Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

ขอให้เปลี่ยนคำว่าลูกจ้างประจำเป็นอย่างอื่น


ปัจจุบันระบบราชการได้พัฒนาไปอย่างมากไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ พนักงานราชการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่ลูกจ้างประจำกับย่ำอยู่กับที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งที่ทำงานเหมือนกันหรือจะหน้กกว่าข้าราชการด้วยซ้ำ และไม่นานมานี้พนักงานราชการได้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็นเจ้าพนักงานซึ่งเทียบเท่ากับข้าราชการทั้งๆที่ไม่เคยได้รับการอบรม ไม่เคยผ่านหลักสูตรอะไรเลย วุฒการศึกษาแค่มัธยม ส่วนลูกจ้างประจำได้รับการอบรมพัฒนาความรู้หลายหลักสูตร รวมทั้งประสบการณ์กลับได้รับการเฉยเมย เงินเดือนก็เต็มขั้น ใครที่อ่านข้อความโพสนี้ที่เป็นลูกจ้างประจำส่งเมล์มาหากันหน่อยพวกเราจะรวมตัวกันทั่วประเทศ ประท้วงกันซะที
ham-ghz@hotmail.com    3 มิถุนายน 2552 09:31:56    IP: 118.172.208.xxx

ความเห็นที่ 1
สถานการความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านวิชาการและเทคโนโลยีในโลกยุคไร้พรมแดนในทุกวันนี้ เป็นปัจจัยผลักดันให้คนทำงานราชการภาครัฐในทุกตำแหน่ง ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประจำ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ต่างต้องปรับตัวพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เพราะภาระงานเกือบทุกตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งที่มีคุณวุฒิต่ำหรือสูงกว่าปริญญาตรี ต่างก็ต้องทำงานราชการโดยอาศัยความรู้วิทยาการใหม่ ๆ ทั้งสิ้น (knowledge base practice) เพราะทุกคนทุกตำแหน่งต้องปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อให้มีผลงานที่เป็นเลิศ(best practice) เพื่อพัฒนาส่วนราชการไปสู่ความเป็นเลิศ(excellence)ตามมาตรฐาน PMQA ของ กพร.ตังนั้น ทุกส่วนราชการต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(learning organization) มีการบริหารจัดการความรู้(knowledge management-KM) นโยบายการบริหารและพ้ฒนาทรัพยากรบุคคลภาครัฐทุกตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประจำ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว ก็ควรจะพัฒนาให้สอดคล้องกับภารกิจดังกล่าว คือทุกคนทุกตำแหน่งจะต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะ(competency)ตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ทั้งด้านความรู้(knowledge) ให้รู้กว้าง รู้ลึก รู้จริงในวิชาการวิชาชีพในตำแหน่งที่ตัวเองต้องรับผิดชอบ ด้านทักษะ(skill)และเจตคติ(attitude) เพื่อให้ทุกตำแหน่งเป็นคนทำงานราชการมืออาชีพ(profesional)ในระดับเซียนหรือแฟนพันธุ์แท้(expert) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นทีม(team work) ดังนั้นระบบการบริหารงานบุคคลภาครัฐจึงควรมีวิสัยทัศน์ให้คนทำงานภาครัฐในทุกตำแหน่งมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่รู้สึกแบ่งแยกเป็นข้าราชการประจำ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างชั่วคราว การ***รวมลูกจ้างประจำตำแหน่งที่ต้องอาศัยวุฒิการศึกษาตั้งแต่ระดับ ปวช.ขึ้นไป ให้เป็นข้าราชการทุกตำแหน่งน่าจะบังเกิดผลดีกับระบบราชการในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการทำงานราชการร่วมกันเป็นทีมเป็นอย่างมาก ในส่วนประเด็นของพนักงานราชการและลูกจ้างชั่วคราวนั้นไม่ควรจะเรียกว่าเป็นลูกจ้าง ควรจะ***ให้เป็นพนักงานราชการทั้งหมด ก็จะบังเกิดผลเช่นเดียวกัน
ผมเชื่อว่ายังมีคนที่อยากทำงานราชการรับใช้ชาติอีกประเภทหนึ่งที่มีความพร้อมในเรื่องของทรัพย์สินเงินทองพอเพียงอยู่แล้วแต่อยากใช้ความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยปฏิบัติราชการโดยไม่หวังไม่รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน  กพ.หรือ กพร.ควรจะร่วมมือกันผลักดันรัฐบาลรัฐสภาให้ออกเป็นพระราชบัญญัติกำหนดข้าราชการประเภทไม่รับค่าตอบแทนนี้ขึ้นมา เป็นนวัตกรรมใหม่อีกประเภทหนึ่งในวงราชการ เรียกว่าข้าราชการจิตอาสาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กำหนดให้ข้าราชการประเภทนี้มีคุณวุฒิ มีความสามารถ มีตำแหน่ง มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับข้าราชการประจำหรือพนักงานราชการ แต่รัฐไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าตอบแทนแก่ข้าราชการจิตอาสาฯ ประเภทนี้  แต่อาจจะมีสิทธิบ้างเล็ก ๆ น้อยในรูปนามธรรม ในเรื่องการแต่งเครื่องแบบหรือการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เช่นเดียวกับข้าราชการประจำทั่วไป ซึ่งผมเชื่อว่าภาคราชการจะได้มีทรัพยากรบุคคลที่ทำงานราชการโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนจริง ๆ อีกจำนวนมากมายในแผ่นดินนี้
sarit    4 มิถุนายน 2552 11:01:45    IP: 118.173.34.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th