1. การประเมินผลการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ในมิติที่ 2
มิติด้านคุณภาพการให้บริการ ได้กำหนดประเด็นการประเมินผลเกี่ยวกับการมีส่วน
ร่วมของประชาชน คือ ระดับความสำเร็จในการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ ซึ่งในการดำเนินการเรื่องนี้ให้ประสบความสำเร็จ ส่วนราชการจะต้องแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติราชการ โดยคณะทำงานภาคประชาชนร่วมกับส่วนราชการพิจารณาเลือกประเด็นที่จะนำมาดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 กำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด วิธีการวัดผล ระบบการจัดเก็บข้อมูล และร่วมกับส่วนราชการในการติดตามตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินการ
2. การแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน สามารถดำเนินการได้ดังนี้
2.1 วิเคราะห์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อแต่งตั้งเป็นคณะทำงานภาคประชาชนของหน่วยงานซึ่งมาจากภาคส่วนต่าง ๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน นักวิชาการ และ สื่อมวลชน เป็นต้น
2.2 กำหนดผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ในข้อ 2.1 ควรมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน มีจำนวนที่เหมาะสม และเป็นผู้ที่มีความสนใจในภารกิจของหน่วยงาน ทั้งนี้ฝ่ายเลขานุการคณะทำงานภาคประชาชน ควรเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินการของตัวชี้วัด
2.3 ร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชนเสนอฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยองค์ประกอบของคณะทำงาน ฯ (รายชื่อ และตำแหน่งในคณะทำงาน) และ อำนาจหน้าที่ (ดูจากรายละเอียดตามขั้นตอนที่ 2 ถึงขั้นตอนที่ 4 ของตัวชี้วัด)
2.4 ติดต่อทาบทามผู้แทนที่จะแต่งตั้งเป็นคณะทำงานภาคประชาชน
2.5 ภายหลังจากผู้บริหารลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานภาคประชาชน ให้เวียนคำสั่งดังกล่าวไปยังคณะทำงาน ฯ ทุกคนเพื่อทราบ พร้อมกับเผยแพร่ภายในส่วนราชการ และภายนอกส่วนราชการ เช่น Website หรือสื่อต่าง ๆ
*เป็นคำถามที่ถามมาทาง administrator |