Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

การพิจารณาโบนัสในระบบราชการน่าจะทำให้เกิดความแตกแยกมากกว่าเป็นผลดี ?


ถ้ายังใช้ระบบจ่ายโบนัสตามฐานเงินเดือนอยู่จะเกิดระแวงขึ้นในองค์กร  ผู้บริหารได้เป็นระดับเงินเลข 5-6 หลัก  ระดับกลางถึงล่างได้ระดับ xxxx  ถามว่าระดับผู้ปฏิบัติงานเหนื่อยจริงๆ คือระดับใด  ถ้าจะคิดใหม่คือคิดตามปริมาณงาน (work load) ไม่ใช่ฐานเงินเดือน  
uthais25    12 สิงหาคม 2552 00:44:02    IP: 124.122.19.xxx

ความเห็นที่ 1
เห็นด้วยครับ เห็นด้วยอย่างยิ่งเลย ผู้ปฏิบัติที่ทำงานเหนื่อยและเคลียดที่สุด
theera    15 สิงหาคม 2552 13:01:24    IP: 123.242.184.xxx

ความเห็นที่ 2
เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการจัดสรรเงินโบนัสขอแสดงความเห็นดังนี้

เมื่อ ครม.อนุมัติงบจ่ายโบนัสข้าราชการ ในแต่ละปีไม่ว่าจะกี่พันล้านบาท(เงินรางวัลประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2551 ครม.อนุมัติ 6,735ล้านบาท) เงินนี้ต้องถูกจัดสรรเป็น 2 ส่วนแบ่งให้กับข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน (5,550 ล้านบาท)และให้กับผู้บริหาร(1,185 ล้านบาท) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างจำนวนผู้บริหาร กับจำนวนข้าราชการ การจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษให้กับผู้บริหาร สูงถึง เกือบ 20% ของเงินทั้งหมดที่ ครม.อนุมัติ นับว่าไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง ค่าตอบแทนที่ผู้บริหารได้รับในการปฏิบัติงานปกติ ก็นับว่าสูงอยู่แล้วเมื่อเทียบกับข้าราชการทั่วๆไป (แต่ยังต่ำหากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว) เงินที่ท่านผู้บริหารเหล่านี้ได้ไป มิได้ก่อให้เกิดประโยชน์มากนัก หากเทียบกับข้าราชการผู้น้อย เพราะทำให้ผู้บริหารมีเงินได้พึงประเมินสูงขึ้น ส่งผลให้ถูกเรียกเก็บภาษีสูงขึ้น แต่หากเป็นข้าราชการผู้น้อยได้รับเงินโบนัสส่วนนี้สูงขึ้น จะสามารถนำเงินนี้ไปใช้จับจ่าย ไปบริโภค ให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้มีประโยชน์มากกว่า จริงอยู่แม้ว่ายอดเงินที่ผู้บริหารจะต้องชำระภาษีจะสูงขึ้นตามเงินได้พึงประเมิน แต่ความเป็นจริงแล้ว รัฐไม่สามารถเรียกเก็บเงินภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากผู้บริหารเหล่านั้น คงไม่มีผู้บริหารคนใดยอมเสียภาษีให้รัฐอย่างเต็มที่ทุกบาททุกสตางค์เป็นแน่  เพราะเขาเหล่านั้นสามารถใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามที่รัฐเอื้อผลประโยชน์ให้ เช่นนี้แล้วการจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษให้ผู้บริหาร สูงเกินไปจึงไม่เหมาะสม จัดสรรเพียงแค่ 5-10% นับว่ามากเพียงพอแล้ว

ส่วนหลักเกณฑ์ วิธีการและรูปแบบการจัดสรรเงินรางวัลโบนัส เมื่อหน่วยงานแต่ละกรม กระทรวงได้รับไป จะมีการจัดสรรให้บุคลากรทุกคนในอัตราที่เท่ากัน อยู่แล้ว แต่ละกรม แต่ละกระทรวงกลับใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างไม่เท่าเทียมกัน บ้างก็ให้เงินรางวัลสำหรับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติราชการร่วมกัน จัดสรรให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำในอัตราที่เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 50 ของเงินรางวัลทั้งหมดที่หน่วยงานนั้นได้รับบ้าง ร้อยละ 60 บ้าง ร้อยละ 40 หรือร้อยละ 70,80 อีกส่วนแบ่งเงินรางวัลสำหรับความโดดเด่นของหน่วยงาน
การจัดสรรดังกล่าว ของแต่ละหน่วยงานจะมีผลแตกต่างเป็นอย่างมากสำหรับหน่วยงานที่มีจำนวนอัตราข้าราชการผู้ปฏิบัติงานมาก และจำนวนอัตราข้าราชการน้อย หากทั้งสองหน่วยงานได้เงินรางวัลเท่ากันหรือใกล้เคียงกัน กรณีเช่นนี้แล้วเมื่อต้องจัดสรรเงินให้กับข้าราชการทุกรายแล้วเพื่อมิให้ข้าราชการหน่วยงานหนึ่งได้รับเงินรางวัลน้อยกว่าอีกหน่วยงานหนึ่งมากจนเกินไป ควรจะจัดสรรเงินรางวัลให้กับข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน ลูกจ้างประจำ เสียตั้งแต่ตอนต้น เพื่อความเป็นธรรม ยก ตัวอย่างเมื่อ ครม.อนุมัติส่วนแบ่งให้กับข้าราชการผู้ปฏิบัติงาน 5,550 ล้านบาท จัดสรรให้กับข้าราชการทุกคน 1.5 ล้านคน ร้อยละ 50 ของเงิน 5,550 ล้านบาท เท่าๆกันจะได้ขั่นต่ำคนละ 1,850 บาท

ส่วนเงินที่เหลือร้อยละ 50 (จำนวน  2,775 ล้านบาท)จากการแบ่งดังกล่าวข้างต้นจึงจัดสรรให้แต่ละหน่วยงาน แต่ละกระทรวง กรมไป โดยให้แต่ละหน่วยงานได้รับเงินรางวัลตามสำหรับความโดดเด่นของหน่วยงาน (โดยไม่ต้องมาจัดสรรให้กับข้าราชการในหน่วยงานทุกคนอีก ให้จัดสรรเฉพาะแต่ความโดดเด่นของผลงานแต่อย่างเดียว) เปรียบเทียบผลงานแต่ละส่วนราชการกันไปตามลำดับ ยกตัวอย่าง 120 ส่วนราชการ 72 สถาบันอุมศึกษา 75 จังหวัด แบ่งจัดสรรเงินรางวัลออกเป็น 3 ส่วน ก้อนแรกให้ส่วนราชการ ทั้ง 120 ส่วน ก้อนที่สองจัดสรรให้กับ สถาบันอุดมศึกษา 72 สถาบัน และก้อนสุดท้ายใหจังหวัด 75 จังหวัด

แล้วจึงนำผลงานของแต่ละส่วนราชการ หรือสถาบันอุดมศึกษา หรือแต่ละจังหวัด มาเรียงลำดับเปรียบเทียบผลงาน
จึงจัดสรรเงินรางวัลตามลำดับที่ได้ต่อไป หากเแต่ส่วนราชการที่มีผลงานดีลำดับต้น กับส่วนราชการที่มีผลงานในลำดับสุดท้าย ควรจะมีความแตกต่างของยอดเงินรางวัลที่ได้รับระหว่าง 10-15% และส่วนราชการใด หรือสถาบันอุดมศึกษา หรือจังหวัดใด ที่มีจำนวนอัตราข้าราชการเป็นจำนวนมาก หน่วยงานนั้นควรจะได้เงินรางวัลมากขึ้นตามไปด้วย และหน่วยงานใดที่มีจำนวนข้าราชการผู้ปฏิบัติงานน้อย ควรจะได้รับเงินรางวัลน้อยลงตามไปด้วย  

อนึ่งค่าตอบแทน ค่าจ้างเงินเดือน เงินรางวัล โบนัส ผลประโยชน์ที่รัฐเกื้อ***ลแก่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ได้รับในปัจจุบันยังน้อย เป็นเพราะรายได้ของประเทศไทยยังน้อย หากประเทศมีรายได้สูงขึ้น จะสามารถจ่ายค่าตอบแทนและสร้างกำลังใจให้กับข้าราชการได้ดียิ่งขึ้น
sglol    17 กันยายน 2552 15:14:05    IP: 58.137.129.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th