ด้าน |
ประเทศไทย |
Best Practice |
ตัวเลข ระยะห่าง |
||
อันดับรายด้าน |
ค่า DTF |
ประเทศ |
ค่า DTF |
||
1. ด้านการได้รับสินเชื่อ |
อันดับ 89 |
45.00 |
นิวซีแลนด์ |
100 |
55 |
2. ด้านการแก้ปัญหาการ ล้มละลาย |
อันดับ 45 |
58.73 |
ฟินแลนด์ |
93.85 |
40.12 |
3. ด้านการชำระภาษี |
อันดับ 62 |
77.99 |
สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ |
99.44 |
21.45 |
4. ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง |
อันดับ 25 |
70.05 |
สิงคโปร์ |
89.54 |
19.49 |
5. ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน |
อันดับ 28 |
83.04 |
จอร์เจีย |
99.88 |
16.84 |
6. ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย |
อันดับ 25 |
65.83 |
นิวซีแลนด์ |
81.67 |
15.84 |
7. ด้านการค้าระหว่างประเทศ |
อันดับ 36 |
83.57 |
สิงคโปร์ |
96.47 |
12.9 |
8. ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ |
อันดับ 65 |
87.98 |
นิวซีแลนด์ |
99.96 |
11.98 |
9. ด้านการขอใช้ไฟฟ้า |
อันดับ 12 |
91.71 |
เกาหลีใต้ |
99.83 |
8.12 |
10. ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง |
อันดับ 6 |
88.77 |
ฮ่องกง |
95.53 |
6.76 |
ด้าน |
มาตรการที่ดำเนินการ ได้ทันที (3 เดือน) |
มาตรการที่ดำเนินการ ในระยะต่อไป (6 เดือน) |
มาตรการที่ดำเนินการ ให้ยั่งยืน (12 เดือน) |
1. ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ |
ลดระยะเวลาการอนุมัติข้อบังคับการทำงานจาก 21 วัน เหลือ 18 วัน (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) |
|
พัฒนาการจดทะเบียนธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ (หน่วยงานที่รับผิดชอบ :กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) |
2. ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง |
ลดระยะเวลาการขออนุญาตก่อนสร้างอาคาร จาก 113 วัน เหลือ 83 วัน (หน่วยงานที่รับผิดชอบ :กรุงเทพมหานคร) |
ลดระยะเวลาการติดตั้งประปาขนาดมาตรวัดน้ำ ไม่เกิน 1 นิ้ว จาก 5 วัน เหลือ 3 วัน (หน่วยงานที่รับผิดชอบ :การประปานครหลวง) |
ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบในการก่อสร้างอาคาร เช่น พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนจากการก่อสร้างที่ผิดพลาด ปรับปรุงกฎหมายให้สามารถปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมโยธาธิการและผังเมือง) |
3. ด้านการขอใช้ไฟฟ้า |
|
ลดระยะเวลาในการรับคำร้องขอติดตั้งไฟฟ้าและการเชื่อมต่อไฟฟ้าภายนอก จาก 35 วัน เหลือ 32 วัน (หน่วยงานที่รับผิดชอบ :การไฟฟ้านครหลวง) |
ศึกษาและพัฒนาระบบที่สร้างความน่าเชื่อถือของการจ่ายไฟฟ้า เช่น ระยะเวลาที่ไฟดับ ความถี่ที่เกิดไฟฟ้าดับ (หน่วยงานที่รับผิดชอบ :การไฟฟ้านครหลวง) |
4. ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน |
|
ปรับปรุงระบบคุณภาพการจัดการที่ดิน เช่น ความน่าเชื่อถือของข้อมูลในเอกสารที่ดิน การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินต่อสาธารณะ ความครอบคลุมของระบบแผนที่ที่ดินเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาข้อพิพาทที่ดิน เป็นต้น (หน่วยงานรับผิดชอบ : กรมที่ดิน) |
1. ศึกษาความเป็นไปได้ในการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สิน 2. พัฒนาระบบแผนที่ที่ดินให้เป็นระบบเดียวกันทั่วประเทศ (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมที่ดิน) |
5. ด้านการได้รับสินเชื่อ |
เร่งรัดพิจารณาออกประกาศกำหนดแนวทางการให้บริการคะแนนเครดิตแก่สถาบันการเงิน โดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต (หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ธนาคารแห่งประเทศไทย/ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด) |
ออกประกาศกำหนดให้ผู้ค้าปลีกและบริษัทผู้ให้บริการสาธารณูปโภคเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบข้อมูลเครดิต เพื่อให้จัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลผู้ค้าปลีก และข้อมูลจากบริษัทผู้ให้บริการสาธารณูปโภคได้ โดยเริ่มจากผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเป็นอันดับแรกก่อน (หน่วยงานที่รับผิดชอบ :ธนาคารแห่งประเทศไทย/ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด) |
เร่งรัดการออกร่าง พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... เพื่อสร้างระบบการบังคับหลักประกันที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อประโยชน์ในการขอและให้สินเชื่อ (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) |
6. ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุน |
|
|
1. แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งในสิทธิของผู้ถือหุ้น อาทิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ในประเด็น ดังนี้ - ให้ผู้ถือหุ้นสามารถขอตรวจสอบเอกสารเกี่ยวกับธุรกรรมการซื้อขายของบริษัทได้ - ให้สิทธิผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 สามารถขอให้แต่งตั้งผู้ตรวจสอบเพื่อทำการตรวจสอบกิจการของบริษัทได้ - ผู้ถือหุ้นสามารถขอแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ หรือข้อบังคับของบริษัทด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง - ผู้ถือหุ้น จำนวน 10%สามารถเรียกประชุมวิสามัญได้ - กำหนดให้คณะกรรมการของบริษัทจำกัดจะต้องจัดให้มีกรรมการอิสระประกอบอยู่ด้วย
- กำหนดให้บริษัทจำกัดต้องมีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) - กำหนดให้ผู้ที่เข้าครอบงำกิจการของบริษัทมหาชนจำกัด และบริษัทจำกัดตั้งแต่ 50% ขึ้นไป จะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัทจากผู้ถือหุ้นเดิม
- กำหนดบทบัญญัติในการถือหุ้นไขว้ระหว่างกันได้ไม่เกิน 10% - กำหนดให้บริษัทจำกัดจะต้องเปิดเผยรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ถือหุ้นตั้งแต่ 10%ขึ้นไป) - กำหนดให้บริษัทจำกัดเปิดเผยข้อมูลของกรรมการ เกี่ยวกับดำนาจในการบริหารจัดการบริษัทอื่น และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานของคณะกรรมการบริษัท - กำหนดให้บริษัทจำกัดจะต้องเปิดเผยค่าตอบแทนรายบุคคลของผู้จัดการ (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงาน กลต. / กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) |
7. ด้านการชำระภาษี |
กำหดนมาตรการจูงใจให้นายจ้างยื่นเงินสมทบประกันสังคมผ่านระบบออนไลน์มากกว่าร้อยละ 50 (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงานประกันสังคม) |
ปรับแบบฟอร์มหรือลดจำนวนเอกสารที่ต้องใช้ในการชำระภาษี เพื่อลดระยะเวลาในการเตรียมเอกสารของผู้ประกอบการ (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสรรพากร / สำนักงานประกันสังคม) |
1. ปรับปรุงกระบวนการเตียมการก่อนการยื่นภาษี (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสรรพากร / สำนักงานประกันสังคม) 2. พัฒนากระบวนการหลังการยื่นภาษี (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสรรพากร / สำนักงานประกันสังคม) 3. ปรับปรุงระบบการรายงานงบการเงินระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรวงพาณิชย์ให้เป็นระบบเดียวกัน เพื่อลดเอกสารประกอบของผู้ประกอบการในการชำระภาษี (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมสรรพากร / กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) |
8. ด้านการค้าระหว่างประเทศ |
|
1. ลดระยะเวลาการจัดการ ณ ท่าเรือในการนำเข้า จาก 2 วัน เหลือ 1 วัน และการส่งออก จาก 3 วัน เหลือ 1 วัน (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมการกงศุล / การท่าเรือแห่งประเทศไทย) 2. ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยงการติดต่อธุรกรรมทางการค้าของภาคเอกชนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (B to B) (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมศุลกากร) |
1. เร่งรัดให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ในการออกใบอนุญาต/ใบรับรอง จัดทำระบบการเชื่อมโยงการยื่นข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกผ่านระบบ National Single Window : NSW (B to G) เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในระบบ NSW ได้อย่างเต็มรูปแบบ (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมศุลกากร) 2. เร่งติดตามการเชื่อมโยงข้อมูลการอนุญาต/ใบรับรองในระบบ NSW และการผ่านพิธีการส่งออกและนำเข้าของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 36 หน่วยงาน (G to G) ให้ครบถ้วน (หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมศุลกากร) |
9. ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง |
ลดระยะเวลาในการบังคับคดี อาทิ การแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ได้โดยไม่ต้องอนุญาตศาลก่อนทุกคราวไป (หน่วยงานหลัก : กรมบังคับคดี) |
|
พัฒนาคุณภาพของระบบการพิจารณาคดี เช่น การยื่นฟ้อง การบริหารงานคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ (หน่วยงานหลัก : สำนักงานศาลยุติธรรม) |
10. ด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย |
|
พัฒนากระบวนการล้มละลาย เช่น สิทธิของลูกหนี้และเจ้าหนี้ ในการเริ่มดำเนินการชำระบัญชี การบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ การให้สินเชื่อภายหลัง กระบวนการล้มละลาย กระบวนการอนุมัติสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ สิทธิของเจ้าหนี้ในการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการล้มละลาย เป็นต้น (หน่วยงานหลัก : กรมบังคับคดี) |
1. ศึกษาและพิจารณแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 เพื่อลดระยะเวลาการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหน้า 2. พัฒนาระบบล้มละลายอิเล็กทรอนิกส์ (หน่วยงานหลัก : กรมบังคับคดี) |
ข้อมูลจาก หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
และหนังสือสำนักงาน ก.พ.ร.