พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ ม.22 ให้หัวหน้าส่วนราชการมอบอำนาจการปฏิบัติราชการในเขตพื้นที่จังหวัดให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ม.23(1) ในกรณีที่อำนาจนั้นเกี่ยวกับราชการของส่วนราชการใด และส่วนราชการนั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัดนั้น ม.26วรรคสอง ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าเรื่องใดเป็นเรื่องที่ไม่อาจมอบอำนาจได้เนื่องจากเป็นกรณีตามมาตรา 6 วรรคหนึ่ง (เป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นอำนาจเฉพาะหรือเป็นเรื่องที่โดยสภาพไม่อาจมอบอำนาจได้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายสำคัญ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็นเรื่องที่อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือเกิดความไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนได้) ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจไม่มอบอำนาจนั้นก็ได้ แต่ต้องแจ้งการไม่มอบอำนาจพร้อมทั้งเหตุผลให้ส่วนราชการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่มอบอำนาจทราบ ทั้งนี้ ส่วนราชการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่มอบอำนาจมีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้นำข้อขัดแย้งนั้นเสนอ ก.พ.ร. เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
ปัญหามีอยู่ว่า เมื่อกรมฯ มอบอำนาจเกี่ยวกับการพิจารณาและเลื่อนเงินเดือนให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและระบุว่าเมื่อได้รับมอบอำนาจดังกล่าวแล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบอำนาจต่อให้หัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่ และเมื่อหน่วยงานในจังหวัดได้เสนอคำสั่งเพื่อขอรับการรับมอบอำนาจกับสำนักงานจังหวัด ปรากฎว่าไม่ได้รับการพิจารณาและไม่มีการชี้แจงจากสำนักงานจังหวัดแต่อย่างใด บางหน่วยงานก็ได้รับการส่งคืนแฟ้มที่เสนอ (จึงไม่มีหลักฐานการเสนอแฟ้ม)
สาเหตุดังกล่าวเป็นเหตุให้ทุกหน่วยงานทั้งสังกัดราชการบริหารส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง ต้องเสนอเรื่องให้ผู้ว่าพิจารณาและออกคำสั่งทุกกรณี แต่ทุกหน่วยงานต้องเสนอที่สำนักงานจังหวัดแต่สำนักงานจังหวัดก็ได้ใช้เวลาพิจารณาโดยไม่สามารบอกว่าจะใช้เวลานานเท่าได และติดต่อสำนักงานจังหวัดยาก ไม่ค่อยอยู่โดยได้รับแจ้งว่าติดประชุม เป็นเหตุให้การออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือนเป็นไปโดยล่าช้า โดยเฉพาะหน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในจังหวัด มักเป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรมาก (รวมบุคลากรแผงที่ฝากไว้แต่ตัวปฏิบัติหน้าที่จังหวัดอื่นๆ)
ซึ่งความจริงการมอบอำนาจให้ผู้ว่ามีอำนาจก็เพื่อประโยชน์ในการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ แต่การมอบดังกล่าวเป็นการเพิ่มขั้นตอนให้หน่วยงานในพื้นที่ต้องเสนอแฟ้มให้เจ้าหน้าที่สำนักงานจังหวัดพิจารณาอีกขั้นตอนหนึ่งซึ่งเจ้าหน้าที่อาจมีภารกิจมากก็ได้จึงได้ล่าช้าเพราะเป็นศูนย์รวมทั้งจังหวัด
การออกคำสั่งเลื่อนเงินเดือนล่าช้า เป็นเหตุให้หน่วยงานต้องเบิกเงินเดือนเดิมไปก่อน และงดเบิกเงินค่าครองชีพ ให้แก่ข้าราชการชั้นผู้น้อยที่มีเงินเดือนไม่ถึง 11,700 บาท ในภาพรวมปัญหาจึงเกิดแก่ข้าราชการระดับล่าง เพราะความไม่คล่องตัวจากการมอบอำนาจให้ผู้ว่าฯ
ซึ่งความจริงแล้วควรมอบอำนาจให้ผู้ว่าฯ มีอำนาจพิจารณาความดีความชอบแก่หัวหน้าหัวหน่วยในพื้นที่เท่านั้น ไม่ควรเหมารวมข้าราชการชั้นผู้น้อยไปด้วย เพราะการให้ความดีความชอบ ผู้ว่าฯย่อมไม่รู้จักข้าราชการชั้นผู้น้อยที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในจังหวัด อำนาจพิจารณาจึงควรเป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานในหน่วยงานนั้นๆ |