Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

เปรียบดังอาชีพรับจ้างขนหินถมทะเล


สภาวะการทำงานของข้าราชการ ถ้าจะให้ผมเปรียบ ผมจะเปรียบดังอาชีพรับจ้างขนหินถมทะเล เนื่องจากถมเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักเต็ม ทำงานเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักหมด (งานไม่รู้จักหมด) จึงอยากจะเล่านิทานเรื่องหนึ่งให้ฟังเชิงเปรียบเทียบ ดังนี้  มีบริษัทหนึ่งรับจ้างขนหินถมทะเล โดยมีพนักงานขนหินจำนวน 10 คน มีพนักงาน 1 คนหน้าที่ขับรถนำหินมาส่งให้พนักงานที่ชายทะเล  อีก 4 ทำหน้าที่ยกหินจากรถไปถมทะเล (หินหนึ่งก้อนน้ำหนักก้อนละ 5 กิโลกรัมขึ้นไป) อีก 4 คนทำหน้าที่เรียงหินที่ถมอยู่ในทะเล อีก 2 คนทำหน้าที่ส่งข้าวส่งน้ำและบริการทั่วไปให้พนักงานทั้งหมด พนักงานต่างก็ทำงานกันตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ และมีความเหน็ดเหนื่อยแทบทุกวัน แต่ก็มีความสุขดี อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าของบริษัทต้องการรู้ว่าพนักงานในบริษัททำงานกันมีประสิทธิภาพดีแค่ไหน ใครบ้างที่ทำงานมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะมอบรางวัลให้เป็นกำลังใจ ก็เลยคิดหาวิธี และในที่สุดก็ได้เจอเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่สามารถวัดประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานได้ เครื่องมือชิ้นนี้มีน้ำหนักเท่ากันกับหิน 1 ก้อนที่นำไปถมทะเล เจ้าของบริษัทจึงได้นำมาแล้วสั่งให้พนักงานทุกคนนำเครื่องมือเหล่านี้ใส่เป้หรือกระเป๋าแล้วแบกไว้ขณะทำงานเพราะจะได้รู้ว่าทำงานมีประสิทธิภาพดีแค่ไหน........จบ........ท่านคิดว่าบริษัทนี้จะทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือไม่....... และถ้าเป็นท่านจะหาวิธีใดในการวัดได้ว่าพนักงานเหล่านี้ทำงานมีประสิทธิภาพ (ถามทุกท่านที่อ่าน)
totocom    16 พฤศจิกายน 2554 15:57:26    IP: 180.180.162.xxx

ความเห็นที่ 1
คิดว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นได้โดยคิดกระบวนวิธีการใหม่ ๆ ที่ให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม (พัฒนาที่ดีให้ดีกว่าเดิม) การจะวัดต้องหามาตรฐานที่มีประสิทธิภาพว่า งานชิ้นนี้ควรจะใช้เวลา กี่วัน กี่ชั่วโมง กี่นาที ฯลฯ แต่ละคนมีมีเวลาเป็นของตัวเองเท่าไร ถ้าแต่ละคนได้ตามมาตรฐานก็เอาคะแนนเต็มไปเลย ถ้างานชิ้นนี้ใช้เวลาไม่เป็นไปตามมาตรฐานก็ตรวจเช็คดูว่าใครไม่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดไว้ หรือใครดีกว่ามาตรฐานโดยใช้เวลาน้อยกว่ามาตรฐานและประสิทธิภาพเท่าเดิม ก็เอาคะแนนของคนที่ไม่ได้มาตรฐานไปเลย ฯลฯ ยุติธรรมดีค่ะ
drn    16 พฤศจิกายน 2554 21:14:47    IP: 223.206.40.xxx

ความเห็นที่ 2
มีข้อสังเกต
1. พนักงานแต่ละคนมีหน้าที่แตกต่างกัน คงใช้วิธีวัดแบบเดียวกันไม่ได้ เนื่องจากพนักงานที่ขับรถส่งหินแบกเครื่องมือไว้ก็ไม่มีประโยชน์วัดอะไรไม่ได้  และพนักงานที่เหลือ ทำงานมีประสิทธิภาพลดลงแน่นอน โดยเฉพาะพนักงานขนหินจากรถไปถมทะเล
  ซึ่งถ้าเปรียบเทียบเรื่องนี้กับการทำงานในระบบราชการที่ต้องมีการวัดส่วนราชการที่ทำหน้าที่หลากหลายแตกต่างกัน มีปัจจัยแวดล้อมต่างกัน แต่ใช้เครื่องมือวัดแบบเดียวกัน ก็อาจจะไม่สะท้อนประสิทธิภาพที่แท้จริงออกมา แต่อย่างไรก็ตามก็จะมีการกำหนดเกณฑ์/เงื่อนไขไว้เป็นกรณีๆไปเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับองค์กร

2. โจทย์ไม่ได้บอกว่า ได้มีการวิเคราะห์และวางแผนการทำงานไว้อย่างดีหรือไม่ (PDCA) เช่นการมอบหมายคนให้เหมาะกับงาน และกำหนดจำนวนคนแต่ละหน้าที่ให้เหมาะสม เช่น คนส่งข้าวส่งน้ำอาจใช้เพียงคนเดียว และคนขนหินกับคนเรียงหินต้องปรึกษาหารือกันให้ดีว่าจะใช้หินจำนวนเท่าไหร่ จะขนมาตรงไหน จะเรียงอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะแบ่งงานกันทำหรือทำร่วมกัน ซึ่งในช่วงแรกต้องใช้คนขนหินมากกว่าคนเรียงหิน ช่วงหลังก็ใช้คยเรียงหินมากกว่าขนหิน
     ซึ่งคงเปรียบเสมือนการจัดวางอัตรากำลังคนของส่วนราชการ บางกองสำนักงานน้อยคนมากนั่งว่าง บางหน่วยงานงานมากงานฝากงานนายงานจรแต่คนน้อย ความไม่มีประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นอยู่ที่คนนั่งว่างงาน เพราะอาจจะเป็นคนที่มีศักยภาพมากทำงานได้ตามหน้าที่ที่มอบหมาย  
    ดังนั้นประสิทธิภาพอาจไม่ขึ้นอยู่กับการวัดที่ตัวคนอย่างเดียวต้องวัดในภาพรวมของงานทั้งหมดด้วย นั่นหมายถึงต้องวัดทั้งในเชิงกระบวนการขั้นตอนหรือผลผลิตและวัดในเชิงผลลัพธ์ด้วย      
     ขอบคุณที่ตั้งกระทู้ให้ได้กระตุ้นเซลล์สมองหลังจากเจอวิกฤตน้ำท่วมไปหมาดๆ...(ยังไม่แห้งดี)  
              1 ความเห็น อาจสร้าง 10 ความคิด
    ขอเพียงแค่แปลงความคิดเป็นความเห็นแล้วแสดงมันออกมาเท่านั้น  
ramona    7 ธันวาคม 2554 09:38:34    IP: 202.57.155.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th