีหน่วยงานเกี่ยวข้องหลายหน่วย ด้านข้อมูล ขาดการบูรณาการฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ขาดข้อมูลที่เพียงพอในการสนับสนุนการตัดสินใจ และด้านการสื่อสาร ผู้บริหารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่มีการสื่อสารข้อมูลที่ชัดเจน ทำให้การขับเคลื่อนการทำงานไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
          ทั้งนี้ ได้วางแนวทางแก้ไขโดยเสริมสร้างบทบาทในการบริหารจัดการกลุ่มจังหวัดของสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด (Office of Strategy Management : OSM) ให้เป็นเจ้าภาพหลักในการบริหารจัดการภาพรวม และพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการร่วม (Regional Operation Center : ROC) และระบบฐานข้อมูลกลุ่มจังหวัด ซึ่งรวบรวมแหล่งข้อมูลที่มีอยู่เดิมจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัด สร้างระบบและช่องทางในการสื่อสารข้อมูล โดยอาจกำหนดเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานของแต่ละจังหวัด (Change Agent) ในกลุ่มจังหวัด เช่น นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำชุมชน เป็นต้น


 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 18 ธันวาคม 2555 16:30:20 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 24 ธันวาคม 2555 11:30:29
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th