Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้  

ข่าวเด่น


สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การบรรลุผลอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 22-23 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสู่การบรรลุผลอย่างยั่งยืน” ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ณ ห้องโลตัส ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นประธาน

alt               alt 

         alt ในช่วงแรก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ว่า “สืบเนื่องจากมติ ก.น.จ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่ง ก.น.จ. ได้มีข้อสังเกตให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เพื่อให้เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ประเทศ และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งให้มีความเชื่อมโยงกับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาล การโซนนิ่ง แผนการบริหารจัดการน้ำ ดังนั้น เพื่อให้เป็นตามมติ ก.น.จ. ดังกล่าว สำนักงาน ก.พ.ร. จึงร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนและจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการขึ้น เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2556 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม และได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเข้าร่วมประชุมจัดทำดัชนีชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัดเพื่อเป็นเครื่องมือในการบอกทิศทางการพัฒนาจังหวัดเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยของประเทศ แล้วนำไปสู่การทบทวนยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว โดยกำหนดวาระงานในการลงพื้นที่เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด และจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อขยายผลรวม 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดaltมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดนครนายกในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ภายหลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในวันนี้ จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจะต้องกลับไปทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดและ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด โดยมีปฏิทินในการดำเนินการ คือ ช่วงเดือนกันยายน 2556 ทีมบูรณาการกลาง ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. และกระทรวงมหาดไทยจะลงพื้นที่เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่จังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวม 4 ภาค ปลายเดือนตุลาคม 2556 นำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดที่ทบทวนแล้วเสนอ ก.น.จ. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ และช่วงเดือนพฤศจิกายน 2556 – กุมภาพันธ์ 2557 จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีและคำของบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 ต่อไป”

          altนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มอบนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ กล่าวโดยสรุปว่า เพื่อให้การทบทวนบทบาทของแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดมีประสิทธิภาพ และตรงตามยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลกำหนดไว้ จึงขอเน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนในจังหวัดทั้งภาครัฐ เอกชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เพื่อให้เป็นแผนที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง มีการบูรณาการกับผู้แทนกระทรวง กรม ให้เกิดความชัดเจนเบื้องต้นว่า จะร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด และกลุ่มจังหวัดให้บรรลุผลจะต้องมีแผนงานโครงการที่จะร่วมมือกันอย่างไร ตลอดจนต้องให้ความสำคัญกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องครบถ้วนและทันสมัย และท้ายสุด ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แผนยุทธศาสตร์นี้เดินหน้าไปอย่างเป็นระบบ ทุกระดับต้องเข้าใจและร่วมมือกันฟันฝ่าปัญหาอุปสรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องนำความรู้ที่ได้รับกลับไปพัฒนาจังหวัดอย่างเต็มความสามารถ แล้วความสำเร็จก็จะเกิดขึ้น 








              หลังจากนั้น มีการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การวิเคราะห์กลยุทธ์การพัฒนาaltจังหวัด/กลุ่มจังหวัดรูปแบบใหม่” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวโดยสรุปว่า ประเด็นของการกำหนดกลยุทธ์โครงการในปัจจุบัน เนื่องจากกรอบยุทธศาสตร์เป็นภาพกว้าง ความท้าทายในการคิด กลยุทธ์และโครงการให้แตกต่าง และสามารถตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ในภาพรวม คุณลักษณะที่สำคัญของคนที่คิดอะไรใหม่ๆ จะต้องมี ได้แก่ 1) Associating มีความคิดเชื่อมโยงเพื่อสร้างอะไรใหม่ๆ 2) Questioning ชอบตั้งคำถาม 3) Observing ช่างสังเกต 4) Experimenting ทดลอง และ 5) Networking ในขณะเดียวกัน ต้องมีการคิดรูปแบบใหม่alt จากที่คิดเพื่อตอบสนองความต้องการ เป็นการทำให้ประชาชนเกิดความต้องการ ภายใต้วิธีทั้ง 6 ด้านคือ เปลี่ยนนิยามธุรกิจ เปลี่ยนนิยามลูกค้า เปลี่ยนคุณค่าที่นำเสนอ นำเสนอให้ครบวงจร บูรณาการและเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรม ตลอดจนการพิจารณาถึงแนวโน้มในอนาคต ซึ่งแต่ละจังหวัดสามารถเรียนรู้หลักการ แนวคิด และวิธีการคิด จากวงการธุรกิจหรือวงการบันเทิง เพื่อให้รู้รอบ และนำมาเชื่อมโยงกัน สร้างความต้องการใหม่ๆ ฝึกความคิดสร้างสรรค์ โดยการมองเรื่องเดิมๆ แต่มองจากมุมใหม่ ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนาจังหวัดของตนเองได้อย่างยั่งยืน



          alt

ต่อมาเป็นการบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “การคิดเชิงยุทธศาสตร์ : การแสวงหาโอกาสเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน” โดย นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวโดยสรุปว่า โครงสร้างพื้นที่ โครงสร้างประชากรแต่ละจังหวัด มีจุดเด่นแตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน ดังนั้น กลยุทธ์ในการสร้างความสำเร็จย่อมแตกต่างกัน ผู้บริหารต้องดูประโยชน์ของประชาชนและประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ทั้งสองสิ่งนี้ผลประโยชน์จะต้องไม่ขัดกัน พร้อมยกตัวอย่างวัฒนธรรมองค์กรและบุคลากรสำหรับธนาคารสมัยใหม่ต้องประกอบด้วย 1) มองโลกในแง่ดีให้เป็นนิจ การสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน 2) มองชีวิตการทำงานให้สดใส คนที่ประสบความสำเร็จ กับคนที่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่างกันที่ความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริง 3) สร้างทีมงานด้วยรักและพลังใจ เพราะการขับเคลื่อนประเทศต้องอาศัยกำลังจากทุกคน 4) ปลูกฝังคนไทยให้คิดสร้างสรรค์ คิดสิ่งใหม่-คิดนอกกรอบ



          alt       alt
                    หลังจากนั้น รับฟังการอภิปรายพิเศษ “มุมมองจากภาคเอกชน: การวางแผนกลยุทธ์เพื่อสร้างความแตกต่าง” โดย ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์กรรมการบริหาร เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย, ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด, นายภาณุมาศ ศรุศุข ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และดำเนินการอภิปรายโดย นายกฤษณ์ พันธ์รัตนมาลา ผู้อำนวยการ บริษัท ไทยพรอาเพอริตี้ แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด กล่าวโดยสรุปว่า การวางแผนกลยุทธ์ต้องมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยน คือ ลูกค้าเปลี่ยน สิ่งแวดล้อมเปลี่ยน คู่แข่งเปลี่ยน ความหมายว่า ต้องเก่งที่สุดในธุรกิจนั้นๆ ทำทุกอย่างคนเดียวไม่ได้ และต้องเป็น Value Creator ปัจจุบันเทคโนโลยีทำให้โลกแคบลง เชื่อมโยงคนทุกระดับในสังคม ผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงตลาดเพื่อหาสินค้าและบริการได้ง่ายขึ้น การสร้างความแตกต่างจึงสำคัญและสามารถทำได้หลายวิธี โดยผู้บริหารต้องรู้จักและเข้าใจลูกค้าให้ถี่ถ้วน เข้าใจสินค้าและความต้องการ โดยเพิ่มคุณค่าที่แตกต่างจากสินค้าอื่น แนวคิดของวิทยาการบริการคือ เปลี่ยนจากการขายสินค้าเป็นบริการ เช่น แนะนำวิธีปรุง บริการส่งถึงบ้าน เป็นต้น อีกทั้งความสามารถด้านนวัตกรรม ทำให้สินค้าหนึ่งชิ้นเกิด Offerings ได้เป็นหลายๆ ชนิด การวางยุทธศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน ต้องมองไปถึง 10 ปีข้างหน้าว่าจะเปลี่ยนไปอย่างไร แล้วจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรให้ตรงความต้องการของประชาชน ทั้งนี้ วิธีเดิมที่เคยตอบสนองในอดีต อาจตอบสนองในอนาคตไม่ได้ ซึ่งผู้บริหารสามารถนำมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์ได้ แผนยุทธศาสตร์ที่ดีต้องเข้าใจเป้าหมาย ลูกค้า ประชาชน บริบทของตลาดในพื้นที่ และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การคิดที่แตกต่าง

         alt
          ในช่วงสุดท้าย นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ชี้แจงแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์จังหวัดและกลุ่มจังหวัดว่า “มีวัตถุประสงค์เพื่อให้จังหวัดนำตัวชี้วัดและประเด็นการพัฒนาระดับประเทศที่เกี่ยวข้องไปวิเคราะห์หาศักยภาพและปัญหาที่แท้จริงของจังหวัด เพื่อใช้ประกอบการทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด ให้มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและศักยภาพของพื้นที่ มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ประเทศและนโยบายรัฐบาล ตลอดจนสร้างกระบวนการให้กระทรวง กรม มีส่วนร่วมในการพัฒนาตัวชี้วัด และมีส่วนร่วมในการทบทวนยุทธศาสตร์จังหวัด นำไปสู่การสนับสนุนและบูรณาการแผนงาน/โครงการคามความต้องการของจังหวัด โดยมีแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด 4 ขั้นตอน คือ พัฒนาดัชนีชี้วัดระดับจังหวัด, การวิเคราะห์ SWOT, การจัดทำยุทธศาสตร์ และการติดตามและประเมินผลการพัฒนา นอกจากนี้ ได้มีการสรุปผลการทบทวนยุทธศาสตร์และจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาจังหวัด 5 จังหวัดนำร่อง กล่าวคือ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพมากขึ้น มีการปรับปรุงวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด โดยใช้หลักการทางวิชาการมากขึ้น การให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดในภาพรวมของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ รวมถึงสร้างกระบวนการจัดทำแผนที่มีการบูรณาการระหว่างจังหวัดกับหน่วยงานในส่วนกลาง”

        alt ในวันที่ 23 สิงหาคม 2556 มีการบรรยายในหัวข้อ: Food Valley โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวโดยสรุปว่า “Food Valley เป็นเขตพื้นที่สำหรับพัฒนาแนวคิดการสร้างคลัสเตอร์ด้านการผลิตอาหารให้เป็นรูปธรรม เพื่อให้ได้อาหารที่ดี ปลอดภัย และมีคุณค่า ตลอดจนรูปลักษณ์ที่ปรับให้เข้ากับผู้บริโภค ขณะที่ประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งต่อยอดโครงการ Thailand Food Valley ที่ดำเนินรอยตามแนวคิดหุบเขาอาหารแห่งเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่ส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและอาหารสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยมุ่งเน้นสนับสนุนโครงการพัฒนาผู้ประกอบการ ยกระดับการผลิต พัฒนากระบวนการผลิต การวิจัยและพัฒนาอาหารให้มีความเข้มแข็ง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างไปตามวัฒนธรรมการบริโภค ภายใต้แนวคิด สร้างเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหาร และหน่วยงานวิจัย/มหาวิทยาลัย โดยที่โครงการ Thailand Food Valley จะเป็นผู้ประสานงาน ซึ่งหัวใจสำคัญคือ ความเชี่ยวชาญของหน่วยงานวิจัย ระบบเครือข่ายที่ดี สิทธิพิเศษในการใช้งานวิจัย ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินงานในกรอบยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด Thailand Food Valley กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างเครือข่ายหน่วยงานวิจัย เพื่อสนับสนุนให้ SMEs เข้าถึงงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปผลิตเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมอาหาร และยุทธศาสตร์ที่ 4 กระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SMEs ในอุตสาหกรรมอาหารเห็นความสำคัญของ R&D พร้อมวางเป้าหมายนำในพื้นที่และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

         ต่อมา รับฟังอภิปรายในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ Food Valley” โดยมีผู้เข้าร่วมอภิปราย ได้แก่ รศ.ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ดร.อัปสร เปลี่ยนสินไชย ผู้อำนวยการด้านวิจัยและพัฒนา บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด, นายปรีชา เชาวโชติช่วง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับเบิ้ล พี มาร์เก็ตติ้งส์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด และดำเนินการอภิปรายโดยนางสาววรรณวีรา รัชฎาวงศ์ กรรมการบริหาร สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ความโดยสรุปว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Food Valley ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จคือ ความร่วมมือจากผู้ประกอบการ ภาครัฐ และสถาบันวิจัยต่างๆ ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขึ้นมา นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าทางธุรกิจ การทำตลาด Food Valley ในประเทศไทยจึงควรกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ศึกษาข้อมูลให้ลึกซึ้ง กำหนดผลประโยชน์ที่ผู้ใช้บริการจะได้รับ โดยมีปัจจัยที่ควรคำนึงคือ สร้างความแตกต่าง รักษามาตรฐานตลอดจนการเพิ่มมูลค่า ทั้งนี้ ความสำเร็จของ Food Valley สามารถวัดได้จากจำนวนผู้ที่มาใช้บริการและคุณค่าที่สร้างให้กับอุตสาหกรรมอาหารและเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งการจะให้มีผู้มาใช้บริการมากขึ้นนั้น ต้องอาศัยปัจจัยด้านการตลาดเข้ามาช่วย โดยบทบาทของการตลาดคือ ทำให้มีผู้รู้จัก Food Valley และบริการของ Food Valley ในวงกว้าง ทำให้เกิดการยอมรับว่าผู้ที่มาใช้บริการจะได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่า ทำให้มีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก รวมถึงสร้างความผูกพันระยะยาวระหว่างผู้ใช้บริการและ Food Valley

alt       alt
         

altหลังจากนั้น เป็นการอภิปรายในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว” โดย นายกฤษณ์ รุยาพร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Asia Pacific Innovation Center Co., Ltd. นายวิทวัส ชัยปาณี ประธาน (Worldwide Chairman) กลุ่มบริษัท Creative Juice Worldgroup และนายกกิติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย, นายเจริญ วังอนานนท์ ที่ปรึกษาสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (TTAA), นายธนัช กรองกันภัย กรรมการ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และดำเนินการอภิปรายโดย นาย กฤษณ์ พันธ์รัตนมาลา ความโดยสรุปว่า ความได้เปรียบของประเทศไทยด้านยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวมีหลายด้าน อาทิ มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวติดอันดับโลก มีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย โดยมีแนวทางการสร้างยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนคือ ตั้งเป้าหมายแบบเน้นคุณภาพ วางแผนปฏิบัติการสร้างความ โดดเด่นและแตกต่างด้วยเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ดูแลระมัดระวังเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีแนวปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐานสากล รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักเศรษฐศาสตร์ Creative ที่สามารถสร้างสรรค์และริเริ่มเทคโนโลยีด้านอาหารใหม่ๆ ตลอดจนเพิ่มมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิตเพื่อพัฒนาประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารในภูมิภาคอาเซียน 


 




กลุ่มสื่อสารฯ (สลธ.) / ข่าว & ภาพ
ภัทรพร (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ

 

 

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th