งานเพิ่ม เงินไม่เพิ่ม เป็นคำบ่นของข้าราชการแทบจะทุกหน่วยงาน
....งานที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ได้เป็นผลดี เนื่องจากเมื่อรับภาระงานมากขึ้น ความผิดพลาดย่อมมีโอกาสเกิดมากขึ้นตามงาน ความรอบคอบจะลดน้อยลงเพราะต้องรีบทำงานให้เสร็จทันตามกำหนด และหากโชคร้ายงานที่ทำมีความบกพร่องผิดพลาดเกิดความเสียหาย ผู้ที่ทำงานนั้นก็ต้องถูกลงโทษ โดยไม่สามารถอ้างว่างานที่รับผิดชอบมีมากขนาดไหน
....เมื่อมีงานใหม่เข้ามาในระบบ นอกเหนือจากงานที่เคยทำอยู่เป็นประจำ ภาวะการเกี่ยงงานก็จะเกิดขึ้น แล้วก็จะโยนกันไปโยนกันมา บางครั้งถึงขั้นผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องประชุมตัดสินกันเลยทีเดียว
.....นอกจากจะเกิดภาวะการเกี่ยงงานแล้ว ข้าราชการจะวิ่งเต้นไปอยู่ในหน่วยงานที่ไกลหูไกลตาผู้บังคับบัญชาระดับสูง และเป็นหน่วยงานที่งานน้อยๆ งานเบาๆ หรือหน่วยงานที่มีงานพอเหมาะ และมีความเสี่ยงที่จะทำงานผิดพลาดน้อย ....หน่วยที่มีงานน้อยก็มีสิทธิได้รับ 2 ขั้นเหมือนกัน เพราะคิดโควตาเป็นร้อยละของจำนวนคน
......อยู่ในหน่วยงานที่ใกล้นาย ทำดีก็ดีไป แต่ถ้าทำงานดีแล้ว เอาใจนาย ประจบนายไม่เป็น ก็ไม่ได้ดีอีกนั่นแหล่ะ
......งานจะไหลเข้าหาคนที่ทำงานเป็น รู้งาน ทำงานเก่ง ถ้าได้เผลอรับงานใดเข้ามา แม้ไม่เกี่ยวกับหน้างานที่รับผิดชอบอยู่ก็ตาม และงานนั้นก็จะเป็นงานในรับผิดชอบในทันที สลัดไม่ออก ....ดังนั้นจึงเป็นที่มาของข้าราชการแกล้งโง่ "งานนี้ฉันทำไม่ได้ ทำไม่เป็น ฉันไม่มีความรู้เรื่องนี้ ให้คนอื่นที่เขาทำเป็นไปเถอะ"
......หน่วยงานที่มีเจ้านายมาก จะทำให้เจ้าหน้าที่คนทำงานปวดหัว เพราะ นายคนที่หนึ่งสั่งงานบอกว่าด่วน เอาเดียวนี้ นายคนที่สองก็สั่งงานหนึ่งว่า ด่วน เอาเดี๋ยวนี้ นายคนที่สามเอาอีกเรียกไปสั่งงาน บอกว่า ด่วน เอาเดี๋ยวนี้....... ท่านว่าเจ้าหน้าที่คนนี้(ซึ่งเป็นคนที่ทำงานเก่งมาก)จะเป็นอย่างไร ......ผลที่ออกมา เจ้าหน้าที่คนนี้จะได้รับคำชม 1 คน แล้วจะโดนเจ้านายด่า 2 คน เวลาขอความดีความชอบประจำแต่ละครึ่งปี เจ้านายทั้งสามท่านนี้ก็เป็นกรรมการพิจารณา......ท่านว่าเจ้าหน้าที่คนนี้จะได้ 2 ขั้นไหมครับ ......ผลก็คือ.....ไม่ได้ครับ....เพราะ เจ้านายคนที่หนึ่งเสนอให้ 2 ขั้น เจ้านายอีกสองท่านที่เหลือก็ค้านบอกว่าทำงานไม่ได้เรื่อง "ผมสั่งงานเจ้าหน้าที่คนนี้แล้ว ปรากฎว่าทำงานช้ามาก ทั้งที่ผมย้ำว่า ด่วน เอาเดี๋ยวนี้ ผมไม่ให้หรอก" สรูปก็คือ กรรมการ 3 คน ยกมือให้ 1 คน ค้าน 2 คน ผลคือไม่ได้ 2 ขั้น
.....เมื่อมีภาระงานมาก และมากจนเกินตัว เวลาผิดพลาด เจ้านายไม่เคยคิดว่า เจ้าหน้าที่คนนี้ทำผิดพลาดเพราะมีงานมาก แต่มักจะมองว่าเป็นความประมาท เลินเล่อ ไม่ใช้ความรอบคอบเท่าที่ควร ต้องมีการลงโทษเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่าง
สรุป......เมื่อเป็นเช่นนี้ งานเพิ่ม เงินไม่เพิ่ม แถมถูกลงโทษเพราะดันไปรับงานมากทำให้เกิดความผิดพลาด .....จึงเป็นเหตุให้ข้าราชการเกี่ยงงาน ข้าราชการแกล้งโง่ ด้วยประการละฉะนี้.... |