**เป็นกระทู้ที่ท่านหนึ่งถามมาทาง Administrator
ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต มีกรมบัญชีกลางเป็นเจ้าภาพในการจัดทำรายละเอียดและสนับสนุนให้ส่วนราชการมีการดำเนินงาน โดยรายละเอียดจากตัวชี้วัดพิจารณาจากความสำเร็จของการจัดทำต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ซึ่งหมายถึง การที่ส่วนราชการสามารถจัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตตามภารกิจหลักได้ โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน เป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับ ดังนี้
ระดับ 1 มีฐานข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับผลผลิต กิจกรรม ศูนย์ต้นทุน ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับผลผลิต และเกณฑ์การปันส่วนต้นทุน
ระดับ 2 จัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตของปีงบประมาณ พ.ศ.2548 และปีงบประมาณ พ.ศ.2549 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดได้แล้วเสร็จ และรายงานผล การคำนวณต้นทุนตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยเสนอให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก.พ.ร. รับทราบ
ระดับ 3 เปรียบเทียบผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ที่จัดทำขึ้นในขั้นตอนที่ 2 ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร พร้อมทั้งวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และจัดทำรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตได้แล้วเสร็จ
ระดับ 4 จัดทำบัญชีต้นทุนต่อหน่วยผลผลิตประจำงวด 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนดได้แล้วเสร็จ และรายงานผลการคำนวณต้นทุนตามรูปแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด โดยเสนอให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และสำนักงาน ก.พ.ร. รับทราบ
ระดับ 5 นำผลการดำเนินงานที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 ไปกำหนดแนวทางหรือแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
รายละเอียดและแนวทางการประเมินผลสามารถ download ได้จาก website ของสำนักงาน ก.พ.ร. (www.opdc.go.th)
ขอขอบคุณ
|