Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

คำรัยรองการปฏิบัติราชการ


อยากทราบว่า ตั้งแต่มีการนำระบบการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการมาใช้ในการประเมินผลการปกิบัติราชการของข้าราชการนั้น  มีการเปลี่ยนแปลงอย่าไงรบ้างในระบบราชการ  และมีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง  กพร. เคยทราบบ้างหรือไม่  และมีการประเมินผลการนำระบบนี้มาใช้หรือไม่  เพราะเท่าที่มาเป็นการเพิ่มภาระงานในการจัดเก็บจัดทำเอกสาร มากกว่า สู้เอาเวลาไปทำงานด้านอื่นจะดีกว่า  ยิ่งมาปีนี้ลงสู่ระดับบุคคล ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาในการวัดผลการปฏิบัติงานในแต่ละราย เพราะลักษณะงานของแต่ละบุคคลแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  ถ้าอย่างไร  ขอผู้รู้ช่วยชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการนำระบบน้มาใช้ด้วย  และแนวทางในการปรับปรุงระบบการประเมินผลด้วย
phongtu    12 กุมภาพันธ์ 2551 11:02:23    IP: 202.129.59.xxx

ความเห็นที่ 1
ก็ เห็น กพร เขาก็ประเมินอยู่เรื่อยๆ แล้วภาพรวมของการทำงานก็ค่อนข้างดีขึ้นนะครับ
การจัดทำจัดเก็บเอกสาร ก็ทำให้ระบบการรายงานผลการทำงานของหน่วยงานดีขึ้นนี่ครับ

ยิ่งประเมินลงระดับบุคคลยิ่งดี คนทำงานจริงๆ จะได้มีโอกาสมากกว่าพวกที่เลีย เพราะตานี้จะมี KPI ของใครของมันเห็นๆ ส่วนงานที่ว่าเป็นงานไม่ใช่งานยุทธศาสตร์ หน่วยงานคุณก็ต้องตั้ง KPI ของกระบวนงานสนับสนุนขึ้นมาสิครับ
เขาไม่ได้ห้ามเลย ทีนี้ใครไม่ทำงานก็เห็นกันจะๆ ไปเลย ผมล่ะโคตรชอบ
JoStar    13 กุมภาพันธ์ 2551 09:57:08    IP: 203.185.68.xxx

ความเห็นที่ 2
เรียน phongtu
       ขอบคุณสำหรับคำถามของคุณ phongtu  และความเห็นของคุณ JoStar  
       คำรับรองการปฏิบัติราชการในระบบราชการไทยเป็นเสมือนเครื่องมือแสดงความรับผิดชอบ (accountability) ของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ  ที่จะผลักดันให้ประชาชนผู้รับบริการของส่วนราชการได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล  ทำให้เกิดความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด  การประเมินสัมฤทธิผลของการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ  จำเป็นต้องมีข้อมูลหลักฐานเพื่อแสดงความมีอยู่จริงและความน่าเชื่อถือให้กับ
ส่วนราชการนั้น ๆ  การดำเนินการนี้จะไม่สร้างภาระงานเพิ่มขึ้น หากส่วนราชการมีระบบข้อมูลสารสนเทศที่ดีอยู่แล้ว
       มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับงานราชการหลายประการ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลมาจากการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ  และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนเพราะได้รับบริการที่รวดเร็ว  สะดวกยิ่งขึ้น  อาทิ  การพัฒนารูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย เช่น มีศูนย์บริการร่วม มีการให้บริการในวันหยุด การบริการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือมีแบบสอบถาึงพอใจ
         ท่านใดที่สนใจอยากทราบผลการประเมินการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ  เชิญดูได้ที่ http://www.opdc.go.th/index.php  ในเมนูทางขวามือ  สำนักงาน ก.พ.ร. รวบรวมผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ตั้งแต่ พ.ศ. 2548  แสดงไว้ โดยจำแนกเป็นส่วนราชการ จังหวัด  และสถาบันอุดมศึกษาที่จัดทำคำรับรองการปฏิบัติรชการ
         สำหรับการประเมินผลระดับบุคคล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 สำนักงาน ก.พ.ร.สนับสนุนให้ส่วนราชการมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล  โดยระดับบุคคลในที่นี้ หมายเฉพาะผู้บริหารระดับสำนัก/กอง  ไม่ลงไปถึงระดับเจ้าหน้าที่  เนื่องจากมีแนวคิดว่าเมื่อส่วนราชการมีการจัดทำคำรับรองฯ ทำให้มีตัวชี้วัดระดับองค์กรแล้ว  ควรมีการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายดังกล่าวไปสู่ผู้บริหารระดับรองลงไป เพื่อเป็นเครื่องมือของส่วน-ราชการในการผลักดันให้ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติราชการบรรลุผล
           ตัวอย่างของตัวชี้วัดระดับบุคคลสามารถดูได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าวข้างต้น โดยเลือกเมนูทางขวามือ ตัวอย่างคำรับรองฯ ของส่วนราชการ/จังหวัด >>ระดับควสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล  ข้อมูลที่ปรากฏเป็นเว็บลิงค์ของส่วนราชการที่มีผลการดำเนินงานดี  และยินดีเผยแพร่สู่สาธารณะ  ผู้สนใจจะได้เห็นตัวอย่างตัวชี้วัดของหน่วยงานที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน ทั้งที่เป็นงานหลักและงานสนับสนุน เช่น งานแผน งานฝึกอบรม งานการเจ้าหน้าที่ งานเลขานุการกรม เป็นต้น
          ถ้าสนใจการจัดทำตัวชี้วัดระดับบุคคลสามารถดูตัวอย่างการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคลของจังหวัดปทุมธานีและกรมคุมประพฤติ สามารถดาวน์โหลดเอกสารดังกล่าวได้ที่เว็บไซต์สำนักงาน ก.พ.ร.
http://oldweb.opdc.go.th/News/webnewsdetail.php?status=edit&code=00000144
 
http://oldweb.opdc.go.th/News/webnewsdetail.php?status=edit&code=00000143

ขอขอบคุณ
opdc    25 กุมภาพันธ์ 2551 10:32:44    IP: 203.185.154.xxx

ความเห็นที่ 3
ขอคุณสำหรับคำตอบนะครับ  และมีเรื่องขอรบกวนอีกเรื่องหนึ่ง  คือ จะทำอย่างไรได้บ้างให้เครื่องมือทุกชนิดที่สำนักงบประมาณ กพร.หรือ ก.พ. นำมาใช้ในการตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ  นั้นเป็นเครื่องมือเดียวกันและสามารถวัดผลการปฏิบัติราชการได้มากกว่าหนึ่งตัว  อาทิเช่น  part ของสำนักงานงบประมาณ,  PMQA ของก.พ.ร.,HR SCORECARD ของ ก.พ. เป็นต้น  ทั้งนี้ เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  
phongtu    9 มีนาคม 2551 22:03:16    IP: 58.9.42.xxx

ความเห็นที่ 4
เห็นด้วยกับความคิดเห็นที่ ๓ การกำหนดอะไรก็แล้วแต่ออกมาให้ปฏิบัติในเชิงบูรณาการควรจะเป็นแนวทางเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกของผู้ปฏิบัติ และไม่เกิดความเบื่อหน่าย
george_ta8    25 มีนาคม 2551 14:53:27    IP: 61.19.220.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th