การปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการปี พ.ศ. 2545 เกิดจากการระดมความคิดและหาข้อยุติ
โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวม 3 ครั้ง6 จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับบทบาทภารกิจ และโครงสร้างส่วนราชการจนนำไปสู่การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง7 และรัฐสภาได้อนุมัติพระราชบัญญัติ รวม 2 ฉบับ8 โดยคงจำนวนอัตรากำลัง9 ตามกรอบอัตรากำลังที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น (จำนวน 394,385 อัตรา) และใช้วิธีการเกลี่ยอัตรากำลังจากกระทรวงเดิมไปกระทรวงที่ตั้งใหม่
แนวทางและผลการดำเนินการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการ ปี 2545
แนวทางการปรับบทบาทภารกิจภาครัฐ
1. ขจัดภารกิจที่ไม่จำเป็นหรือล้าสมัยออกไป โดยพิจารณาทบทวนความจำเป็นในการทำงานนั้นให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชน สังคม และประเทศชาติในปัจจุบัน
2. มุ่งการดำเนินงานเฉพาะภารกิจหลัก โดยแยกประเภทภารกิจหลัก (Core Business) และภารกิจรอง (Non - Core Business) ออกจากกันเพื่อมอบภารกิจที่ราชการส่วนกลางไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการแล้วให้ท้องถิ่นหรือภาคเอกชนดำเนินการแทน หรือสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมหรือชุมชนรับไปดำเนินการ
3. ไม่ดำเนินงานใด ๆ ที่เอกชนสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดกว่าภาครัฐอยู่แล้ว ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การประกันความเป็นธรรม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค
4. สนับสนุนเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด กำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภค ยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์การควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ
แนวทางการจัดโครงสร้างส่วนราชการ
เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับบทบาทภารกิจที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการแล้ว จึงมีการจัดโครงสร้างหน่วยราชการใหม่ให้สอดรับกับบทบาทภารกิจของภาครัฐ โดยมีแนวทางในการจัด ดังนี้
1. จัดโครงสร้างโดยคำนึงถึงนโยบายแห่งรัฐที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ นโยบายรัฐบาลและความต้องการของประชาชนในลักษณะของการบริหารที่ยึดวาระแห่งชาติ (Agenda Based) แทนการจัดโครงสร้างที่เน้นหน้าที่ของรัฐ (Functional Based) แต่เพียงอย่างเดียว
2. จัดโครงสร้างองค์กรให้มีความหลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทภารกิจหลักที่จำเป็นต้องดำเนินการโดยภาครัฐ สอดรับกับประเภทของภารกิจและงาน และสอดคล้องกับการดำเนินงานในส่วนที่ต้องเน้นประสิทธิภาพ ความคล่องตัวการดำเนินงานร่วมกับภาคเอกชน องค์กรประชาชนและท้องถิ่น ซึ่งอาจจัดหน่วยงานของรัฐได้ดังนี้ คือ หน่วยราชการที่รับผิดชอบงานราชการโดยแท้ ที่เรียกว่าหน่วยงานราชการ (Government Organization) และหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบงานปฏิบัติการที่ยังเป็นภารกิจหลักของภาครัฐที่ยังจำเป็นต้องดำเนินการโดยหน่วยงานราชการ อาจจัดตั้งเป็นหน่วยงานที่มีรูปแบบการบริหารงานพิเศษ หน่วยงานของรัฐที่ให้บริการสาธารณะซึ่งเป็นงานของรัฐที่ภาครัฐจำเป็นต้องจัดให้มีหรือส่งเสริมให้มีการให้บริการก็สามารถจัดเป็นองค์การมหาชน (Public Organization)รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) หรือองค์กรที่จัดตั้งในรูปแบบมูลนิธิ (Foundation) และองค์กรพัฒนาภาคเอกชน (Non Government Organization)
3. จัดโครงสร้างองค์กรตามแนวราบ เพื่อให้มีสายการบังคับบัญชาสั้นที่สุด เพื่อให้การทำงานและการ
ตัดสินใจเป็นไปอย่างรวดเร็ว คล่องตัว และมีประสิทธิภาพโดยยังคงยึดหลักความรับผิดชอบในการบริหารงานด้วย
4. จัดโครงสร้างองค์กรที่มีรูปแบบผสมผสาน ในกรณีที่งานนั้นต้องการองค์ประกอบของความรู้ความสามารถที่หลากหลายและเน้นความเป็นทีมในการปฏิบัติงาน เพื่อผลักดันงานให้บรรลุผลสำเร็จ หรือกรณีที่สามารถใช้เทคโนโลยีการติดต่อที่ทันสมัยก็สามารถจัดองค์กรที่มีลักษณะเป็นเครือข่าย
5. ปรับปรุง แก้ไข กฎระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการ
การจัดโครงสร้างส่วนราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เป็นการจัดรวมภารกิจที่อยู่ในห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) เดียวกันไว้ในกระทรวงเดียวกัน โดยจัดหน่วยงานรองรับในระดับบริหารราชการส่วนกลาง สำหรับภารกิจในส่วนของราชการบริหารส่วนภูมิภาคคงไว้ตามเดิมก่อน แต่หากพิจารณาโครงสร้างในกระทรวงจะมีทั้งส่วนราชการ (กรม กอง) โดยอาจมีกลุ่มภารกิจในบางกระทรวง รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานในกำกับ หน่วยงานอื่น ๆ เช่น ภายใต้มูลนิธิและส่วนราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาค เป็นต้น
6 ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 - 5 สิงหาคม 2544 ณ โรงแรมรอยัลคลิฟ บีช รีสอร์ท พัทยา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2544 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล และ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2544 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยในการประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่ายข้าราชการประจำ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลจากการประชุมทั้ง 3 ครั้ง ดังกล่าว ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในหลักการของการจัดโครงสร้างส่วนราชการในระดับกระทรวงเป็น 17 กระทรวง และ 1 ทบวง โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการในแต่ละกระทรวง ทบวง เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการจัดรายละเอียดของกระทรวง ทบวง ในสายงานของตน ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 5 ท่าน ได้หารือร่วมกันแล้วและได้เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2545 และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2545 ให้จัดโครงสร้างส่วนราชการเป็น 20 กระทรวง
7 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2545 นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกัน และมีมติมอบหมายให้มีคณะทำงานยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการ โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งคณะทำงานดังกล่าวได้จัดทำร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ คือ ร่าง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. .... โดยคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2545 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ
8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประกาศพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก วันที่ 2 ตุลาคม 2545
9 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2545 เรื่องมาตรการกำหนดอัตรากำลังและการแต่งตั้งข้าราชการในระหว่างการปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม ใหม่
ส่วนราชการที่ได้จัดตั้งรองรับบทบาทภารกิจของภาครัฐ ปี พ.ศ. 2545 ดังนี้ |
|
|
|
|
|
1) สำนักนายกรัฐมนตรี |
12) กระทรวงพาณิชย์ |
|
|
2) กระทรวงกลาโหม |
13) กระทรวงมหาดไทย |
|
|
3) กระทรวงการคลัง |
14) กระทรวงยุติธรรม |
|
|
4) กระทรวงการต่างประเทศ |
15) กระทรวงแรงงาน |
|
|
5) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา |
16) กระทรวงวัฒนธรรม |
|
|
6) กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ |
17) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี |
|
|
7) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
18) กระทรวงศึกษาธิการ |
|
|
8) กระทรวงคมนาคม |
19) กระทรวงสาธารณสุข |
|
|
9) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
20) กระทรวงอุตสาหกรรม |
|
|
10) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
21) ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง |
|
|
11) กระทรวงพลังงาน |
|
|
|
|
|
|
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 22 มกราคม 2552 12:08:49 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 22 มกราคม 2552 12:08:49