ส่วนราชการมีความสับสบระหว่างการจัดทำคู่มือเพื่อปรับปรุงกระบวนงาน (กระบวนงานสนับสนุน) กับการจัดทำคู่มือการทำงานที่หน่วยตรวจสอบภายในมาสั่งให้ทำคือ
- มีขอบเขต ความละเอียด ในการจัดทำเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
- มีการกำหนดรูปแบบหรือ template ที่ต้องจัดทำหรือไม่อย่างไร
- มีความเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดใดบ้าง (9.1 หรือ PMQA หมวด 6)
- การจัดทำคู่มือของกระบวนงานสนับสนุน ที่หน่วยตรวจสอบภายในสั่งให้สำนัก/กองดำเนินการ จะต้องลงลึกถึงหน้างานย่อย ๆ หรือไม่ หรือเขียนในภาพกว้างเพื่อจะกำหนดกิจกรรมกาควบคุมภายในเท่านั้น จะมีผลต่อการจัดทำมาตรฐานกระบวนงาน และเพิ่มคุณภาพมาตรฐานการทำงานหรือไม่ เพราะกระบวนงานสนับสนุนที่เกี่ยวกับงานบริหารทรัพยากรบุคคลยังอยู่ในระยะเปลี่ยนผ่าน ขั้นตอนการดำเนินการตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ยังไม่มีความชัดเจนในหลายเรื่อง เกรงว่าถึงให้จัดทำละเอียดมากเกินไปก็ต้องปรับเปลี่ยนขั้นตอนอยู่ตลอดเวลา สิ่งจะนำมาใช้เป็นมาตรฐานหรือเป็นโจทย์สำหรับการพิจารณาปรับปรุงต่อก็ไม่นิ่งสักที
ขอความกระจ่างด้วย
ที่ส่วนราชการ กลุ่มพัมนาระบบบริหารกับหน่วยตรวจสอบภายในพายเรือกันคนละที
ต่างคนต่างจ้องจะทำหน้าที่ตรวจแล้วก็ตัดคะแนน ไม่เคยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ติดตาม กำกับดูแล เอาเป็นว่า mentor coaching facilitator monitor เป็นอย่างไรไม่รู่จักทำไม่เป็น คิดว่าตัวเองเป็น "ทริส" กระมัง? รายงาน 6, 9 เดือน ส่งไปก็ไม่เคยตรวจดู เอาแต่ตัวเลขไปรวมส่งนาย ถึงเวลา 12 เดือน ตัดคะแนนเฉยเลย ทั้งที่เขียนไปแบบนั้นตั้งแต่รอบ 6 เดือนแล้ว
ก.พ.ร. น่าจะมีการสำรวจความพึงพอใจหรือผลการดำเนินงานของกลุ่มพัฒนาระบบบริหารในระดับส่วนราชการบ้าง หรือมากำกับดูแล set รูปแบบวิธีการทำงานที่เหมาะสมให้กับกลุ่มพัฒนาระบบบริหารในระดับส่วนราชการบ้าง
หรือพา ก.พ.ร.น้อยของแต่ละกรม ไปดู ก.พ.ร. น้อยของส่วนราชการที่น่าจะเป็น best practice ซะบ้าง
น่าสงสัยนะ ว่าทำไมตามโรงพยาบาล หรือหน่วยงานด้านสาธารณสุขทำได้ดี |