ถ้ากล่าวถึงประเทศที่ด้อยพัฒนา ประเทศกำลังจะพัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา ผมคิดว่า ความเจริญเติบโต ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ ที่พิจารณาตามค่าใช้จ่ายภาครัฐ ซึ่งมีความแปรผันตามกัน คือ ค่าใช้จ่ายรัฐเพิ่มขึ้น ความจำเริญก็เติบโตตามไปด้วย ผมว่า ใช้ได้สำหรับประเทศที่กล่าวมาแล้ว
แต่ ผมกำลังคิดว่า ในยุคนี้ หาใช้ได้ไม่ ประชากรเพิ่มขึ้น อัตราการบริโภคเพิ่มขึ้น ทำให้ทรัพยากรเริ่มลดลงไป
ผมกำลังจะบอกว่า ทำอย่างไร เงินงบประมาณ ซึ่งเป็นทรัพย์สาธารณะ จะยังคงอยู่เท่าเดิม หรือหมดไปน้อยที่สุด แต่ทำให้ประเทศเจริญเติบโตขึ้น ผมจะขอเสนอแนวคิดที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายภาครัฐและเพิ่มความจำเริญให้กับประเทศ แนวคิด รัฐ ต้อง บริหารงบประมาณออกเป็น 3 ส่วน 1 ส่วนของการลงทุน 30 ส่วนที่สะสมทุน 30 และส่วนของค่าใช้จ่ายโดยไม่กลับมาเป็นทุน(ใช้หมดไป) 40 วิธีการ แนวคิดต่อมา การมืส่วนร่วมทางงบประมาณ
กล่าวคือ จะอาศัยกองทุนหมู่บ้าน ที่มีในปัจจุบันนี่หละครับ
เป็นตัวแปลงงบประมาณให้เป็นทุน ผมคิดว่าภายนะรยะเวลา 3 - 5 ปี รัฐไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายไปสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจในระดับชุมชน
วิธีแปลงทุน
สมมติ กรมวิชาการเกษตร ได้เงินงบประมาณ 1,000,000 บาท เพื่อส่งเสริมเลี้ยงโค กรมวิชาการเกษตรก็ไม่ต้องไปซื้อโค ตรงกันข้าม โอนเงินเข้ากองทุนหมู่บ้าน เช่น บ้าน ก. ได้ไป 100,000 บาท ก็โอนเข้าไปกองทุน 100,000 บาท ให้กองทุนบริหารเอง โดยเงื่อนไขว่า ชาวบ้านในหมู่บ้านที่รับการจัดสรรจะต้องคืนทุนให้กับกองทุน (โดยไม่มีดอกเบี้ย)
ผลที่ได้ คือ ชาวบ้านได้โค และมีรายได้ เมื่อขายโค เงินทุนก็เวียนเข้ามากองทุน
และต่อมา สมมติ กรมพัฒนาชุมชน สนับสนุนกลุ่มแม่บ้านเพื่อตัดเย็บกระเป๋า ฯลฯ ได้รับเงินงบประมาณ เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน ก. อีก 200,000 บาท กรมพัฒนาชุมชน ก็โอนเงินเข้ากองทุนเช่นกัน และดำเนินการเช่น กรมวิชาการเกษตร
รวมแล้ว ปีงบประมาณ นี้ หมู่บ้าน ก. มีเงิน 300,000 บาท
ผลคือ ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
เข้าถึงว่า ตัวเองได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาหมู่บ้านตนเอง
การควบคุม ให้แต่ละกรมทำการติดตามผลการดำเนินการของกองทุน
สิ่งที่เกิด จะก่อให้เกิดความยั่งยืน
ประเทศ ประยัดค่าใช้จ่าย
ผมไม่เชื่อหรอกว่า ครอบครัวที่มีลูกไม่มีรายได้ จะดีกว่าครอบครัวที่มีลูกที่มีรายได้
|