Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

ดัชนีความสุขคนไทยสูงขึ้น เห็นแก่ตัวมากกว่าชาติบ้านเมือง


เอแบคโพลล์เผย ต.ค.ดัชนีความสุขคนไทยสูงขึ้นจากการแสดงความจงรักภักดี

เอแบคโพลล์ทำการสำรวจเอแบคโพลล์ทำการสำรวจดัชนีความสุขของคนไทยประจำเดือน ตุลาคมในรูปแบบเรียลไทม์เมื่อวันที่ 3 พ.ย.ที่ผ่านมา จากกลุ่มตัวอย่างใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,245 ครัวเรือน พบ ดัชนีความสุขของคนไทยประจำเดือน ต.ค.52 อยู่ที่ 7.50 ขยับเพิ่มขึ้นจาก 7.18 ที่ได้จากการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน ส.ค.52 ซึ่งดัชนีปรับดีขึ้นทุกตัว โดยเฉพาะความสุขที่เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดี แต่น่าเป็นห่วงเรื่องจิตสำนึกคำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศชาติ

ทั้งนี้ ดัชนีความสุขของคนไทยทุกตัวดีขึ้น โดยเฉพาะความสุขที่เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดีสูงถึง 9.84 จากคะแนนเต็ม 10 รองลงมาคือความสุขต่อบรรยากาศของคนในครอบครัวสูงขึ้นจาก 8.44 มาอยู่ที่ 9.00, ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีสูงขึ้นจาก 8.19 มาอยู่ที่ 8.22, ความสุขต่อสุขภาพใจสูงขึ้นจาก 7.73 มาอยู่ที่ 7.90, ความสุขต่อสุขภาพกายสูงขึ้นจาก 7.69 มาอยู่ที่ 7.77, ความสุขต่อหน้าที่การงานสูงขึ้นจาก 7.63 มาอยู่ที่ 7.67

ความสุขต่อสภาพแวดล้อมที่พักอาศัยสูงขึ้นจาก 7.50 มาอยู่ที่ 7.64, ความสุขต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนสูงขึ้นจาก 7.17 มาอยู่ที่ 7.54, ความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัวสูงขึ้นจาก 6.56 มาอยู่ที่ 6.92 และความสุขต่อความเป็นธรรมทางสังคมสูงขึ้นจาก 6.18 มาอยู่ที่ 6.99 ยกเว้นความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศทางการเมืองที่ยังต่ำกว่าครึ่งคือได้ 4.74 จากคะแนนเต็ม 10 แต่สูงขึ้นจาก 4.63 มาอยู่ที่ 4.74

"ความสุขของคนไทยที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้สูงกว่าการสำรวจครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา เพราะคนไทยได้ทราบข่าวในหลวงทรงมีพระพลานามัยแข็งแรงขึ้น การแสดงความจงรักภักดีของไทย และดัชนีความสุขของคนไทยทุกตัวมีแนวโน้มดีขึ้น ยกเว้นบรรยากาศทางการเมือง" เอแบคโพล ระบุ

สิ่งน่าเป็นห่วงคือจิตสำนึกคำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศชาติ โดยกลุ่มพ่อค้าและกลุ่มคนว่างงานที่ส่วนใหญ่จะเห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวต้องมาก่อนประโยชน์ของประเทศชาติ ขณะที่กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจจะมีสัดส่วน 1 ใน 3 ที่เห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวต้องมาก่อนประโยชน์ของประเทศชาติ

"ไม่มีกลุ่มอาชีพใดที่โดดเด่นในเรื่องความรักชาติ เอาความอยู่รอดของประเทศชาติมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว แม้แต่กลุ่มข้าราชการก็ยังค้นพบเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น และถ้ามองไปที่กลุ่มพ่อค้าก็พบว่าส่วนใหญ่จะเอาผลประโยชน์ของตนเองและครอบครัวมากกว่าความอยู่รอดของประเทศ กลุ่มคนที่พอจะพึ่งได้ คือ กลุ่มผู้เกษียณอายุที่คำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวแต่ก็เป็นเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น" นายนพดล กล่าว

http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=74720
sarit    5 พฤศจิกายน 2552 09:51:49    IP: 118.173.35.xxx

ความเห็นที่ 1
"ไม่มีกลุ่มอาชีพใดที่โดดเด่นในเรื่องความรักชาติ เอาความอยู่รอดของประเทศชาติมาก่อนผลประโยชน์ส่วนตัว แม้แต่กลุ่มข้าราชการก็ยังค้นพบเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น และถ้ามองไปที่กลุ่มพ่อค้าก็พบว่าส่วนใหญ่จะเอาผลประโยชน์ของตนเองและครอบครัวมากกว่าความอยู่รอดของประเทศ กลุ่มคนที่พอจะพึ่งได้ คือ กลุ่มผู้เกษียณอายุที่คำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวแต่ก็เป็นเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น" นายนพดล กล่าว
sarit    5 พฤศจิกายน 2552 09:53:45    IP: 118.173.35.xxx

ความเห็นที่ 2
สิ่งน่าเป็นห่วงคือจิตสำนึกคำนึงถึงความอยู่รอดของประเทศชาติ โดยกลุ่มพ่อค้าและกลุ่มคนว่างงานที่ส่วนใหญ่จะเห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวต้องมาก่อนประโยชน์ของประเทศชาติ ขณะที่กลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจจะมีสัดส่วน 1 ใน 3 ที่เห็นแก่ประโยชน์ของตัวเองและครอบครัวต้องมาก่อนประโยชน์ของประเทศชาติ
sarit    5 พฤศจิกายน 2552 09:54:33    IP: 118.173.35.xxx

ความเห็นที่ 3
ความสุขของคนไทยทั้งประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ถ้ามองมายังครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยงานหน่วยงานที่เล็กที่สุดจะเห็นว่าครอบครัวที่แข็งแรงยังมีน้อยโดยเฉพาะชุมชนในเมือง ได้ทำโครงการคุณธรรมนำครอบครัวเข้มแข็งขึ้นมา ยังไม่ผ่านเกณฑ์ 6 ครัวเรือน จาก 30 เนี่องจากข้อ 1 ไม่ผ่าน
haha    15 พฤศจิกายน 2552 06:37:45    IP: 125.25.202.xxx

ความเห็นที่ 4
ผมว่าน่าจะมีการสำรวจในการทำงานของข้าราชการเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานว่ามีความสุขขนาดไหน โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีคนมาใช้บริการมากๆและความสุขต่อปริมาณงานที่มากขึ้นและความสุขต่อสวัสดิการว่ามีพอใจอย่างไร
theera    18 พฤศจิกายน 2552 11:35:45    IP: 117.121.220.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th