Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

ปลูกป่า = ส่งเสริมอาชญากรรมทำลายชาติ ???


ปลูกป่า = ส่งเสริมอาชญากรรมทำลายชาติ ???

ดร.โสภณ พรโชคชัย (thaiappraisal@gmail.co)
12 ธันวาคม 2551
.
.
ภาพการปลูกป่าที่ดูน่ารัก - - แต่หารู้ไม่ มันช่วยให้อาชญกรได้หลบฉากสบาย ๆ
http://www.thairath.co.th/2550/newspic/gallerypicture/8267-6845.jpg
[img]http://www.thairath.co.th/2550/newspic/gallerypicture/8267-6845.jpg[/img]
.
.
.
เพราะเราปลูกป่าได้ปีละเพียง 10,000 ไร่ แต่ป่าถูกทำลายปีละนับแสนไร่
ป่าที่ปลูกเสียเงินราว 500 ล้าน ตายไปเสียเท่าไหร่ก็ไม่รู้
เราปลูกป่าไปด้วยฝันว่าป่าไม้จะเพิ่มเพื่อลูกหลาน
แต่พอลืมตาตื่นกลับพบว่าป่าไม้ถูกทำลายไปหมดแล้ว
แฟชั่นการส่งเสริมการปลูกป่ากลับกลายเป็นการปกปิดประชาชนไม่ให้รู้ความจริง
เอาเงินที่ใช้ทั้งหลายไปจ้างอาสาสมัครตรวจสอบป่า ดูแลป่าให้ทั่วถึงไม่ดีกว่าหรือ
.
.
.
สืบ นาคะเสถียร ยอมปลิดชีพตัวเองเพื่อกระตุ้นให้สังคมไทยตระหนักถึงปัญหาการบุกรุกทำลายป่าเมื่อ 18 ปีที่แล้ว นับเป็นวีรกรรมที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง แต่ถึงวันนี้ ผมหวั่นเกรงว่าความตายของคุณสืบอาจกลายเป็นความสูญเปล่าหรือไม่ เพื่อระลึกถึงการพลีชีพของคุณสืบ ผมจึงขอร่วมสนับสนุนการรักษาป่าไม้และร่วมต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งจะสร้างความวิบัติต่อประเทศชาติ
.
ที่ถามว่าคุณสืบตายเปล่าหรือไม่ก็เพราะ ตามข้อมูลปี 2533 ประเทศไทยมีป่าไม้อยู่ทั้งสิ้น 87,488,536 ไร่ หรือคิดเป็น 27.3% ของพื้นที่ประเทศไทย แต่หลังจากที่คุณสืบตายไป 9 ปี คือ ณ ปี 2542 ป่าไม้เหลืออยู่เพียง 80,610,219 ไร่ หรือคิดเป็น 25.1% ของพื้นที่ประเทศไทย พื้นที่ป่าไม้หายไปถึง 6,878,317 ไร่ หรือเท่ากับ 7 เท่าของขนาดของกรุงเทพมหานคร
.
ถ้าหากเจาะลึกไปเฉพาะจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนหนึ่งของป่าห้วยขาแข้งจะพบว่า ในปี 2533 ที่คุณสืบเสียชีวิตนั้น ยังมีพื้นที่ป่าไม้อยู่ 1,686,863 ไร่ แต่พอถึงปี 2542 หรือ 9 ปีหลังจากนั้น พื้นที่ป่าหายไปเหลือ 1,610,219 ไร่ หรือหายไป 76,644 ไร่ หรือเท่ากับประมาณ 213 เท่าของขนาดสวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร หรือเท่ากับการสูญเสียพื้นที่ป่าประมาณขนาด 24 เท่าของสวนลุมพินีในแต่ละปีในจังหวัดอุทัยธานีที่คุณสืบเสียสละชีวิตเพื่อปกป้องป่า
.
.
ภาพป่าไม้ถูกตัด
http://www.rakmuangthai.com/pr1/htdocs/uploads/ca2fed9c-937e-c607.jpg
[img]http://www.rakmuangthai.com/pr1/htdocs/uploads/ca2fed9c-937e-c607.jpg[/img]
.
.
พื้นที่ป่าไม้นับแต่หลังปี 2543 กลับมีขนาดเพิ่มขึ้น ซึ่งคงเป็นเพราะการนับรวมพื้นที่บางส่วนของ พื้นที่นอกการเกษตร เดิมให้ถือเป็นป่า จึงทำให้ป่าในปี 2548 กลับมีพื้นที่เพิ่มเป็น 32.7% จาก 25.1% ในปี 2542 อย่างไรก็ตามหากเอาอัตราการลดของพื้นที่ป่าแต่เดิม โดยพิจารณาจากอัตราการลดล่าสุด 4 ปีสุดท้าย (ปี 2539-2542) ของข้อิม อาจประมาณการได้ว่าพื้นที่ป่าไม้ในขณะนี้น่าจะลดลงเหลือเพียง 24% ของพื้นที่ประเทศไทย อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ป่าไม้ของไทยลดลงไปถึง 578,121 ไร่ต่อปี
.
หากคิดบนฐานเดียวกันนี้ พื้นที่ป่าในจังหวัดอุทัยธานี น่าจะเหลือเพียง 1,589,355 ไร่ หรือ 37.8% ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรืออาจกล่าวได้ว่า พื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดนี้ลดลงในช่วงปี 2533-2551 ถึง 97,508 ไร่ หรือเท่ากับหนึ่งในสิบของขนาดของกรุงเทพมหานคร
.
จากตัวเลขข้างต้นนี้ จึงทำให้อดคิดไม่ได้ว่าเราสูญเสียคุณสืบไปเปล่า ๆ หรือไม่ ทำไมป่าจึงยังถูกทำลายอยู่แทบทุกวันไม่ขาดสาย
.
สิ่งที่ควรทบทวนอีกประการหนึ่งก็คือ กิจกรรมที่เราคิดว่าเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของคุณสืบนั้น เป็นสิ่งที่เหมาะสมหรือไม่ เช่น การปลูกป่า ที่ผ่านมามีคณะบุคคลมากมายปลูกป่ากันยกใหญ่ แต่แล้วได้ผลเพียงใด เป็นเพียงการทำตามแฟชั่นหรือไม่
.
.
โปรดดูตารางการลดลงของป่าไม้ ที่
http://www.thaiappraisal.org/images/img_article/forest2.gif
[img]http://www.thaiappraisal.org/images/img_article/forest2.gif[/img]
.
.
ท่านทราบหรือไม่ การปลูกป่าในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานั้น รัฐบาลลงทุนไปปีละ 500 - 600 ล้านบาท แต่สามารถปลูกป่าทดแทนเพิ่มได้เพียง 10,000 ไร่ต่อปี ขณะที่สัดส่วนการหายไปของพื้นที่ป่ามีนับแสนไร่ต่อปี และเชื่อว่า ป่าที่ปลูกอย่างเป็นแฟชั่นนั้น อาจปลูกไม่รอดอีกไม่รู้จำนวนเท่าไหร่ ดังนั้นการปลูกป่าจึงอาจไม่ใช่แนวทางที่จะสืบทอดเจตนารมณ์อันบริสุทธิ์ของคุณสืบ
.
ในการแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่านั้น รัฐบาลควรเน้นการปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าด้วยมาตรการทางกฎหมายเป็นสำคัญ ไม่ใช่การให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการปลูกป่า หากฉุกคิดกันสักนิด การส่งเสริมการปลูกป่าอาจเท่ากับเป็นการบิดเบือนประเด็น ทำให้สังคมส่วนรวมไม่มีโอกาสตระหนักถึงความจริงที่ทรัพยากรของประเทศถูกทำลายลงไปทุกวันเพราะหลงนึกว่าป่าสามารถปลูกเสริมแทนพอกัน
.
หากจะมีองค์กรพัฒนาเอกชนหรือ NGO (Non-governmental Organization) เพื่อช่วยประเทศชาติ ก็ควรเป็น NGO ที่เน้นบทบาทการ รายงาน-เปิดโปงการบุกรุกทำลายป่า มากกว่าการปลูกป่า ในการนี้คงไม่ใช่การส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานของ NGO ไปแลกชีวิตกับอาชญากร แต่หากไม่กล้าลงพื้นที่ไปตรวจสอบจริง ๆ ทาง NGO ก็อาจร่วมกันระดมทุนบริจาคเพื่อจ้าง มืออาชีพ ไปสำรวจแล้วทางผู้ปฏิบัติงาน NGO ในสำนักงานค่อยมาเขียนรายงานเปิดโปงต่อสังคม เชื่อว่าการทำเช่นนี้คงช่วยปรามการบุกรุกป่าได้ชะงัดทีเดียว
.
เราควรเข้าใจให้ชัดเจนว่า การปลูกป่านั้น แม้ผู้ปลูกจะมีาที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติ แต่ความดีที่บังเกิดนั้น ไม่ใช่ได้กับประเทศชาติเพราะเป็นการกระทำที่บิดเบือนและไม่มีประสิทธิผล ความดีนั้นบังเกิดกับคนทำดีเอาหน้ามากกว่ากับป่าไม้ของชาติ
.
ป่าของไทยเราถูกทำลายไปมากมาย คุณสืบ นาคะเสถียร ยอมตายเพื่อพิทักษ์ป่า นับเป็นการสละชีพเพื่อชาติโดยแท้ แต่ต่อให้ตายอีกนับสิบ สืบ ป่าก็ยังคงร่อยหรอลงทุกวัน หากเราไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายจัดการกับอาชญากรผู้ตัดไม้ทำลายป่า
.
อ้างอิง
.
คุณสืบ นาคะเสถียร เป็นหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่พยายามปกป้องป่าอย่างเข้มแข็ง แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการบุกรุกของกลุ่มผู้แสวงหาผลประโยชน์ได้ จนในที่สุดตัดสินใจปลิดชีพตัวเองเพื่อกระตุ้นให้สังคมตระหนักถึงปัญหานี้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2533 โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/สืบ_นาคะเสถียร หรือที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร http://www.seub.or.th/index/seub/seub_16.html
.
โปรดดู http://th.wikipedia.org/wiki/สวนลุมพินี
.
ข่าว ทส.ปลูกป่าเหลวสูญงบปีละ 500 ล้านแต่ป่าหายปีละแสนไร่ กรุงเทพธุรกิจ 28 มีนาคม 2550 http://www.bangkokbiznews.com/2007/03/28/WW55_5507_news.php?newsid=61602
.
.
อ่านบทความนี้และอื่น ๆ ได้ที่
http://www.thaiappraisal.org/Thai/Market/marketbuy.php
มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย
Knowledge Is Not Private Property
pornchokchai    13 ธันวาคม 2551 13:27:21    IP: 58.8.222.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th