Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

จะประเมินผลการปฏิบัติราชการโดยไม่เพิ่มภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่มากเกินไป


การจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการและการประเมินผลการปฏิบัติราชการเป้นเรื่องดีสมควรต้องดำเนินการ แต่การจะประเมินผลการปฏิบัติราชการจะต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระงานให้กับผู้ปฏิบัติอย่างมโหฬารขนาดนี้ การมีจำนวนตัวชี้วัดมากอาจจะทำให้การถ่วงน้ำหนักกระจายกันไป แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มภาระงานเสียจนกระทบกับงานประจำ เมื่อมีตัวชี้วัดหลายตัว ผ้ที่รับผิดชอบตัวชี้วัดก็ต้องกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้ได้คะแนน ขั้นตอนที่ชอบกันนักหนาและงายที่สุดก็คือ จัดทำค่มือ การประชุมถ่ายทอด ชี้แจง สัมมนา ปีที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ต้องไปเข้าร่วมการประชุม สัมมนา ทั้งในหน่วยงานของตนเองจัดและหน่วยอื่น ๆจัด จนมั่วไปหมด ไม่รู้งบประมาณที่จัดสัมมนา งบประมาณค่าใช้จ่ายเดินทางเมื่อเทียบ กับโบนัสที่ได้ไม่กี่บาท แล้วมันจะจูงใจอะไรได้   ถ้าทำแบบนี้ยังไงก็ได้คะแนนการประเมินดี แต่ข้อเท็จจริงไส้มันกลวง อยากให้นักวิชาการ (จริง ๆ) ช่วยทำวิจัยเรื่องนี้ว่ามันคุ้มค่ากับการลงทุนของรัฐหรือเปล่า  
จริงใจ    3 พฤศจิกายน 2550 01:47:16    IP: 203.113.35.xxx

ความเห็นที่ 1
เรียนคุณจริงใจ
  ขอบคุณมากสำหรับความเห็นนี้  สำนักงาน ก.พ.ร. ยินดีรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้การทำงานตอบสนองความต้องการของราชการและประโยชน์สุขของประชาชนอย่างแท้จริง
         การพัฒนาระบบราชการต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยความร่วมมือของ    ส่วนราชการทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติทุกระดับ ซึ่งต้องมีการดำเนินการด้วยความเข้าใจ มีความรู้และความสามารถในการพัฒนางานราชการให้เกิดประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และเกิดประโยชน์กับประชาชนดังกล่าว
            การปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนราชการต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือนำเทคนิคการบริหารผลการปฏิบัติราชการสมัยใหม่มาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพและความพพอใจของประชาชนผู้รับบริการ เช่น  KM,   PMQA  ต้นทุนต่อหน่วยผลผลิต หรือ Individual Scorecard เป็นต้น  ซึ่งในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีการจัดประชุม สัมมนาเพื่อทำความเข้าใจร่วมกัน หากมีการบูรณาการแผนจากผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดต่าง ๆ  และจัดประชุมชี้แจงตัวชี้วัดไปพร้อมกันในคราวเดียว จะช่วยลดความซ้ำซ้อนและค่าใช้จ่ายลงได้
              การประเมินผลการปฏิบัติราชการจัดเป็นระบบที่ทำให้ส่วนราชการทราบผลการดำเนินงานของตนเอง มีข้อมูลในการปรับปรุงตนเองให้บรรลุเป้าหมายของส่วนราชการ   ซึ่งการดำเนินการตามระบบการประเมินผลจึงต้องมีการสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การฝึกอบรม สัมมนา หรือประชุมชี้แจงเป็นการทำให้เกิดการเรียนรู้  ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรในะยะยาว  สำนักงาน ก.พ.ร. สนับสนุนให้       ส่วนราชการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงต้นทุนและผลลัพธ์ที่ได้  มิใช่การดำเนินการเพียงเพื่อการประเมินผลเฉพาะหน้า เพื่อความคุ้มค่าของภาษีประชาชน
              ในการนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้พยายามจัดหาวิธีการต่าง ๆ ในการเผยแพร่และสร้างความเข้าใจให้ทั่วถึงทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในทุกส่วนราชการ ซึ่งวิธีการอาจเป็นที่พึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ   สำนักงาน ก.พ.ร. ยินดีเสมอที่จะรับฟังข้อเสนอแนะที่ดี ๆ เพื่อจะได้นำไปปฏิบัติให้เป็นที่พึงพอใจของข้าราชการโดยรวม

        ขอขอบคุณ
opdc    12 พฤศจิกายน 2550 16:42:18    IP: 203.185.154.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th