Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้  

ข่าวเด่น


สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 ธันวาคม 2557 เรื่อง รายงานผล Doing Business 2015 และแนวทางการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการของหน่วยงานภาครัฐ

             การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ซึ่งมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ได้พิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน ก.พ.ร. คือ รายงานผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2015) และแนวทางการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการของหน่วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย 

              ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  (สลค.) ได้แจ้งมติคณะรัฐมนตรีเรื่องดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบแล้ว ตามหนังสือ สลค. ด่วนที่สุด ที่ นร 0505/25750 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2557 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

              ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอเพิ่มเตมว่า องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) ได้จัดอันดับความโปร่งใสของประเทศต่าง ๆ (โดยพิจารณาจากปัญหาการทุจริตคอรัปชัน) ปรากฏว่า ในปี 2556 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 102 จาก 175 ประเทศ (35 คะแนน จาก 100 คะแนน) และในปี 2557 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 85 จาก 175 ประเทศ (38 คะแนน จาก 100 คะแนน) ซึ่งเป็นอันดับที่ 3 ของกลุ่มประเทศอาเซียน (รองจากประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ตามลำดับ) ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติว่า

              1. รับทราบผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก  (Doing Business 2015) และแนวทางการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการของหน่วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย และเห็นชอบให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ

              2. รับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอเพิ่มเติม


              สาระสำคัญของเรื่อง

              เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ธนาคารโลกได้เผยแพร่รายงานผลการจัดอันดับประเทศต่าง ๆ ในรายงาน Doing Business 2015 ซึ่งปรากฏว่าประเทศไทยได้รับการจัดเป็นประเทศที่มีความง่ายในการเข้ามาประกอบธุรกิจในอันดับที่  26 จาก  189 ประเทศ ซึ่งดีขึ้นจากปี 2015 จำนวน 2 อันดับ โดยการจัดอันดับใช้วิธีการที่เรียกว่า “Distance to frontier (DTF)” คือ พิจารณาจากระยะห่างของผลการพัฒนาประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของหน่วยงานรัฐในแต่ละตัวชี้วัดย่อยเทียบกับประเทศที่มีแนวปฏิบัติที่ดีเลิศ (Best Practices)

              โดยที่ผลการจัดอันดับในตัวชี้วัดทั้ง  10 ด้านที่ครอบคลุมวงจรธุรกิจตั้งแต่การจัดตั้งธุรกิจจนถึงการเลิกธุรกิจ ปรากฏว่ามีหลายด้านที่ประเทศมีระยะห่างของการพัฒนาจากประเทศที่เป็น Best Practices ค่อนข้างมาก และจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน ตลอดจนกฎหมาย กฎ ระเบียบให้ดีขึ้น โดยเรียงลำดับจากตัวชี้วัดที่มีระยะห่างจาก Best Practice มากที่สุดไปน้อยที่สุด ดังตาราง

ด้าน

ประเทศไทย

Best Practice

ตัวเลข

ระยะห่าง

อันดับรายด้าน

ค่า DTF

ประเทศ

ค่า DTF

1. ด้านการได้รับสินเชื่อ 

อันดับ 89

45.00

นิวซีแลนด์

100

55

2. ด้านการแก้ปัญหาการ ล้มละลาย

อันดับ 45

58.73

ฟินแลนด์

93.85

40.12

3. ด้านการชำระภาษี 

อันดับ 62

77.99

สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์

99.44

21.45

4. ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง

อันดับ 25

70.05

สิงคโปร์

89.54

19.49

5ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน 

อันดับ 28

83.04

จอร์เจีย

99.88

16.84

6. ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย 

อันดับ 25

65.83

นิวซีแลนด์

81.67

15.84

7ด้านการค้าระหว่างประเทศ 

อันดับ 36

83.57

สิงคโปร์

96.47

12.9

8ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ  

อันดับ 65

87.98

นิวซีแลนด์

99.96

11.98

9. ด้านการขอใช้ไฟฟ้า  

อันดับ 12

91.71

เกาหลีใต้

99.83

8.12

10. ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง 

อันดับ 6

88.77

ฮ่องกง

95.53

6.76



               ทั้งนี้ ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันที่  7 พฤศจิกายน  2557 ได้มีมติรับทราบผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2015) และมอบให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อเสนอการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการตามตัวชี้วัด Doing Business โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รับเป็นประธาน 

              และเมื่อวันที่  24 พฤศจิกายน  2557 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน  15 หน่วยงาน โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการของหน่วยงานของรัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของประเทศไทย  ซึ่งที่ประชุมได้เห็นควรดำเนินการ ดังนี้

ด้าน

มาตรการที่ดำเนินการ

ได้ทันที (3 เดือน)

มาตรการที่ดำเนินการ

ในระยะต่อไป (6 เดือน)

มาตรการที่ดำเนินการ

ให้ยั่งยืน (12 เดือน)

1. ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ 

ลดระยะเวลาการอนุมัติข้อบังคับการทำงานจาก 21 วัน เหลือ 18 วัน

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)

 

พัฒนาการจดทะเบียนธุรกิจผ่านระบบออนไลน์

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ :กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

2. ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง 

ลดระยะเวลาการขออนุญาตก่อนสร้างอาคาร จาก 113 วัน เหลือ 83 วัน

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ :กรุงเทพมหานคร)

ลดระยะเวลาการติดตั้งประปาขนาดมาตรวัดน้ำ ไม่เกิน 1 นิ้ว จาก 5 วัน เหลือ 3 วัน

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ :การประปานครหลวง)

ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบในการก่อสร้างอาคาร เช่น พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนจากการก่อสร้างที่ผิดพลาด

ปรับปรุงกฎหมายให้สามารถปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมโยธาธิการและผังเมือง)

3. ด้านการขอใช้ไฟฟ้า

 

ลดระยะเวลาในการรับคำร้องขอติดตั้งไฟฟ้าและการเชื่อมต่อไฟฟ้าภายนอก จาก 35 วัน เหลือ 32 วัน

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ :การไฟฟ้านครหลวง)

ศึกษาและพัฒนาระบบที่สร้างความน่าเชื่อถือของการจ่ายไฟฟ้า เช่น ระยะเวลาที่ไฟดับ ความถี่ที่เกิดไฟฟ้าดับ

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ :การไฟฟ้านครหลวง)

4. ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน

 

ปรับปรุงระบบคุณภาพการจัดการที่ดิน เช่น ความน่าเชื่อถือของข้อมูลในเอกสารที่ดิน การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินต่อสาธารณะ ความครอบคลุมของระบบแผนที่ที่ดินเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาข้อพิพาทที่ดิน เป็นต้น

(หน่วยงานรับผิดชอบ : กรมที่ดิน)

1. ศึกษาความเป็นไปได้ในการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สิน

2. พัฒนาระบบแผนที่ที่ดินให้เป็นระบบเดียวกันทั่วประเทศ

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมที่ดิน)

5. ด้านการได้รับสินเชื่อ

เร่งรัดพิจารณาออกประกาศกำหนดแนวทางการให้บริการคะแนนเครดิตแก่สถาบันการเงิน โดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ธนาคารแห่งประเทศไทย/ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด)

ออกประกาศกำหนดให้ผู้ค้าปลีกและบริษัทผู้ให้บริการสาธารณูปโภคเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบข้อมูลเครดิต เพื่อให้จัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลผู้ค้าปลีก และข้อมูลจากบริษัทผู้ให้บริการสาธารณูปโภคได้ โดยเริ่มจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับแรกก่อน

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ธนาคารแห่งประเทศไทย/ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด)

เร่งรัดการออกร่าง พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... เพื่อสร้างระบบการบังคับหลักประกันที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อประโยชน์ในการขอและให้สินเชื่อ

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)

6. ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุน

 

 

1. แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในสิทธิของผู้ถือหุ้น อาทิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ในประเด็น ดังนี้

   - ให้ผู้ถือหุ้นสามารถขอตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับธุรกรรมการซื้อขายของบริษัทได้

   - ให้สิทธิผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 สามารถขอให้แต่งตั้งผู้ตรวจสอบเพื่อทำการตรวจสอบกิจการของบริษัทได้

   - ผู้ถือหุ้นสามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ หรือข้อบังคับของบริษัทด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง

   - ผู้ถือหุ้น จำนวน 10%สามารถเรียกประชุมวิสามัญได้
2. ศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างการบริหารจัดการบริษัทที่ดีและความโปร่งใสในการบริหารจัดการบริษัท ในประเด็น ดังนี้

   - กำหนดให้คณะกรรมการของบริษัทจำกัดจะต้องจัดให้มีกรรมการอิสระประกอบอยู่ด้วย

   - กำหนดให้บริษัทจำกัดต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)

   - กำหนดให้ผู้ที่เข้าครอบงำกิจการของบริษัทมหาชนจำกัด และบริษัทจำกัดตั้งแต่ 50% ขึ้นไป จะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทจากผู้ถือหุ้นเดิม

   - กำหนดบทบัญญัติในการถือหุ้นไขว้ระหว่างกันได้ไม่เกิน 10%

   - กำหนดให้บริษัทจำกัดจะต้องเปิดเผยรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ถือหุ้นตั้งแต่ 10%ขึ้นไป)

   - กำหนดให้บริษัทจำกัดเปิดเผยข้อมูลของกรรมการ เกี่ยวกับดำนาจในการบริหารจัดการบริษัทอื่น และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานของคณะกรรมการบริษัท

   - กำหนดให้บริษัทจำกัดจะต้องเปิดเผยค่าตอบแทนรายบุคคลของผู้จัดการ

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงาน กลต. / กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

7. ด้านการชำระภาษี

กำหดนมาตรการจูงใจให้นายจ้างยื่นเงินสมทบประกันสังคมผ่านระบบออนไลน์มากกว่าร้อยละ 50

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงานประกันสังคม)

ปรับแบบฟอร์มหรือลดจำนวนเอกสารที่ต้องใช้ในการชำระภาษี เพื่อลดระยะเวลาในการเตรียมเอกสารของผู้ประกอบการ

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสรรพากร / สำนักงานประกันสังคม)

1. ปรับปรุงกระบวนการเตียมการก่อนการยื่นภาษี

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสรรพากร / สำนักงานประกันสังคม)

2. พัฒนากระบวนการหลังการยื่นภาษี

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสรรพากร / สำนักงานประกันสังคม)

3. ปรับปรุงระบบการรายงานงบการเงินระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อลดเอกสารประกอบของผู้ประกอบการในการชำระภาษี

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสรรพากร / กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

8. ด้านการค้าระหว่างประเทศ

 

1. ลดระยะเวลาการจัดการ ณ ท่าเรือในการนำเข้า จาก 2 วัน เหลือ 1 วัน และการส่งออก จาก 3 วัน เหลือ 1 วัน

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมการกงศุล / การท่าเรือแห่งประเทศไทย)

2. ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงการติดต่อธุรกรรมทางการค้าของภาคเอกชนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (B to B)

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมศุลกากร)

1. เร่งรัดให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการออกใบอนุญาต/ใบรับรอง จัดทำระบบการเชื่อมโยงการยื่นข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกผ่านระบบ National Single Window : NSW (B to G) เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในระบบ NSW ได้อย่างเต็มรูปแบบ

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมศุลกากร)

2. เร่งติดตามการเชื่อมโยงข้อมูลการอนุญาต/ใบรับรองในระบบ NSW และการผ่านพิธีการส่งออกและนำเข้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 36 หน่วยงาน (G to G) ให้ครบถ้วน

(หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมศุลกากร)

9. ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง

ลดระยะเวลาในการบังคับคดี อาทิ การแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ได้โดยไม่ต้องอนุญาตศาลก่อนทุกคราวไป

(หน่วยงานหลัก : กรมบังคับคดี)

   

พัฒนาคุณภาพของระบบการพิจารณาคดี เช่น การยื่นฟ้อง การบริหารงานคดีทางอิเล็กทรอนิกส์

(หน่วยงานหลัก : สำนักงานศาลยุติธรรม)

10. ด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย

 

พัฒนากระบวนการล้มละลาย เช่น สิทธิของลูกหนี้และเจ้าหนี้ ในการเริ่มดำเนินการชำระบัญชี การบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ การให้สินเชื่อภายหลัง กระบวนการล้มละลาย กระบวนการอนุมัติสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการล้มละลาย เป็นต้น

(หน่วยงานหลัก : กรมบังคับคดี)

1. ศึกษาและพิจารณแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 เพื่อลดระยะเวลาการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหน้า

2. พัฒนาระบบล้มละลายอิเล็กทรอนิกส์

(หน่วยงานหลัก : กรมบังคับคดี)



               ประเด็นที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรี 

               1. รับทราบผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลก (Doing Business 2015)

               2. พิจารณาให้ความเห็นชอบ 

                  2.1 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามข้อเสนอแนวทางการดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการของหน่วยงานภาครัฐเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยให้เป็นผลสำเร็จ

                  2.2 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. พัฒนางานบริการภาครัฐในรูปแบบการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) ให้ครอบคลุมงานบริการและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น โดยออกแบบระบบการบริการให้เหมาะสมกับลักษณะงานบริการ และกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม รวมทั้งนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน

                  2.3 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานความก้างหน้าในการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบในการปรับปรุงบริการให้คณะรัฐมนตรีทราบ

                  2.4 ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ศึกษาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการบริการในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการของหน่วยงานภาครัฐไทย

 


ข้อมูลจาก หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 
และหนังสือสำนักงาน ก.พ.ร.

 

 

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th