FAQ สำหรับการค้นหา
|
ภาษาไทย
|
English
|
Mobile
|
Help
|
Theme:
ปกติ
ปรับสีมืด
หน้าหลัก
|
ติดต่อ
|
ผังเว็บไซต์
|
ค้นหาข้อมูล
เกี่ยวกับ
ประวัติความเป็นมา
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ/คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ
สำนักงาน ก.พ.ร.
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
รายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและการสั่งการของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
รายงานประจำปี
การดำเนินงานกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม (CSR)
งานประชุมสัมมนาประจำปีของสำนักงาน ก.พ.ร.
ประเด็นยุทธศาสตร์
กฏหมายและระเบียบ
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ระเบียบ
ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
คำแถลงนโยบาย
บันทึกข้อความสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
หนังสือเวียน
สำนักงาน ก.พ.ร.
ก.น.จ.
ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ
ส่วนราชการ
จังหวัด
องค์การมหาชนและอื่นๆ
ศูนย์ความรู้
เอกสารเผยแพร่
คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองประจำปีงบประมาณ
คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ
วีดิทัศน์
เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.)
ยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
จดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงาน ก.พ.ร.
รางวัลฯ
ระบบราชการ 4.0
อินโฟกราฟิก
ประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวการจัดซื้อ-จัดจ้าง
ประกาศราคากลาง
ข่าวรับสมัครงาน
News Clipping
OPDC News
รายงานการเงิน
SMART ROOM
Share
เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน
พัฒนาระบบราชการไม่สำเร็จ
การพัฒนาระบบราชการจะไม่มีความสำเร็จ และจะไม่ได้คนหรือข้าราชการที่ดีตามที่ตั้งยุทธศาสตร์ไว้ 4 ข้อคือ
1.ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
2.มีส่วนร่วม
3.เก่ง
4.ดี
นี่แหละเป้าหมายของการพัฒนาระบบราชการ แต่ท่าน "มีเจตนาลบข้อความสำคัญทิ้ง" คือ ความเสมอภาค และความยุติธรรม ซึ่งควรจะเป็นข้อแรกในการพัฒนาระบบราชการ ไม่เข้าใจจริงๆ ท่านคิดอย่างไร แล้วจะหวังผลสำเร็จจากไหน ในเมื่อความยุติธรรม มันเป็นความต้องการอันดับแรกของมนุษยชาติ นอกจากนี้ท่านทั้งหลาย ที่เข้าอบรมหัวข้อ "ข้าราชการที่ดีในอนาคต"ของหน่วยงานต่างๆ ท่านลองไปเอาข้อมูลเนื้อหาที่ผู้รู้ซึ่งเป็นวิทยากรได้ลอกเรียนกันมา ไม่รู้เอามาจากไหน "ท่านก็มีเจตนาลบ ความเสมอภาค และความยุติธรรม ทิ้ง"ผมเองอบรมมาสองครั้ง เข้าร่วมประชุมก็หลายครั้งไม่เข้าใจจริงๆ มันหายไปไหน เปิดอ่านคู่มือก็หลายครั้งก็ไม่มี มาอ่านยุทธศาสตร์ของ ก.พ.ร. ก็ไม่มี เคยสอบถามวิทยากรระดับ ดร. ตอบว่า "มันมีอยู่แล้วในธรรมาภิบาล"กลับไปอ่านก็ไม่ใช่ ก.พ.ร. กรุณาตอบคำถามหัวข้อ "ความเสมอภาค และความยุติธรรม จะหาจากไหนจากการพัฒนาระบบราชการ" ให้ชื่นใจสักที กรุณาสละเวลาอันมีค่าตอบให้ได้ใจความและเป็นประโยคยาวๆ หรือเป็นบทความก็จะดีมาก ถ้าเนื้อที่ไม่อำนวยบอกที่อยู่บทความก็จะเป็นพระคุณอย่างสูง
yotasee
21 มิถุนายน 2554 00:40:12 IP: 118.173.177.xxx
ความเห็นที่ 1
เรียน คุณ yotasee
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีการส่งเสริมเรื่องความเสมอภาค และความยุติธรรม ในระบบราชการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากการส่งเสริมหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 อันประกอบด้วย ประสิทธิผล ประสิทธิผล ประสิทธิภาพ การตอบสนอง ภาระรับผิดชอบ ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ นิติธรรม ความเสมอภาค และการมุ่งเน้นฉันทามติ โดยนิติธรรม หมายถึง การใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และความเสมอภาค หมายถึง การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกันโดย ไม่มีการแบ่งแยกด้าน ชาย/หญิง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่ีน ๆ (รายละเอียดของเนื้อหาสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.opdc.go.th/uploads/files/gg_rating_book.pdf) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 >คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
อย่างไรก็ตาม การจะทำให้ความยุติธรรม และความเสมอภาพเกิดขึ้นในระบบราชการได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากข้าราชการทุกระดับและทุกฝ่ายร่วมกันสร้างให้เกิดขึ้น เพราะความยุติธรรม ความเสมอภาค ไม่สามารถแสวงหาได้จากการกระทำของคนใดคนหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ความยุติธรรมและความเสมอภาคจะเกิดขึ้นได้ ถ้าทุกฝ่ายตั้งใจและร่วมมือกันสร้างให้เกิดขึ้น โดยเริ่มต้นจากตัวเราเองสร้างให้เกิดขึ้นก่อน
สำนักงาน ก.พ.ร.
opdc
27 มิถุนายน 2554 11:19:58 IP: 203.185.154.xxx
ความเห็นที่ 2
หลักของความเสมอภาคและความยุติธรรม ได้บัญญัติเป็นกฎหมาย ใน พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 42(1),(2),(3)และ(4)
ซึ่งเป็นหลักการสำคัญใน พรบ.ดังกล่าว
แต่ในทางปฏิบัติของระบบราชการไทยยังปรากฎข้อเท็จจริงจำนวนไม่น้อยที่ไม่สอดคล้องกับหลักการของกฎหมายดังกล่าว
เราเคยได้ยินได้เห็นระบบเด็กฝากในโรงเรียนดัง ๆ ของทางราชการที่เรียกชื่อใหม่เสียโก้หรูว่าโควต้าผู้มีอุปการคุณ
เราเคยได้ยินระบบแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ที่ต้องจ่ายให้ผู้มีอำนาจเป็นเลขจำนวนเจ็ดหลักขึ้นไป
จนวีรบุรุษแห่งเทือกเขาบูโด อย่างจ่าเพียร ต้องจมปลักอยู่ในสมรภูมิจนวาระสุดท้ายของชีวิต
แค่ขอย้ายกลับบ้านกลับภูมิลำเนาเดิมไปอยู่กับครอบครัวก่อนเกษียณอายุราชการแค่ 1 ปี ก็ไม่สามารถทำได้
และเมื่อไม่นานมานี้ในการปรับเงินเดือนขั้นสูงขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือนเพิ่ม 5 % เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา
โดยอ้างหลักการและเหตุผลท้ายพระราชกฤษฎีกาในเรื่องของเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพสูงขึ้น
ข้าราชการพลเรือนสายวิชาการ วุฒิปริญญาตรีขึ้นไป ระดับล่างระดับปฏิบัติการและชำนาญการ ได้รับการปรับขั้นสูงเพิ่มขึ้น 10 %
ซึ่งก็น่าจะสอดคล้องกับหลักการเหตุผลที่อ้างถึง
เพราะข้าราชการระดับเหล่านี้ฐานเงินเดือนน้อย เมื่อเทียบเป็นเม็ดเงินออกมาก็เป็นจำนวนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับข้าราชการระดับสูง
แม้ครั้งแรกจะได้ปรับในอัตรา 5% เหมือนกัน แต่คนที่เงินเดือนเต็มขั้นสูงอยู่แล้วก็จะได้ไม่ตัน
มีโอกาสได้เพิ่มอีก 5% ในปีถัดไป
แต่ข้าราชการพลเรือนสายทั่วไป วุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ซึ่งฐานเงินเดือนต่ำกว่าสายวิชาการเสียอีก
ได้ปรับเงินเดือนขั้นสูงแค่ 5 %
คือปรับ 5% แล้วก็ตันเหมือนเดิม
เม็ดเงินที่ได้รับก็น้อยกว่า
จึงไม่น่าจะสอดคล้องกับหลักการและเหตุผลท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวที่อ้างถึงภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น
แต่ระบบราชการไทยก็สามารถทำได้เพราะน่าจะอาศัยหลักKUสำคัญกว่าหลักการ
ความเสมอภาคและความยุติธรรมในระบบราชการไทย
ถึงแม้ กพร.จะมิได้ลบออก
แต่ก็น่าจะเป็นได้แค่ตัวอักษรในกฎหมายฉบับต่าง ๆ แค่นั้นเอง
มิได้มีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง
sarit
28 มิถุนายน 2554 14:34:29 IP: 61.7.145.xxx
ความเห็นที่ 3
อยากให้ ก.พ.ร. ได้ประเมินผลว่าการพัฒนาระบบราชการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าได้สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ปฏิบัติงานในระดับผู้น้อยอย่างไรบ้าง เป็นไปตามจริงหรือไม่ที่ "ความเสมอภาคและความยุติในระบบราชการไทย จะเป็นแค่ตัวอักษรในกฎหมาย แต่ไม่ได้ผลในทางปฏิบัติจริง" ตามที่คุณ sarit กล่าว (อย่าปฏิเสธเลยว่ามันไม่จริง)
kk1081009
28 มิถุนายน 2554 22:02:05 IP: 110.49.227.xxx
ความเห็นที่ 4
สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีการส่งเสริมเรื่องความเสมอภาค และความยุติธรรม ในระบบราชการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน.......??????
" แม้ไม่ได้ทุกอย่างที่หวังไว้
ก็มั่นใจในคุณค่ามหาศาล
หนึ่งส่วนจากเศษฝันเมื่อวันวาน
อาจสร้างงานเกียรติยศปรากฎไกล..."
born
29 มิถุนายน 2554 21:00:23 IP: 182.53.98.xxx
ความเห็นที่ 5
ขอบคุณ ก.พ.ร.,คุณ opdc เป็นอย่างสูง
ได้อ่านข้อคิดเห็นแล้ว ทำงานไม่ได้ 3 วัน คิดอะไรไม่ออกจริงๆ แต่แสดงให้เห็นว่า ก.พ.ร.มีความสนใจปัญหาและติดตามอ่านข้อคิดเห็นจากเพื่อนสมาชิก ถึงแม้จะไม่ใช่การแก้ปัญหาโดยตรงแต่พอทราบได้ ว่าท่านทราบว่าปัญหา ความเสมอภาคและความยุติธรรมในระบบปัจจุบันมีจริงๆ หวังว่าคงเป็นปากเสียงให้กับข้าราชการที่เรียกร้องบ้าง ดังข้อคิดเห็นที่2
แต่ก็มีประโยคที่น่าสนใจคือ " การจะทำให้ความยุติธรรม และความเสมอภาพเกิดขึ้นในระบบราชการได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากข้าราชการทุกระดับและทุกฝ่าย โดยเริ่มต้นจากตัวเราเองสร้างให้เกิดขึ้นก่อน "
ซึ่งผมเองได้กำลังใจจากบุคคลใน ก.พ.ท่านหนึ่งให้ประโยคข้อคิดไว้ดังนี้ "ถ้าอยากจะเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในองกรค์ที่ไม่ดี อย่างไปโทษคนอื่น ถ้าเราไปโทษคนอื่นแสดงว่าเราเป็นผู้แพ้ ให้เราอดทนต่อสู้เพื่อช่วยกันเปลี่ยนแปลงในสิ่งดีๆ "
ทั้งหมดนี้ขออภัย คูณ opdc ไว้ด้วย ไม่มีเจตนายกภาระให้ ก.พ.ร.เพื่อแก้ปัญหา เพียงหวังว่าผู้ใหญ่ได้รับรู้บ้าง
yotasee
yotasee
29 มิถุนายน 2554 21:11:23 IP: 118.173.180.xxx
ความเห็นที่ 6
คุณธาริตดูตงนี้นิดนึง ระหว่างซี6เดิม วิชาการ ปัจจุบันชำนาญการ กับซี5เดิมทั่วไป ปัจจุบันชำนาญงาน เข้างานพร้อมกัน เงินเดือนชำนาญการมากกว่าที่ 3000 บาท ปัจจุบันคำนาณที่ค่ากลางต่ำทั้งคู่ ได้มากกว่ากันแค่ 100 บาท แต่อีก 4 ปี ชำนานงานจะกินค่าสูง คื่อแตะที่ 22720 บาท และอีก 7 ปีชำนาญการจะกินค่าสูงแตะที่ 27350 ทันทีทีชำนาญงานแตะจะได้รายได้เพิ่มต่อเดือน ต่อการประเมิน 1 ปี(รวม1ปี) 2000 บาท ชำนาญการจะได้ 1000 บาท ไปอีก 3 ปี คือจะน้อยกว่าชำนาญงานถึงเท่าตัว ทีนี้เงินที่มากกว่ากันอยู่แค่ 3000 ชำนาญงานก็จะตามหรือเลยภายใน 3 ปี แทบไม่ต้องคิด ขณะที่ชำนาญการตระเกียกตระกายให้ไปแตะขั้นสูงอีก 3ปี ดูแล้วเป็นไปได้งัย คุณวุฒิและระดับที่ต่างกัน วิเคราะห์ที
kolpam
30 มิถุนายน 2554 10:59:14 IP: 61.7.252.xxx
ความเห็นที่ 7
เงินประจำตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับ อัตรา (บาท/เดือน)
ชำนาญการพิเศษ ๕,๖๐๐
ชำนาญการ ๓,๕๐๐
เงินประจำตำแหน่งประเภททั่วไป
อาวุโส -
ชำนาญงาน-
born
30 มิถุนายน 2554 22:56:46 IP: 182.53.111.xxx
ความเห็นที่ 8
คุณพยัคร้ายส่ายหัว 007 ชำนาญการมันแค่ 26 สาย จากร้อยกว่าสายที่ได้ ปตน.
kolpam
1 กรกฎาคม 2554 10:35:35 IP: 61.7.252.xxx
ความเห็นที่ 9
ระดับขั้นของวิศวกรตามพรบวิชาชีพวิศวกรมี 3 ระดับคือ
1.ภาคีวิศวกร-ภย.
2.สามัญวิศวกร-สย.
3.วุฒิวิศวกร-วย.
จากชำนาญการ26 สาย จากร้อยกว่าสายที่ได้ ปตน.
แต่แท่งทั่วไป โดยเฉพาะสายนายช่าง ที่หลายๆคนมี่ใบประกอบวิชาชีพวิศวกร สามารถเซ็นต์รับรองงานในขอบข่ายตามระดับใบประกอบวิชาชีพ แต่อาจต้องเซ็นต์รับรองงานที่เกินตำแหน่งตนเอง หรือ จากข้างนอก ซึ่งไม่มีค่าใบประกอบวิชาชีพ ค่าตำแหน่งใดๆ แต่ผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรส่วนมาก ก็ต้องการที่จะเลื่อนระดับใบประกอบวิชาชีพให้สูงขึ้น เพื่อที่จะเลื่อนระดับของใบประกอบวิชาชีพ ให้ขอบข่ายงานที่กว้างขึ้นตามที่ สภาวิศวกร ได้กำหนดไว้
born
3 กรกฎาคม 2554 23:05:30 IP: 125.26.93.xxx
ความเห็นที่ 10
ต้องรบกวนฝาก opdc ประสานข้อมูลเพื่อใช้ในการปรับปรุงตำแหน่งของแท่งทั่วไป โดยให้มีการปลดล๊อก ตำแหน่งอาวุโส ให้เปิดกว้างสำหรับคนที่มีประสพการณ์สะสมความรู้การปฎิบัติงานมากๆนานๆจนเป็นที่ปรากฎยอมรับกันและอาจจะรวมไปถึงผู้ที่มีความรู้ไปเรียนต่อเพิ่มวุฒิที่เกี่ยวข้องหรือจำเป็นต้องใช้ในสายงานนั้นๆ แทนที่จะไปกองรวมกันที่ชำนาญงานทั้งหมด ควรจะส่งเสริมให้ก้าวขึ้นไปในตำแหน่งอาวุโสและทักษะพิเศษ บ้าง เพราะปัจจุบัน อาวุโสจำกัดและทักษะพิเศษไม่มีในระบบการปฎิบัติเลย ขอบคุณครับ
เพื่อนยาก
6 กรกฎาคม 2554 13:15:01 IP: 182.52.198.xxx
ความเห็นที่ 11
จากประสบการที่เคยทำงานด้านพัฒนาคุณภาพในระบบราชการมาสิบกว่าปี ปัญหาหลาย ๆ อย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบราชการมีหลายประเด็น
การพัฒนาระบบราชการในปัจจุบันมีการนำระบบคุณภาพเข้ามาใช้ หลายระบบไม่ว่าจะเป็นระบบ ISO HA TQA MBNQA หรือ PMQA
วิสัยทัศน์ ปรัชญา ทิศทาง เป้าหมายของกันพัฒนาระบบราชการในระบบต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนไปไปในทิศทางเดียวกัน
คือมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
ความเป็นเลิศหมายความว่าอย่างไร
คำตอบง่าย ๆ ตามที่เราเข้าใจกันในสมัยเป็นนักเรียนนักศึกษาก็คือผลการสอบได้ที่ 1 หรืออย่างน้อยก็ต้องได้เกรด A
การพัฒนาระบบราชการสู่ความเป็นเลิศก็เช่นเดียวกัน
ถ้าหากเราสามารถพัฒนาระบบราชการไทยของเราให้ได้เป็นอันดับ 1 ในโลกก็คือความฝันอันสูงสุด
ในเส้นทางแห่งความฝันนี้ เราก็ควรพัฒนาให้เป็นอันดับ 1 ของอาเซียนในระยะเวลาอันใกล้
และควรเป็นอันดับ1ของเอเชียเป็นลำดับถัดไป ในระยะเวลาอันไม่นานนัก
ถ้าหากเราไม่ฝันให้ไกล และไม่พยายามไปให้ถึงในทิศทางเหล่านี้
เราก็จะหลงทางในการพัฒนาระบบราชการ
ซึ่งก็จะเป็นอุปสรรคอันแรกที่จะทำให้การพัฒนาระบบราชการไม่ประสบความสำเร็จ
อุปสรรคอีกประการหนึ่งที่เป็นปัญหาในการพัฒนาระบบราชการคือข้าราชการจำนวนไม่น้อยขาดแรงจูงใจในการพัฒนาระบบราชการ
งานประจำก็มีมากอยู่แล้ว ต้องมาเหนื่อยมาปวดหัวกับระบบเอกสาร ระบบคุณภาพต่าง ๆ อีก
ถึงแม้จะพัฒนาจนได้รับการรับรองคุณภาพ TQA MBNQA แล้ว แต่ค่าตอบแทน เงินเดือน ตำแหน่ง ก็ยังอยู่ในระดับเดียวกันกับหน่วยงานที่ไม่ได้ผ่านการรับรอง หรือไม่ได้พัฒนาอะไรเลย
เบื่อ ท้อ และก็เลิกทำไปในที่สุด
เป็นไปได้หรือไม่ที่การพัฒนาระบบราชการ ของ กพร. กับการพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลภาคราชการของ ก.พ. ควรจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน และไปในทิศทางเดียวกัน
เช่น หน่วยงานราชการใดที่พัฒนาระบบราชการจาก กพร.จนผ่านการรับการรับรอง TQA หรือ MBNQA ก็ให้ กพ.ขยายตำแหน่งข้าราชการในหน่วยงานนั้น ๆ ทุกตำแหน่งเป็นกรณีพิเศษ
แท่งวิชาการก็ควรจะขยายตำแหน่งชำนาญการทุกตำแหน่งเป็นชำนาญการพิเศษ
แท่งทั่วไปก็ควรขยายตำแหน่งเป็นชำนาญงานเป็นตำแหน่งอาวุโสทุกตำแหน่ง
อย่าไปล็อคหรือปิดกั้น
หากสามารถทำได้ดังนี้ข้าราชการส่วนใหญ่ก็จะมีขวัญและกำลังใจในการพัฒนาระบบราชการอย่างทั่วถึง
คำถามที่ว่าพัฒนาระบบราชการไปแล้วข้าราชการได้อะไรก็จะหมดไป
การพัฒนาระบบราชการก็น่าจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก
sarit
7 กรกฎาคม 2554 12:08:26 IP: 61.7.145.xxx
ความเห็นที่ 12
มองโดยภาพรวมของการพัฒนาระบบราชการไทยแล้ว มันมีความไม่สอดคล้องกันมากที่สุด
ระกว่าง ก.พ. กับ กพร.
การพัฒนาระบบราชการของ กพร.มุ่งสู่ความเป็นเลิศระดับโลก MBNQA (PMQA)
ส่วนของ ก.พ. การพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคลภาคราชการ
มุ่งสู่เป้าหมายจำกัดงบประมาณหมวดเงินเดือนของข้าราชการไม่ให้เพิ่มขึ้น ด้วยการไม่เพิ่มจำนวนข้าราชการ ส่งเสริมให้ข้าราชการออกจากระบบราชการ ก่อนเกษียนอายุด้วยการให้รางวัลในการ erly retire
เปรียบเทียบระบบราชการเหมือนต้นแอ๊ปเปิ้ล
ในส่วนของ กพร.ต้องการพัฒนาให้ได้ผลผลิตคือผลแอ๊ปเปิ้ลที่ดีที่สุดในโลก ผลโตที่ หวานกรอบที่สุด หรือไม่ก็ออกผลเป็นแอ๊บเปิ้ลทองคำ
แต่คนปลูกและดูแลต้นแอ๊ปเปิ้ลคือ ก.พ. ต้องการต้นแอ๊ปเปิ้ลที่เล็กที่สุดเป็นไม้ดัดเป็นบอนไซ จำกัดการให้ปุ๋ย จำกัดการเจริญเติบโต
เราจึงเห็นตำแหน่งข้าราชการส่วนใหญ่จำนวนกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ถูกจำกัดตำแหน่งอยู่แค่ชำนาญงานหรือชำนาญการเท่านั้น
เปรียบเทียบกับยศทางทหารหรือตำรวจ
ชำนานงานก็แค่สิบโท
ชำนาญการก็ร้อยโท
แอ๊ปเปิ้ลบอนไซแคระจะให้มีผลเป็นทองคำ
หากเป็นไปได้จริงก็คงเป็นสิ่งมหัศจรรย์ติดอันดับโลกเป็นแน่
sarit
26 กรกฎาคม 2554 11:53:30 IP: 61.7.145.xxx
ความเห็นที่ 13
อ่านแล้วยังไม่เข้าใจเลยว่าระดับชำนาญงานจะก้าวหน้าได้อย่างไร
koom
3 สิงหาคม 2554 17:50:46 IP: 113.53.46.xxx
ความเห็นที่ 14
ระบบแท่งเป็นระบบที่ช่วยไม่ให้เงินเดือนข้าราชการเต็มขั้นเร็วแต่ข้อเท็จจริงซึ่งประสบด้วยตนเองคือ เงินเดือนเต็มขั้นเร็วเนื่องจากปัจจุบันหน่วยงานราชการไม่ใช้ระบบอาวุโส เงินเดือน อายุการปฏิบัติงานในราชการ แต่จะนำเอาระบบลูกหลานนักการเมืองหรือผู้มิอิทธิพลมาแต่งตั้งกลวิธีมีหลายรูปแบบซึ่งซับซ้อนมากกว่าเดิมยิ่งขึ้น ทาง ก.พ.ร.จะเข้าตรวจสอบความถูกต้องของหน่วยงานก็ยากเนื่องจากหลักฐานมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขใหม่หมดแม้แต่ตัวผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งก็ยังไม่ทราบด้วยซ้ำ อยากสะท้อนให้ทาง ก.พ.ร.เห็นว่า ขณะนี้ระบบข้าราชการของบางหน่วยงาน เป็นไปลักษณะเช่นนี้ ถ้าปล่อยไว้ ต่อไประบบราชการก็จะมีข้าราชการระดับ สูง แต่ไม่มีผู้ปฏิบัติเนื่องจาก ผู้ที่เพิ่งเข้ารับราชการ จะมีโอกาสเลื่อนตำแหน่งเร็วกว่า ผู้ที่รับราชการมานาน มีประสบการณ์ ในฐานะ ก.พ.ร.เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
suadth
21 ตุลาคม 2554 08:36:25 IP: 119.42.88.xxx
ความเห็นที่ 15
ระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ(สามาน)ได้คืบคลานเข้าสู่ระบบราชการไทยแล้ววันนี้โดยผ่าน ขบวนการกระจายอำนาจ และการปฏิรูประบบราชการที่ใช้คำที่สวยหรู แล้วแต่จะเลือกมาใช้อ้าง
ประเด็นสำคัญของแนวคิดเสรีนิยมสมัยใหม่ทางเศรษฐกิจ(ระบบทุนนิยม) มี 4 ประการ คือ
-กฎเกณฑ์ของตลาด คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจหรือการทำให้รัฐวิสาหกิจไม่มีพันธะใด ๆ ต่อรัฐ การเปิดกว้างให้กับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น
- การตัดลดรายจ่ายสาธารณะทางด้านบริการสังคม เช่น การศึกษาและการสาธารณสุข หรือแม้แต่การซ่อมบำรุงถนน สะพาน น้ำประปา โดยอ้างว่าเป็นการลดบทบาทของรัฐบาล แต่อย่างไรก็ดีกลับไม่คัดค้านการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนและเอื้อประโยชน์ ให้กับกลุ่มภาษีทางธุรกิจ
- การตัดลดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของรัฐบาลในทุกเรื่องที่จะมีผลกระทบต่อผลกำไร เช่น การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการปลอดภัยในการทำงาน
- การแปรรูรัฐวิสาหกิจขายรัฐวิสาหกิจ สินค้าและบริการที่รัฐเป็นเจ้าของให้กับเอกชน เช่น ธนาคาร อุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ถนน ทางรถไฟ ทางหลวงที่เก็บค่าผ่านทาง ไฟฟ้า เป็นต้นโดยอ้างเหตุผลว่าทำไปเพื่อเพิ่มประสิทธิ แต่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจนั้น กลับทำให้เกิดการกระจุกตัวของความมั่งคั่งที่รุนแรงขึ้นในมือของคนไม่กี่คน ส่วนประชาชนไม่มีทางสู้ถูกแทนด้วยคำว่า "ความรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว" กดดันให้คนที่มีฐานะยากจนที่สุดไปหาทางออกเอาเอง ซึ่งหากทำไม่ได้ก็จะถูกกล่าวหาว่า เกียจคร้าน
แนวคิดดังกล่าวนี้ มีการแพร่ขยายไปทั่วโลก สืบเนื่องจากการนำมาใช้โดยพวกทุนนิยมทางการเงินที่ทรงอำนาจ จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้สำหรับประเทศไทย ที่ในที่สุดก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้ แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือไม่กับสถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงสภาพเศรษฐกิจสังคมที่เป็นอยู่ก็สามารถดำเนินไปได้อย่างไม่ยากนัก กับการที่คนในประเทศต่างพออยู่พอกินโดยไม่ต้องดำเนินตามแนวคิดของต่างประเทศมากนัก เพียงแต่คนไทยคงจะต้องกลับมายอมรับการใช้ชีวิตที่ตั้งอยู่บนความพอเพียงที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และตนเองก็มีความสุขได้บนความเพียงพอที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง.
ผลที่กระทบกับระบบราชการ คือ
1.งานที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ได้ถูกกระจายไปยังเอกชนและลดจำนวนข้าราชการ ไม่มีการบรรจุข้าราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวกับผลประโยชน์
2.ข้าราชการต้องทำงานรับใช้กลุ่มทุนถ้าปรับตัวไม่ทันอยู่ในระบบราชการไม่ได้กลายเป็นบุคคลที่ถูกตราหน้าว่าล้าหลัง ไม่พัฒนาตนเอง
3.ประชาชนและมวลข้าราชการมีความเสี่ยงในการดำรงชีวิต ทั้งปัญหาอุบัติภัย สิ่งแวดล้อม และการแก่งแย่งเพื่อความอยู่รอด
4.ข้าราชการที่ไม่มีพรรคมีพวกตลอดจนข้าราชการชั้นผู้น้อยและแท่งทั่วไปถูกกดดันให้หาทางออกเอาเอง
ทั้งหมดนี้เราจะโทษใครไม่ได้ทั้งนั้น จะต้องปรับตัวเอาเอง ถ้าประเทศไทยจะเลือกปฏิรูประบบราชการเข้าสู่ระบบทุนนิยม ถ้าการปฏิรูปปัจจุบันไม่เดินสู่ระบบทุนนิยม ก.พ.ร. ก็ต้องหาเหตุผลมาหักล้างเพราะท่านเขียนไว้ในเหตุผลการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งตรงกับระบบทุนนิยมทุกข้อ
yotasee
7 มกราคม 2555 11:28:18 IP: 118.173.182.xxx
ความเห็นที่ 16
คุณ Yotasee โพสต์คร้งใดถูกใจทุกทีไป เราเองก้อหัวอกเดียวกัน
jeepshy
7 มกราคม 2555 20:31:46 IP: 124.121.113.xxx
ความเห็นที่ 17
เห็นด้วยกับคุณ Yotasee ความเห็นที่ 15 อย่างยิ่ง
ความน่าจะเป็นของผลลัพธ์สุดท้ายของการพัฒนาประเทศและการปฏิรูประบบราชการในแนวทุนนิยมสามาณย์นี้
คือความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ ทั้งประเทศ ทั้งภูมิภาค
เช่นเดียวกับที่กำลังเป็นอยู่ในประเทศกรีซ สหภาพยุโรป
และในสหรัฐอเมริกา ต้นตำรับของทุนนิยมสามาณย์
sarit
9 มกราคม 2555 14:08:21 IP: 118.173.32.xxx
ความเห็นที่ 18
ความเสมอภาคและความยุติธรรม ท่านที่หา ..คงต้องไปหาหนวดเต่าหรือเขากระต่ายให้ได้ก่อนครับ เพราะในโลกของความเป็นจริงๆ มันไม่มี มีแต่ว่าตรงไหนจะพอดี หรือพอเพียง ความยุติธรรม ตามความเห็นผมน่าจะแบ่งเป็น2อย่าง
1.ตามระบบ ทุกอย่าง มันต้องมีระดับมีขั้น มีการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน จะให้เสมอกันตลอดเวลานั้น อย่าไปหาเลย มันเป็นไปไม่ได้ เช่นเงินเดือนข้าราชการ เป็นต้น
2.นอกระบบ ยิ่งไปใหญ่ สังคมไทยเป็นสังคมแห่งความสัมพันธ์ ไม่ว่าแบบไหน มีระบบอุปถัมภ์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว ฝังลึกอยู่ในจิตใจของคนไทย เพราะฉะนั้น ไม่มีทางแก้ได้ แต่บางทีถ้ามองโลกในแง่ดี มันก็ทำให้โลกสงบสุขไปอีกแบบ ดุสิ อย่างเช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเมื่อก่อนควบคุมลูกบ้านได้อย่างดี แต่พอมาเปลี่ยนเป็น อบต.จากการที่ยืดของนอก เอาแต่ทฤษฏี ไม่ได้ดูข้อเท็จจริง คิดแต่ความเสมอภาคให้ทุกคนได้มีโอกาส แล้วเป็นไงครับทุกวันนี้ แก้ได้มั้ย มีแต่จมลงไปทุกวัน คนที่ริเริ่มก็ลาโลกไปซะแล้ว เหลือไว้แต่ความพินาศของประเทศ นี่แหละครับ ความยุติธรรม ที่บางทีมันก็เป็นผลแง่ลบ ถ้ามัวแต่บ้าทฤษฏีฝรั่ง ไปลอกเค้ามาแบบไม่ลืมหูลืมตา คนที่เอามาใช้ไม่มีข้อมูลสภาพความเป็นจริง และใช้ไม่ถูกกะเรื่อง ทุกวันนี้คำว่าส่งเสริม รณรงค์ ความยุติธรรมน่ะเหรอ มันเป็นเพียงนิทานเอาไว้หลอกเด็กหรือภาพลวงตา เท่านั้น การนำไประบุไว้ในเอกสารอะไรก็แล้วแต่ มันก็อยู่ในนั้น ถ้าทุกคนไม่เอามาใช้ เอาไว้ให้นักเรียนท่องไว้ไปสอบ ความยุติธรรมไม่ใช่ตาชั่ง เพราะฉะนั้นจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่ายุติธรรม ที่ทำแล้วทุกคนพอใจ คนนึงบอกว่ายุติธรรมแล้ว อีกคนนึงที่เสียผลประโยชน์ก็จะบอกว่า ยังไม่ยุติธรรม อยู่อย่างนี้ร่ำไป เพราะการกระทำทุกอย่างต้องมีคนได้แต่มีคนเสียตลอดเวลา
แล้วคุณจะเอาตรงไหนเป็นบรรทัดฐาน ความยุติธรรม ที่ผมคิดได้ตอนนี้ก็คือความพอเพียงและทุกคนพออยู่กันได้อย่าปล่อยให้ความโลภเข้าครอบงำ นั่นแหละ
wn59
13 มิถุนายน 2555 09:58:40 IP: 123.242.158.xxx
ความเห็นที่ 19
ไม่มีทางจะสำเร็จ สำหรับ กพร. หากว่า กพร.ไม่ดำเนินการให้หน่วยงานราชการการต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กองการเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นหน่วยงานปฏิบัติหลักในการพัฒนาบุคคลากรระดับรองลงมา ซึ่งบางครั้งก็อาจได้รับคำสั่งมาจาก หัวหน้าหน่วยงานนั้น ๆ ยึดหลักธรรมมาภิบาล การแต่งตั้งโยกย้าย ที่ตามใจฉันก็จะไม่เกิดขึ้น เพราะข้าราชการแต่ละคนก็ต้องวิ่งหานาย หา สส. หา รมต. เป็นต้น ซึ่งมันจะก่อให้เกิดความยุ่งยาก และกองการเจ้าหน้าบางหน่วยงานก็ควรถือเอาหลักเกณฑ์ ตาม พรบ.ข้าราชการพลเรือน มาใชให้เคร่งครัด ไม่เช่นนั้น ระบบข้าราชการไม่มีการพัฒนาที่ดีขึ้น ไม่มีรูปแบบองค์กรที่ดี มีแต่ความมั่วและสับสน เช่น การดึงคนจ่ายฝ่ายนี้ มาทำงานอีกฝ่าย เอาธุรการ ไปทำงาน นิติกรรม แล้วก่อให้เกิดปัญหาการขาดบุคคลากรของฝ่ายอำนวยการ ผลสุดท้าย หน.ฝ่ายอำนวยการ ไม่มีลูกน้อง เลยต้องทำงานคนเดียว ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อวงการราชการ ผลสุดท้าย หน.ฝ่ายอำนวยการก็ต้องวิ่งย้ายเพราะโดนเอารัดเอาเปรียบ เป็นต้นและอีกประการหนึ่ง ควรเปิดโอกาสให้ข้าราชการ ได้รับความเสมอภาค การเปิดสอบเพื่อเลื่อนระดับ ในแต่ละสายงาน ควร ให้แต่ละสายงาน ควรได้มีโอกาสเติบโตบ้าง ไม่ใช่ว่า สายงานหลักของหน่วยราชการนั้น ๆ เปิดทุกเดือน แต่สายงานรอง กับไม่เปิด ผลสุดท้าย ความก้าวหน้าไม่มี ก็ต้องวิ่งโอนไปอยู่หน่วยงานอื่น ๆ ผลสุดท้าย ก็วุ่นวายอีกเช่นเคย และอีกอย่างการไม่เปิดให้ข้าราขการก้าวหน้าในสายงาน นั้น ศาลปกครองสามารถรับเรื่องได้หรือไม่
ผมอยากเสนอแนะให้ กพร. ดูตัวอย่างของ กองทัพเรือ ข้าราชการไม่ต้องวิ่งโยกย้าย การสอบในการเลื่อนยศ ทางกองทัพเรือ จะบอกเลยว่า หน่วยงานนี้ว่างกี่อัตรา ถ้าใครอยากไปอยู่ที่ไหน ก็ต้องไปสอบเอา สอบได้ก็ถือว่าถุกใจแล้ว ถ้าสอบไม่ได้ ก็ถือว่าตนเองไมมีความสามารถพอ วิธีนี้ ผมว่าดีที่สุด แต่ต้องไม่มีการปล่อยข้อสอบ คือ ระดับหัวหน้าหน่วยที่มีอำนาจสูงสุด ต้องมีธรรมมาภิบาล ที่สุด ยึดหลักความยุติธรรม และเสมอภาค
ผมเสนอแนะมา เพื่ออยากให้หน่วยงานข้าราชการได้พัฒนาในแนวทางที่ดีขึ้น ตัวผมไม่มีส่วนได้เสียอะไร ก็คือได้ฟัง ๆ เพื่อน ๆ พี่ น้อง ๆ ที่รับราชการในหลายหน่วยงาน รุ่นผม มี พันกว่าคน จนทุกวันนี้ อยู่ในราชการที่สังกัดเริ่มต้นแค่ สองร้อยกว่าคน นอกนั้น ไปเติมโตในส่วนราชการอื่น ๆ ก็ได้รับรู้ถึงปัญหาต่าง ๆ
และผมก็ไม่มีส่วนได้เสียใด ๆ เพราะไม่ได้รับราชการ เพียงแต่ทำธุรกิจส่วนตัว และเห็นด้วยกับ วิศวกร ในหน่วยงานราชการนั้น ๆ วิศวกรที่ทำงานข้างนอกจะมีรายได้ดีกว่ามาก มีทั้งค่าเซนต์แบบ ค่าเขียนแบบ รวมทั้งอาจรับเหมาอีกด้วย แต่วิศวกร กว่าจะได้เงิน ประจำตำแหน่ง ก็ต้อง C7 เช่น หน่วยงาน กทม. ทำงานเป็นวิศวกรตั้งแต่ C3 จนเกษียณคือ C7 ไม่ใช่ว่าคนนี้ไม่มีความรู้ความสามารถ จบตรีโยธา นครเหนือ จบโทโยธา เกษตรศาสตร์ จบ ป.เอก รัฐศาสตร์ รามคำแหง แต่เกษียณ C7 นี่แหละครับประเทศไทย หากยังมีระบบอุปถัมถ์อยู่ ประเทศชาติไม่เจริญ อีกทั้งบางหน่วยงานเปิดโอกาสให้ ชำนาญงาน มานั่งแทน ชำนาญการ วิสัยทัศน์ ในการปกครองจะขาดประสิทธิภาพ คือกระบวนการคิดทางสมองจะแตกต่างกันมาก ไม่เป็นผลดีกับการพัฒนาระบบราชการ เหมือนเอาคน จบ ปวช. มาเป็นหัวหน้าคนจบ ปริญญาโท หลักการทำงาน ความรู้ความสามารถ + อาวุโสอาวุโส ถ้าจะปกครองคน ต้องไปเรียนต่อ หน่วยงานควรจะกำหนดกฏเกณ์ข้อนี้ ไม่ใช่คิดแต่อาวุโสอย่างเดียว ยกตัวอย่างทหาร นายร้อย จปร.จบใหม่ อายุ 22 ปี แต่มานั่งตำแหน่งแหน่ง หน.หมวด แต่ในนั้นมีประจำ หมวด ยศ ร้อยเอก แต่ไม่ได้จบ จปร. แต่คนเป็นหัวหน้าคือ ร้อยตรี จบใหม่ ทหารทุกคนเขายอมรับได้ เพราะเขารู้ว่านั่น คือ หัวกะทิ ที่จะมาปกครองคน เป็นต้น
ประการสุดท้าย เงินรางวัล ซึ่งเป้นภาษีของประชาชน ควรคิดให้ดีครับ เหมาะสมหรือไม่ บางหน่วยงานงานน้อยมาก เขาไปเหมือน ผีหลอก เช่น เทศบาล อบต. ในเวลางานแท้ ๆ คนเกือบร้อยเข้าไปติดต่องาน มีแต่ผู้หญิงนั่งอยู่ ไม่เกิน 10 คน เป็นต้น สมควรแล้วหรือกับโบนัส ภาษีของประชาชน ที่เขาทำงานหนัก ๆ เพื่อท่าน
boonpitak11
1 กันยายน 2555 07:50:36 IP: 223.204.153.xxx
สมัครสมาชิก
เวทีความเห็น
การบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต(BCM)
ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
ลิงค์
|
สมาชิกเครือข่าย
|
RSS feed
|
คำถามที่พบบ่อย
เกี่ยวกับ
รายชื่อคณะกรรมการและอำนาจหน้าที่
สำนักงาน ก.พ.ร.
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ
รายงานประจำปี
การดำเนินงานกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม (CSR)
ดาวน์โหลดโลโก้ สำนักงาน ก.พ.ร.
กฏหมายและระเบียบ
รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ
พระราชกฤษฎีกา
กฎกระทรวง
ระเบียบ
ประกาศสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
คำแถลงนโยบาย
หนังสือเวียน
สำนักงาน ก.พ.ร.
ก.น.จ.
ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ
ส่วนราชการ
จังหวัด
องค์การมหาชนและอื่นๆ
ศูนย์ความรู้
เอกสารเผยแพร่
คู่มือการประเมินผลฯ
ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ
วีดิทัศน์
เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา
ประชาสัมพันธ์
ข่าวการจัดซื้อ-จัดจ้าง
ประกาศราคากลาง
ข่าวรับสมัครงาน
News Clipping
Opdcnews
Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.
www.info.go.th
การปฏิเสธความรับผิดชอบ
|
Truehits.net
Webmail
|
Intranet สำหรับข้าราชการ
|
ผังเว็บไซต์
|
นโยบายเว็บไซต์
สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th