หลายเดือนที่ผ่านมานี้เพื่อนๆคงได้ยินคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงมาไม่มากก็น้อย ซึ่งแต่ละคนก็มีความเข้าใจลึกซึ้งทั้งสอดคล้อง และไม่สอดคล้องกัน บางคนเข้าใจการปลูกผัก เลี้ยงปลารับประทานเอง คือเศรษฐกิจพอเพียง บางคนเข้าใจว่าหลักการพอเพียงคือการทำบุญบริจาคของบริษัท วันก่อนผมก็บังเอิญได้ฟังข่าวสื่อต่างประเทศที่ยังเรียกระบบเศรษฐกิจพอเพียง ว่า self sufficiency economy วันนี้เลยขอถือโอกาสเสนอความเข้าใจต่อหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่ผมเข้าใจนะครับ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy คือพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราที่บูรณาการณ์องค์ความรู้หลักเศษฐศาสตร์ของนักเศรษฐศาสตร์ระดับ Nobel Prize ของหลายคนไว้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็น 3 หลัก คือ ความพอเพียง การมีภูมิคุ้มกัน และ ความมีเหตุมีผล และ 2 เงื่อนไข หรือสภาวะแวดล้อมของ ความรู้ และจริยธรรม กล่าวคือ
ความพอเพียง ตามความเข้าใจของผมอาจเทียบได้กับจุดตัดระหว่าง ความต้องการหรือดีมานต์ (Demand) กับทรัพยากรหรือซัพพายย์ (supply) ที่มี หรือที่เราเรียกว่าจุดสมดุลหรือ Equilibrium point ตามหลักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งหากความต้องการมีมากกว่าทรัพยากรที่มีอยู่ก็จะเกิดส่วนเกินความต้องการ (excess demand) ในทางตรงกันข้าม หากมีซัพพายย์ที่มากกว่าความต้องการจะเกิด (excess supply) ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ผมถือว่าไม่มีความพอเพียง และตามหลักเศรษฐศาสตร์ ตลาดจะปรับตัวเข้าสู่สภาวะสมดุลอีกครั้ง ตัวอย่างเช่นการเกิดความต้องการส่วนเกินหรือ excess demand ตลาดจะปรับตัวโดยมีได้สามแนวทาง(หากไม่แทรกแทรง) คือ หนึ่ง การปรับตัวขึ้น(shift) ของเส้น supply ให้เข้าสู่จุดสมดุลอีกครั้งหรือหลักการเพิ่มรายได้ เพิ่มผลผลิต สอง คือการปรับลดลงของเส้นdemand หรือการลดรายจ่าย และสามคือการทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป คือการปรับขึ้นของเส้น supply และปรับลดลงของเส้น demand คือการเพิ่มขึ้นของรายได้ควบคู่กับการลดลงของรายจ่าย
แต่การปรับตัวของdemand และ supply ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ยังต้องขึ้นกับอีก 2 หลักคือ
การมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งภูมิคุ้มกันนี้ตามหลักธุรกิจก็คือรพิจารณาความเสี่ยง(Risk assessment) และการป้องกันความเสี่ยง เช่นหาก บ เป็นบริษัทนำเข้าส่งออก ก็จะมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแรกเปลี่ยนทั้งการทำ SWOP หรือ FORWARD เป็นต้น หรือการdiversify products ของบริษัทไม่ขึ้นอยู่กับการขายของผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งมากจนเกินไป การมีทุนเป็นของตนเองอย่างเหมาะสมไม่พึ่งพิงเงิน***้ยืมมากเกินไป (D/E ratio) ซึ่งหากเป็นภาคประชาชน การมีภูมิคุ้มกันเช่นการมีเงินออม หรือเงินฝากไม่น้อยกว่า 6 เท่าของค่าใช้จ่ายปัจจุบันหากเปิดภาวะความต้องการใช้เงินอย่างเร่งด่วน รวมถึงโครงการต่างๆของรัฐในการดำรงชีพพื้นฐานแก่ประชาชนเช่นปลูกผัก เลี่ยงปลาเป็นต้น
และสามความมีเหตุมีผล ซึ่งก็คือก่อนการลงมือทำอันใดก็ตาม ต้องมีการศึกษาข้อมูลอย่างแท้จริง มีการทำวิจัยความต้องการของตลาด(Research) ข้อมูลภาวะตลาด การแข่งขัน คู่แข่ง ปัจจัยภายใน ปัจจุยภายนอก หรือโดยรวมหลักของฝรั่งตัวอย่างก็คงเรียกว่า 5 Forces ของ Michael E Porter เป็นต้น
ซึ่งหากยกตัวอย่างที่สอดคล้องกับทั้ง 3 หลักการ (ความพอเพียง การมีภูมิคุ้มกัน และการมีเหตุมีผล) ตัวอย่างเช่น บริษัท A มีความสามารถผลิต สินค้า ได้ 100 ชิ้นหรือปลูกพืชได้ 100 ไร่ แต่ ความต้องการของตลาดหรือ demand มีเพียง 80 ชิ้น บริษัท A สามารถทำได้ 3 อย่าง คือ 1 เพิ่ม demand หรือการหาตลาดใหม่เพิ่มขึ้นเช่นการหาตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการ หรือ 2 บริษัท A อาจลด supply ลง คือผลิตให้น้อยลงไม่ให้เกิดการผลิตที่เกินพอดีแล้วไม่มีตลาดลองรับ หรือวิธีที่ 3 หันไปผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่มีความต้องการในตลาดทดแทนอัตราการผลิตส่วนเกินนั้น
ซึ่ง การที่บริษัท A จะเลือกวิธีการที่ 1 2 หรือ 3 นั้น บริษัท A ก็ต้องใช้ความมีเหตุมีผลอย่างเต็มที่ มีการศึกษา หาข้อมูล ทำวิจัย และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ควบคู่กับการศึกษาป้องกันความเสี่ยงหรือการสร้างภูมิคุ้มกันด้านอัตราแลกเปลี่ยน ด้านสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลง หรือการไม่ผลิต ทุ่มปลูกแต่พืชเชิงเดี่ยวที่เค้าเรียกว่า Never Put All Your Eggs in One Basket
โดยทั้งหมดทั้ง 3 หลัก่เป็นส่วนประกอบของหลักการเศษฐกิจพอเพียงที่ต้องมีให้ครบ และต้องประกอบไปด้วยอีก 2 เงื่อนไขหรือ2 ภาวะแวดล้อม คือหนึ่งความมีคุณธรรม ไม่ประกอบธุรกิจที่ผิดกฎหมาย หรือเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ไม่ขายเกินราคา เป็นต้น และสองคือความรู้ กล่าวคือมีการใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา (Continuous Learning) ไม่ใช่ พอล่ะ เรียนแค่นี้พอ พอเพียง ไม่ใช่อย่างนั้น
ดังนั้นหากพิจารณาจากข้างต้นแล้วจะเห็นว่าความพอเพียงก็คือ definition ของคำว่าพอ ซึ่ง คำว่า พอ คือพื้นฐานของคนที่เป็นคนดี พระองค์ท่านคงหมายถึงอย่างนี้
และหลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ต่อต้านระบบตลาด หรือ ระบบ Market Economy แต่หลักเศรษฐกิจพอเพียงคือพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเราที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อเศรษฐศาสตร์ของประเทศไทยและชาวต่างชาติทั้งหลาย และท่านได้ทรงที่บูรณาการองค์ความรู้ทั้งหลายทั้งที่เป็นจุดแข๊งและลดจุดอ่อนของแต่ละท่านเข้าไว้ด้วยกัน และอธิบายทั้งหมดไว้ที่เราเรียกว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เราก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงในสภาวะแวดล้อมในปัจจุบันและในอนาคต
ขอออกตัวก่อนนะครับ นี่คือข้อความที่ผมเข้าใจต่อหลักการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งหากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้และครั้งหน้าเรามาพิจารณาโครงการของรัฐ ว่าจะเป็นไปตามปรัชญาพอเพียงดังที่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นเข้าใจหรือไม่กันครับ
นักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่
|