Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
เกี่ยวกับ / สำนักงาน ก.พ.ร. / โครงสร้าง / อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่

1. สำนักงานเลขาธิการ

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

  • จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของสำนักงาน รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
    การปฏิบัติงาน ตลอดจนประสานการปฏิบัติราชการของสำนักงาน
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานช่วยอำนวยการ งานการเงินและพัสดุงานงบประมาณ งานบริหารงานบุคคล งานพัฒนาข้าราชการ งานวิเทศสัมพันธ์ งานเลขานุการนักบริหารและงานประชาสัมพันธ์ของสำนักงาน
  • ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักงาน
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของ ก.พ.ร. ร่วมกับส่วนราชการอื่นตามที่เลขาธิการ ก.พ.ร. มอบหมาย
  • ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของสำนักงาน
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

2. กองกฎหมายและระเบียบราชการ

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

  • จัดทำร่างกฎหมายและระเบียบ ให้ความเห็นและวินิจฉัยปัญหากฎหมาย รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร.
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานนิติกรรมและสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง อาญางานคดีปกครอง และงานคดีอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ และปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายในความรับผิดชอบ และจัดทำคู่มือเผยแพร่
    การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

3. กองกิจการองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

  • ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเสนอแนะ เพื่อกำหนดนโยบาย แนวทาง และหลักเกณฑ์กลางที่เกี่ยวกับ
    การจัดตั้ง การรวม การยุบเลิก การบริหารงานและพัฒนา และการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนและหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ
  • ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และประสานงานกับองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่นในกำกับของราชการฝ่ายบริหารที่มิใช่ส่วนราชการ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบการบริหารงานและการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวทางที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอของ ก.พ.ร.
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการและคณะกรรมการอื่น
    ที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

4. กองติดตามและประเมินผลการพัฒนาระบบราชการ

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

  • ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบราชการ และการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วย
    หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานอื่นของรัฐ เสนอต่อ ก.พ.ร.
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของ
    การพัฒนาระบบราชการ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

5. กองบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  

  • ศึกษา วิเคราะห์  วิจัย  และพัฒนาเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ
  • เสนอแนะนโยบาย  มาตรการ  และกำกับ   ติดตาม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • เป็นศูนย์กลางเกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของส่วนราชการต่างๆ เพื่อให้การสนับสนุนผู้นำ
    การบริหารการเปลี่ยนแปลงของกรมและจังหวัด ในการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

6. กองเผยแพร่ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  

  • ส่งเสริม สนับสนุน และชี้แจงทำความเข้าใจกับส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป รวมทั้งดำเนิน
    การส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาระบบราชการอย่างต่อเนื่อง
  • สร้างความเข้าใจ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของบุคคลกลุ่มต่าง ๆในการพัฒนาระบบราชการ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือกลุ่มงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

7. กองพัฒนาระบบราชการ 1

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

  • ศึกษา วิเคราะห์  วิจัย เสนอแนะ และประสานงานเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการปรับปรุงโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม การจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบเลิก การกำหนดชื่อ การเปลี่ยนชื่อ การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงสร้าง และปรับปรุงระบบงาน การติดตามและประเมินผลการปฎิบัติราชการ และการนำยุทธศาสตร์หรือมาตรการ
    ในการพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฎิบัติของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือกลุ่มงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

8. กองพัฒนาระบบราชการ 2

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ 

  • ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เสนอแนะ และประสานงานเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการปรับปรุงโครงสร้าง กระทรวง ทบวง กรม การจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบเลิก การกำหนดชื่อ การเปลี่ยนชื่อ การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและปรับปรุงระบบงาน การติดตามและประเมินผลการปฎิบัติราชการ และการนำยุทธศาสตร์หรือมาตรการในการพัฒนาระบบราชการไปสู่การปฎิบัติของกระทรวง  ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของส่วนราชการหรือกลุ่มงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

9. กองพัฒนาระเบียบราชการส่วนภูมิภาคและความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  • ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการและระบบการพัฒนาระเบียบราชการ
    ส่วนภูมิภาคและความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระบบการบริหารงานจังหวัดและ
    กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
  • ให้คำปรึกษาและประสานงานกับหน่วยงานกลางอื่นๆ เกี่ยวกับนโยบายการบริหารราชการส่วนภูมิภาคและความสัมพันธ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบ
    บูรณาการและคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

10. กองส่งเสริมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  

  • จัดทำและพัฒนาแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการการดำเนินงานของส่วนราชการและแนวทางการสอบทานผลการดำเนินงานของส่วนราชการ
  • จัดทำรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรวมทั้งรายงานการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการตามกฎหรือระเบียบ
    ว่าด้วยการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
  • ให้คำปรึกษา แนะนำ เสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
  • ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

11.กลุ่มตรวจสอบภายใน

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  

  • ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงาน
  • ปฎิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฎิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

12.กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  

  • เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่เลขาธิการเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
  • ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการในสำนักงาน
  • ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และส่วนราชการในสำนักงาน
  • ปฎิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฎิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

13. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต

มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้  

  • เสนอแนะแก่เลขาธิการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของสำนักงาน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรการป้องกันและ
    ปราบปรามการทุจริตภาครัฐ และนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อเลขาธิการ
  • ประสานงาน เร่งรัด และกำกับให้ส่วนราชการในสำนักงานดำเนินการตามแผนปฏิบัติการป้องกันและ
    ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของส่วนราชการ
  • รับข้อร้องเรียนเรื่องการทุจริต การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน และส่งต่อไปยังส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • คุ้มครองจริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
  • ประสานงาน เร่งรัด และติดตามเกี่ยวกับการดำเนินการตาม 3) และ 4) และร่วมมือในการป้องกันและ
    ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบกับส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบของ
    ส่วนราชการและการคุ้มครองจริยธรรม เสนอต่อเลขาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2557 15:15:37 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2557 15:04:56
เกี่ยวกับ
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th