Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 (เก่ง) / การจัดองค์กรรูปแบบอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ เพื่อรองรับบทบาทและภารกิจภาครัฐที่ต้องการประสิทธิภาพสูง : องค์การมหาชน / การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม

การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม

| ผู้รับผิดชอบ:

เว็บไซต์โครงการสร้างต้นแบบการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยม
(http://www.goodpracticemodel.com/)

กระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม24 8 ประการ (ภาพที่ 1-19) ใหม่ได้ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ไปอย่างกว้างขวางเพื่อให้ทุกส่วนราชการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการปรับวัฒนธรรมการทำงานรูปแบบใหม่ มุ่งเน้นการพัฒนาหน่วยงานไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ เพื่อมุ่งให้ข้าราชการทุกคนปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง


ภาพที่ 1-19 I AM READY

ก.พ.ร.ได้ผลักดันการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวัฒนธรรมการทำงานผ่านโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขีดสมรรถนะและวัฒนธรรมการทำงานของบุคลากรและหน่วยงานภาครัฐ หลายโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง โครงการพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ โครงการสร้างทีมงานการบริหารการเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการส่งเสริมการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) โครงการพัฒนาองค์ความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ e-Learning เพื่อการพัฒนา ระบบราชการ และโครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพที่ปรึกษาด้านการบริหารซึ่งผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล


ที่มา: ผลการศึกษาการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และคุณลักษณะของข้าราชการไทย (I AM READY) ของก.พ.ร. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2547) และของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ปี 2548)
ภาพที่ 1-20 ผลการสำรวจกระบวนทัศน์ฯ ข้าราชการในภาพรวม ปี พ.ศ. 2548

ผลการดำเนินงาน

ข้าราชการไทยมีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการบริหารราชการแนวใหม่25 เช่น เน้นความรวดเร็วทันเหตุการณ์
มุ่งอนาคต ยึดประโยชน์ของประชาชน แต่ข้าราชการยังยึดติดกับระเบียบปฏิบัติทำงานตามกฎระเบียบ นอกจากนี้
ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า ข้าราชการมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม I AM READY อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างก่อนปี 2546 กับปี 2548 โดยก่อนปี 2546 กระบวนทัศน์อยู่ในระดับ 4.041 (จากคะแนนเต็ม 5.00) ขณะที่ปี 2548 เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 4.368 (ภาพที่ 1-20)

กิจกรรมการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และวัฒนธรรม

การพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการของผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการให้สามารถรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ในลักษณะการเรียนรู้จาก การปฏิบัติจริง(actionlearning program) มุ่งเน้นให้ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต่างๆ มีการปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ ค่านิยม วัฒนธรรมการทำงาน เข้าใจบทบาทของตนเอง และพร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยนวัตกรรมใหม่
การพัฒนานักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ เป็นการพัฒนาบุคคลากรรุ่นใหม่ เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลง เป็นการเร่งสร้างบุคคลากรที่มีความสามารถระดับสูงเข้าสู่ระบบราชการในตำแหน่งผู้บริหาร โครงการนี้จึงนับเป็นโครงการที่มุ่งสร้างคนเก่งพัฒนาคนดี ป้อนสู่ระบบราชการยุคใหม่
การสร้างทีมงานการบริหารการเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการส่งเสริมการจัดการความรู้ (knowledge management) เป็นการพัฒนาเพื่อให้เกิดการรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาองค์ความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ e-learning เพื่อการพัฒนาระบบราชการ เป็นโครงการที่สรางโอกาสทางด้านการศึกษาและการพัฒนาตนเองของข้าราชการโดยไม่จำกัดเวลา และ สถานที่ ซึ่งถือเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาบุคคลากรภาครัฐให้เป็นข้าราชการที่ใฝ่รู้ อันจะเป็นพื้นฐานการพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้
การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพที่ปรึกษาด้านการบริหารซึ่งผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานระดับสากล เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการ ระดับกระทรวง กรม และผู้สนใจงานด้านการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งโครงการนี้เอื้อประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐในภาพรวม จึงได้สร้างที่ปรึกษาด้านการบริหารซึ่งผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐาน ที่ได้รับการรับรองคุณสมบัติจาสถาบันที่ปรึกษาระดับโลกเพื่อให้นำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลยังหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานเป็นเรื่องที่ส่วนราชการตระหนักและเห็นความสำคัญ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถพัฒนาระบบราชการได้อย่างยั่งยืน หลายส่วนราชการได้ตระหนักและให้ความสำคัญ เช่น โครงการกระทรวงสมรรถนะสูงของกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานนำร่องที่เข้าร่วมโครงการการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างขีดสมรรถนะขององค์กรกับสำนักงาน ก.พ.ร. โดยส่วนหนึ่งของผลการดำเนินงานทำให้หน่วยงานได้ร่วมกันวางแผนการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน


24 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2546 รับทราบยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยมของระบบราชการ (พ.ศ. 2546 – 2550)
ตามข้อเสนอของ ก.พ.ร. โดยที่กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 3 ประการ คือ (1) การสร้างรูปแบบกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นในภาครัฐ
(2) การเสนอแนะการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ (3) การเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเร่งรัดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และ
ได้กำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของข้าราชการไทย ที่เหมาะสมกับระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี คือ ข้าราชการต้องเป็นผู้ที่ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี ขยันตั้งใจทำงาน มีศีลธรรม คุณธรรม ปรับตัวได้ทันโลก รับผิดชอบต่อผลงาน มีใจและการกระทำที่เป็นประชาธิปไตย และทำงานแบบมุ่งเน้นผลงาน เพื่อให้ระบบราชการไทยมีความเป็นเลิศสามารถรองรับการพัฒนาประเทศได้ในยุคโลกาภิวัตน์

25 เมื่อปี พ.ศ. 2547 และ 2548 สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2547) และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (ปี 2548) ได้ดำเนินการศึกษาการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ และคุณลักษณะของข้าราชการไทย

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 1 พฤษภาคม 2550 15:51:35 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 1 พฤษภาคม 2550 15:51:35
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th