Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้  

ข่าวเด่น


สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ ธนาคารโลกแถลงผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ ไทยรักษาอันดับในกลุ่ม 20 ประเทศแรกของโลกที่ง่ายต่อการประกอบธุรกิจ

alt
           สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับธนาคารโลก จัดการประชุมเพื่อรับฟังการนำเสนอรายงานผลการวิจัยประเทศที่มีความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจ ประจำปี 2557 (Ease of Doing Business 2014) ซึ่งประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 18 จาก 189 ประเทศทั่วโลก โดยมี ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เลขาธิการ ก.พ.ร. ดร.แมทธิว เวอร์กิส นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก และ ดร.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก เป็นผู้แถลงข่าว เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556 ณ ธนาคารโลกประจำประเทศไทย
alt 
          ดร.อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เลขาธิการ ก.พ.ร. เปิดเผยว่า “สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมกับธนาคารโลก จัดการประชุมเพื่อรับฟังการนำเสนอรายงานผลการวิจัยประเทศที่มีความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจ ประจำปี 2557 ซึ่งเป็นรายงานล่วงหน้า 1 ปี ผ่านระบบ Video conference จากกรุงวอชิงตัน ดี ซี ณ ธนาคารโลกประจำประเทศไทย ซึ่งผลการวิจัยปรากฏว่า ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจ อันดับที่ 18 จาก 189 ประเทศทั่วโลก ซึ่งยังคงรักษาอันดับในกลุ่ม 20 ประเทศแรกของโลกที่น่าลงทุน ได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศอาเซียนประเทศไทยเป็นอันดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย หากเปรียบเทียบในเอเชียประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 รองจากสิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลีใต้ และไต้หวัน” 

        “สำนักงาน ก.พ.ร. จะศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One stop service) ซึ่งจะศึกษาแนวทางของประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย รวมทั้ง การนำระบบไอทีเข้ามาใช้ในการทำงาน และการวางรากฐานเรื่อง National single window เพื่อความคล่องตัวในการลงทุนของนักลงทุน ซึ่งจะร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการเร่งปรับปรุงบริการให้เป็นผลสำเร็จ เพื่อให้อันดับของประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด” ดร.อารีพงศ์ กล่าว

          สำหรับแผนในการดำเนินการนั้น สำนักงาน ก.พ.ร. จะยกระดับการพัฒนาการคุณภาพให้บริการของหน่วยงานภาครัฐใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ระบบการรับและจ่ายเงินของหน่วยงานภาครัฐที่มีความจำกัด โดยจะหารือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อขอวางระบบการใช้บริการที่ชัดเจน 2) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องเชื่อมโยงให้เป็นหนึ่งเดียว 3) การทำให้การค้าระหว่างประเทศมีคล่องตัวสูงในรูปแบบ National single window โดยมีกรมศุลกากรเป็นแม่ข่ายหลัก และ 4) การลงทุนในประเทศไทย โดยอำนวยความสะดวกให้เกิดความคล่องตัวให้แก่นักลงทุนทั้งจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยและนักลงทุนไทยลงทุนในประเทศ ทั้งนี้ หากดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดจะมั่นใจได้ว่าไทยจะติดอยู่ใน 1 ใน 10 อันดับแรกของประเทศที่เข้ามาลงทุนได้ง่าย 

           ผลการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลกพิจารณาจากดัชนีชี้วัด 10 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ 2) ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง 3) ด้านการขอไฟฟ้า 4) ด้านจดทะเบียนทรัพย์สิน 5) ด้านการชำระภาษี 6) ด้านการค้าระหว่างประเทศ 7) ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุน 8) ด้านการได้รับสินเชื่อ 9) ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง และ 10) ด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย ซึ่งการดำเนินการปรับปรุงบริการของประเทศไทยในรอบปีที่ผ่านมา หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้ง 10 ด้านของตัวชี้วัด ได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการ ทั้งในรูปแบบของการลดขั้นตอน ระยะเวลาการดำเนินการ การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบให้เอื้อต่อความสะดวกของผู้ประกอบธุรกิจ โดยในส่วนที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจ โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้มอบอำนาจให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้ารับรองสำเนาข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานแทน ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง โดยกรุงเทพมหานคร ได้มีศูนย์ให้บริการขออนุญาตก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งได้ดำเนินการแล้ว 14 เขตในกรุงเทพมหานคร และได้มอบอำนาจให้สำนักงานเขต สามารถพิจารณาอนุญาตตึกสูงตั้งแต่ 8 ชั้นลงมาเพื่อความรวดเร็วในการพิจารณาขออนุญาตก่อสร้าง ในด้านการชำระภาษี กรมสรรพากรเสนอคณะรัฐมนตรีให้กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานรับชำระเงินสมทบประกันสังคมแทนสำนักงานประกันสังคม นอกจากนี้ ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงและด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย กรมบังคับคดีได้พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อมาช่วยในการดำเนินการและในส่วนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการซึ่งเป็นการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการได้รับสินเชื่อ ด้านการค้าระหว่างประเทศ ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุน ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สิน และด้านการขอใช้ไฟฟ้า

          จากผลการจัดอันดับดังกล่าว ปรากฏว่ามีบางดัชนีชี้วัดที่ขยับอันดับดีขึ้นจากปีที่แล้ว ได้แก่ ด้านการชำระภาษีอยู่อันดับที่ 70 จาก 96 ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลงอยู่อันดับที่ 22 จาก 23 ด้านการขออนุญาตก่อสร้างอยู่อันดับที่ 14 จาก 16 ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนอยู่อันดับที่ 12 จาก 13 ในขณะที่ตัวชี้วัดที่มีอันดับลดลง ได้แก่ ด้านการเริ่มต้นธุรกิจอยู่อันดับที่ 91 จาก 85 ด้านการขอใช้ไฟฟ้าอยู่อันดับที่ 12 จาก 10 ด้านการจดทะเบียนทรัพย์สินอยู่อันดับที่ 29 จาก 26 ด้านการได้รับสินเชื่ออยู่อันดับที่ 73 จาก 70 ด้านการค้าระหว่างประเทศอยู่อันดับที่ 24 จาก 20 และด้านการแก้ปัญหาการล้มละลายอยู่ในอันดับที่ 58 ไม่เปลี่ยนแปลง 

           ทั้งนี้ รายงานการวัดผลเรื่องความยาก - ง่ายหรือความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ธนาคารโลกได้มีการตีพิมพ์และเผยแพร่ไปทั่วโลก โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจเป็นจำนวนมากที่นำรายงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจเพื่อเข้าไปประกอบธุรกิจในประเทศต่าง ๆ และผลของการมีอันดับที่ดีนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่พยายามปรับปรุงบริการให้สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนแล้ว ยังมีผลต่อการดึงดูดให้นักลงทุนสนใจเข้ามาลงมาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น ประชาชนมีรายได้ และส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศไทยดีขึ้น 


            คลิกที่นี่   (เพื่อดูข้อมูลความก้าวหน้าการปรับปรุงบริการของภาครัฐ)

altalt



กลุ่มสื่อสาร (สลธ.) / ภาพ&ข่าว
นฤมล (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสาร ฯ / จัดทำ

 

 

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th