Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

ความยุติธรรม หมายถึง ความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล


ศาลจังหวัดชัยบาดาล เลขที่ ๑๙๙ หมู่ที่ ๔ ต.ห้วยหิน อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ๐๓๖ - ๔๒๕๘๑๘ -๒๑ ,๐๓๖-๔๒๕๘๒๐-๑
สนง.อัยการจังหวัดชัยบาดาล หมู่ที่ ๔ ต.ห้วยหิน อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ๑๕๑๓๐ โทร ๐๓๖-๔๒๕๕๖๗ ,๐๓๖-๔๕๖๗๐๑

Criminal Justice Administration
การบริหารงานยุติธรรมโดยส่วนใหญ่เป็นการบริหารงานราชการอย่างหนึ่ง ประกอบด้วยระบบงานที่สำคัญ คือ
ตำรวจ http://www.police.go.th
ทนายความ http://www.lawyerscouncil.or.th
อัยการ http://www.ago.go.th
ศาล http://www.judiciary.go.th
http://www.moj.go.th/
คุมประพฤติ http://www.probation.go.th
ราชทัณฑ์ http://www.correct.go.th/thai.htm
การบริหารงานยุติธรรมยังครอบคลุมถึงการประสานงานในกระบวนการยุติธรรม การมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนหน่วยงานภาคเอกชนในกระบวนการยุติธรรม และการพัฒนางานยุติธรรมให้สอดคล้องกับภาวะความเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย
rangsan suprom    27 กันยายน 2550 12:16:39    IP: 202.28.120.xxx

ความเห็นที่ 1
( Van Ness & Crocker,2003 ) " กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ " ว่าหมายถึง วิธีการตอบสนองความขัดแย้ง พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และอาชญากรรมด้วยการทำให้สิ่งต่าง ๆ ถูกต้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ตระหนักถึงความขัดแย้งหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น เยียวยาความเสียหายทั้งทางร่างกายและความสัมพันธ์ให้มากที่สุดและสร้างแผนความรับผิดชอบหรือข้อตกลงที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้ขึ้นอีก กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์หมายรวมถึงโครงการ กระบวนการ และกระบวนวิธีที่ดำเนินการตามหลักการของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ด้วย

" กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ " (restorative justice) หมายถึง ปรัชญาแนวคิดและกระบวนวิธีปฏิบัติต่อความขัดแย้งพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ การกระทำกึ่งอาชญากรรม และอาชญากรรม ด้วยการคำนึงถึงเหยื่ออาชญากรรมและชุมชนผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นศูนย์กลางโดยกระบวนวิธีเชิงสมานฉันท์ (restorative justice process) จะสร้างความตะหนักต่อความขัดแย้งหรือความเสียหาย เยียวยาความเสียหายทั้งทางร่างกายและทรัพย์สินและความสัมพันธ์รวมทั้งสร้างแผนความรับผิดชอบหรือข้อตกลงเชิงป้องกันที่เป็นไปได้อันนำไปสู่ผลลัพธ์แห่งความสมานฉันท์ของสังคม (จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย, 2548: 47)

การประนีประนอมยอมความ (compromise) เป็นวิธีการระงับ " ข้อพิพาททางอาญา " นอกศาลวิธีหนึ่ง ซึ่งคู่กรณีทั้งสองฝ่ายทำการเจรจาตกลงกันเอง การตัดสินใจต่างๆ อยู่กับคู่กรณีโดยไม่มีบุคคลที่สามมาชี้แนะชี้นำในการตัดสินใจแต่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีที่จะเจรจาตกลงระงับข้อพิพาทกันเอง ซึ่งการระงับข้อพิพาทโดยวิธีนี้จะทำให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายสามารถรักษาสัมพันธภาพที่มีต่อกันได้หากตกลงกันสำเร็จ (กระทรวงยุติธรรม, 2544:3-4) ป.วิ.อ. 39(2) ว่า "ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป"

การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (conciliation) " การระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการไกล่เกลียหรือประนอมข้อพิพาท " หมายถึง การระงับข้อพิพาทที่ต้องมีคนกลางหรือบุคคลที่สามเข้ามามีบทบาทร่วมในการชักจูงคู่พิพาทให้หันหน้าเข้าหากัน ตลอดจนอาจจะต้องเป็นผู้เสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อพิพาทซึ่งเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย บุคคลที่เข้ามาทำหน้าที่นี้เรียกว่า "ผู้ไกล่เกลี่ย" โดยผู้ไกล่เกลี่ยอาจเป็นบุคคลหรือองค์กรก็ได้ขึ้นอยู่กับความยินยอมของคู่กรณีและระบบกฎหมายที่ใช้อยู่ว่าจะเปิดโอกาสให้เพียงใด โดยคู่พิพาททั้งสองฝ่ายยอมผ่อนผันข้อเรียกร้องของตนและแต่ละฝ่ายจะได้สิทธิตามที่ไกล่เกลี่ยหรือประนอมยอมความกันนั้นแทน และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีลักษณะสำคัญ คือ ผู้ไกล่เกลี่ยจะไม่เข้าไปตัดสินชี้ขาดข้อพิพาท แต่อาจเข้าร่วมเจรจาประนีประนอมด้วยหรือเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมให้คู่พิพาทตัดสินใจกันเอง ข้อเสนอของผู้ไกล่เกลี่ยไม่มีผลผูกพันคู่พิพาทที่จะต้องปฏิบัติตาม (กระทรวงยุติธรรม, 2544 :3-4; ศิริศักดิ์ ติยะพรรณ, 2534: 13)

การประนอมข้อพิพาททางอาญา (criminal mediation) หมายถึง กระบวนการที่ให้คนกลางหรือบุคคลที่สามแทรกเข้ามาเป็นตัวกลางระหว่างคู่กรณีพิพาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะช่วยชักนำ ส่งเสริมและสนับสนุนให้คู่กรณีพิพาทซึ่งมีกรณีพิพาททางอาญาประเภทที่กฎหมายเปิดช่องให้คู่กรณีสามารถระงับข้อพิพาทกันเองได้โดยไม่ต้องนำคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือประเภทที่ต้องถูกบังคับโดยกฎหมายให้เข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมแต่หากได้มีการพบและเจรจาและตกลงกันระหว่างผู้กระทำผิดและผู้เสียหายจากการกระทำนั้นแล้วก็อาจทำให้คดีความตามข้อพิพาทสามารถระงับลงได้โดยเร็วและเป็นประโยชน์โดยตรงกับคู่กรณีพิพาทที่ได้มาพบและเจรจาปรับความเข้าใจกันภายใต้บรรยากาศที่มีความเป็นมิตรโดยบุคคลที่มีความเป็นกลางและมีคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับของคู่กรณีพิพาทที่เข้ามาช่วยทำหน้าที่เข้าร่วมเจรจาหรือช่วยเสนอวิธีการ แนวทางหรือข้อตกลงที่เหมาะสมให้คู่กรณีพิจารณาตัดสินใจ ข้อเสนอของบุคคลดังกล่าวไม่มีผลผูกพันที่คู่พิพาทจะต้องปฎิบัติตาม ทั้งนี้เพื่อให้คู่กรณีพิพาทมีโอกาสกลับมาปองดองกันได้อีกครั้ง (สุภัทรา กรอุไร, 2543: 22-23)

การเรียบเรียงข้อเท็จจริงในการถามพยาน

ในทางปฏิบัติวิธีการถามพยานจะเป็นการนำให้พยานได้เล่าเรื่องราวว่าได้เห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความเกี่ยวในเรื่องที่จะให้การเป็นพยานนั้นอย่างไรบ้าง
1. สาเหตุที่ทำให้พยานได้เห็น ได้ยิน หรือได้ทราบเรื่องราวนั้น
2. วัน เวลา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์แห่งการได้เห็น ได้ยิน หรือได้ทราบเรื่องราว
3. บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือร่วมรู้เห็นเหตุการณ์
4. สภาพและลักษณะการเกิดและดำเนินไปอย่างไรของเหตุการณ์
5. ปฏิกิริยาหรือการกระทำของพยานในเหตุการณ์หรือภายหลังจากที่ได้เห็น ได้ยิน หรือได้ทราบเรื่องราว
6. ผลสรุปหรือผลลัพธ์ของเหตุการณ์นั้น

คำแนะนำในการเลือกทนายความ
1.ขอดูใบอนุญาตทนายความ
2.ถามทนายความว่า มีความสัมพันธ์ส่วนตัวอะไรกับบุคคลที่จะเป็นคู่ความกับตนหรือไม่?
3.สอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายในคดี และค่าทนายความ ค่าใช้จ่ายในศาล หากเป็นคดีแพ่ง ต้องวางเงินค่าขึ้นศาล เป็นเงินร้อยละ 2.5 ของทุนทรัพย์ที่พิพาทกัน และกำหนดค่าขึ้นศาลสูงสุดที่ศาล
จะเรียกไม่เกิน 200,000 บาท ถ้าเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์ ต้องวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม 200 บาท ค่าใบแต่งทนายความ 20 บาท ค่าคำร้อง
20 บาท คำขอ 10 บาท ค่าอ้างพยานเอกสารใบละ 5 บาท แต่ไม่เกิน 200 บาท ประมาณค่าคำร้อง คำขอ และค่าใช้จ่ายอื่นคดีละไม่เกิน 2,000 บาท
หากคดีมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอัตราเดียวกันข้างต้น และต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความ ที่ศาลสั่งให้ใช้แทนอีก
ฝ่ายหนึ่ง ไปวางศาลด้วย ในกรณีที่ตัวความเป็นผู้ยากจน ก็อาจขอให้ทนายความยื่นคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาได้ ซึ่งศาลจะมีคำสั่งให้ไต่สวนและ
มีคำสั่งต่อไป หากเป็นคดีอาญาไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาทั้งหมด
4.มอบคดีให้ทนายความ
5.ทำสัญญาจ้างว่าความ
6.การเก็บเอกสาร
7.การติดตามผลคดีอย่างใกล้ชิด
8.แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมทันที
9.วันนัดของศาล
10. มีปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับคดีให้สอบถามทนายความทันที
_________________
WebSite : http://rangsan.pantown.com ก่อตั้ง : ๒๐๐๕-๐๖-๒๑ ๑๒:๑๙:๑๑
E-Mail : rangsan_suprom@hotmail.com
http://www.msn.co.th
E-Mail : rangsan_suprom@thaimail.com
http://www.thaimail.com
rangsan suprom    27 กันยายน 2550 12:20:08    IP: 202.28.120.xxx

ความเห็นที่ 2
พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546


มาตรา๖ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้

(๑)เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน

(๒)เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

(๓) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

(๔)ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

(๕)มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

(๖)ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

(๗)มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
rangsan suprom    27 กันยายน 2550 12:20:52    IP: 202.28.120.xxx

ความเห็นที่ 3
การควบคุมภายใน(Internal Audit) มีความสำคัญส่งผลต่อความสำเร็จขององค์การ แต่ผู้บริหารบางส่วนไม่ค่อยให้ความสำคัญ ดังนั้น กพร น่าจะกระตุ้นหรือติดตามพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการอบรมผู้บริหารให้มากกว่านี้ เพื่อให้การดำเนินการบรรลุประสงศ์เร็วขึ้น
banhan    27 กันยายน 2550 16:05:24    IP: 125.27.135.xxx

ความเห็นที่ 4
อบรมไปเถอะ  ถ้าผู้บริหารให้ความสำคัญหรือสนใจฟัง  ส่วนใหญ่จะเป็นการมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติไปฟังแล้วกับมาดำเนินการ  หรือไม่ผู้บริหารก็เข้าประชุมแต่ไม่ได้เรื่องอะไรกลับมาก็มอบหมายให้ลูกน้องดำเนินการ  จะให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรกัน  ขออภัยอาจจะเป็นเฉพาะผู้บริหารบางคนเท่านั้นเอง  ก็น่าเห็นใจผู้บริหารเพราะรับหน้าที่ประชุมอย่างเดียวไม่มีเวลาทำงาน  "เฮ้อ....น่าสงสาร  ก.พ.ร.  ที่พยายามจะพัฒนาระบบราชการให้มันดี  เอาใจช่วย"
yaovaluck    8 ตุลาคม 2550 12:23:09    IP: 125.27.212.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th