การปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของส่วนราชการ
1. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยงาน
ราชการไทยได้ดำเนินการลดบทบาทภาครัฐ เพื่อเพิ่มบทบาทภาคส่วนอื่นในการจัดทำบริการสาธารณะอันเป็นภารกิจของรัฐ เพื่อนำไปสู่การมีภาครัฐที่มีขนาดเล็กลงด้วยมาตรการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือขยายหน่วยงาน รวมทั้งการขอจัดตั้งองค์การมหาชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐในสังกัดฝ่ายบริหาร (ไม่รวมรัฐวิสาหกิจ) ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาเป็นระยะ ๆ และ เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการมาตรการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือขยายหน่วยงาน รวมทั้งการขอจัดตั้งองค์การมหาชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐในสังกัดฝ่ายบริหาร (ไม่รวมรัฐวิสาหกิจ) ออกไปอีก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 จนถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2554
คณะรัฐมนตรี ในการประชุมคราวเดียวกันเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553 ได้มีมติให้ส่วนราชการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยงาน (พ.ศ. 2554 - 2556) และกำหนดแนวทางการพิจารณาทบทวนบทบาทภารกิจ และการจัดโครงสร้างส่วนราชการ โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เรื่อง แผนการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการและใช้แนวทางการทบทวนบทบาทภารกิจ 11 กระบวนการที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ศึกษาไว้ และมอบให้สำนักงาน ก.พ.ร.ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขอให้จัดส่งแผนฯ มายังสำนักงาน ก.พ.ร.ภายในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ส่วนราชการที่ได้ส่งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยงานมายังสำนักงาน ก.พ.ร. จำนวน 15 กระทรวง 8 ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และ 7 ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ในการนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ศึกษา วิเคราะห์ แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยงานของแต่ละส่วนราชการ โดยได้เตรียมประมวลข้อเสนอเพื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณา เป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์ภารกิจในแนวขวางเพื่อพิจารณาภารกิจที่มีความคาบเกี่ยวระหว่างกระทรวง เพื่อกำหนดบทบาทของหน่วยงานให้เกิดความชัดเจน ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ในแนวตั้งรายกรม ซึ่งต้องคำนึงถึงภารกิจตามบทบาทใหม่ที่เน้นการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในการจัดทำบริการสาธารณะบางขั้นตอน โดยดำเนินการตามมาตรฐานหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ เกี่ยวกับการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการ การจัดโครงสร้างการส่วนราชการในกรม การจัดระบบงาน ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อเสนอ คณะรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป
ในการพิจารณาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยงาน ก.พ.ร. (โดย อ.ก.พ.ร.เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านเศรษฐกิจ และอ.ก.พ.ร. เกี่ยวบการทบทวนและปรับปรุง
1กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงศึกษาธิการ รวม 4 กระทรวง และส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้แก่ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร รวม 3 หน่วยงาน โครงสร้างส่วนราชการด้านสังคม) ได้กำหนดเป็นแนวทางในการพิจารณาคำขอของกระทรวงไว้ ว่า
1) การพิจารณาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหน่วยงานที่เป็นข้อเสนอของแต่ละกระทรวง ให้มีผู้แทนของกระทรวงเป็นผู้ให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาในกรณีจำเป็น
2) การพิจารณาลงรายกระทรวง จะพิจารณาทบทวนบทบาทภารกิจก่อน จากนั้นจึงพิจารณาการจัดโครงสร้างส่วนราชการระดับกรม
2 การถ่ายโอนงานด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐานของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ภาคเอกชนและภาคส่วนอื่น ๆ รับไปดำเนินการแทน
1) การดำเนินการตามมาตรการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 โดยมีการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อให้มีการถ่ายโอนภารกิจให้ภาคส่วนอื่นรับไปดำเนินการ อันจะส่งผลต่อการให้บริการกิจการสาธารณะต่อประชาชน เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้นำเสนอความเห็นในการคัดเลือกงานต่อ ก.พ.ร. และคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 ให้มีแผนดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 โอนงานตรวจสอบรับรองมาตรฐานจำนวน 37 งาน และติดตามประเมินผล ระยะเวลาในการดำเนินการ เมษายน 2553 กันยายน 2554 แต่ให้ยกเว้นในส่วนของการถ่ายโอนงานของกระทรวงพลังงานจำนวน 2 งาน และเห็นชอบให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นเจ้าภาพจัดทำและดำเนินโครงการร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ศึกษาเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการระบบการมาตรฐานของไทยให้มีความเป็นเอกภาพและเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน
ระยะที่ 2 เตรียมการและถ่ายโอนภารกิจด้านการตรวจสอบรับรองมาตรฐานที่ยังเหลืออยู่ให้แล้วเสร็จ (56 งาน) ระยะเวลาในการดำเนินการ ตุลาคม 2554 กันยายน 2555
ระยะที่ 3 ศึกษาเพื่อเตรียมการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจภาครัฐในด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากงานด้านตรวจรับรองมาตรฐาน ต่อจากระยะที่ 2
2) ในการเร่งรัดเรื่องนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้
(1) กำหนดเป็นตัวชี้วัดในคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ตัวชี้วัดที่ 3.4 ระดับความสำเร็จของการดำเนินการถ่ายโอนงานด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐาน โดยกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนเป็นระดับขั้นของความสำเร็จแบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยพิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมาย
(2) สำนักงาน ก.พ.ร. ได้กำกับ ติดตาม การปฏิบัติตามแผนการถ่ายโอนงานด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้มีการดำเนินการเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี
(3) ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ 3.4 : ระดับความสำเร็จของการดำเนินการถ่ายโอนงานด้านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐาน สำหรับส่วนราชการที่มีการถ่ายโอนงานฯ ปรากฏว่า มีส่วนราชการที่ดำเนินการได้คะแนนระดับ 5 จำนวน 18 งาน (11 ส่วนราชการ) ระดับ 3 จำนวน 3 งาน (2 ส่วนราชการ) ระดับ 2 จำนวน 7 งาน (2 ส่วนราชการ) รวมทั้งสิ้น 28 งาน
(4) เสนอแต่งตั้งอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจจำนวน 2 คณะ คือ อ.ก.พ.ร.ฯ เฉพาะกิจเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจของส่วนราชการด้านเศรษฐกิจและอ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการทบทวนและปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการด้านสังคม เพื่อรับผิดชอบเรื่องการถ่ายโอนภารกิจและทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาและช่วยแก้ปัญหาให้กับส่วนราชการ ตามมติ อ.ก.พ.ร.ฯ ด้านเศรษฐกิจ และมติ อ.ก.พ.ร.ฯ ด้านสังคม
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2555 11:13:33 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 24 ธันวาคม 2555 11:13:54