Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

ข้าราชการมีรายได้สูงกว่าเอกชนนะครับ


ผมว่าข้าราชการมีรายได้ทั้งชีวิตซึ่งได้แกเงินเดือนบวกกับสวัสดิการจิปาถะบวกกับบำนาญตลอดชีวิต รวมๆเข้าจริงสูงกว่าภาคเอกชน ถ้าเอาเฉพาะเงินเดือนมาเทียบกันแน่นอนเอกชนอาจจะดูสูงกว่า ผมมีญาติผู้ใหญ่ที่เกษียณแล้วทั้งข้าราชการและเอกชน ปรากฎว่าญาติที่เป็นข้าราชการเกษียณมักกินดีอยู่ดีกว่าลูกจ้างบริษัทเอกชนที่เกษียณครับ คิดแล้วก็อิจฉาข้าราชการนะครับ จะแท่งไม่แท่งก็เงินรายได้ดี ระบบแท่งก็ดีครับเพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีเจตนารมณ์ที่ดีครับ ขอชมเชย กพ. ครับ อยากให้ลดขนาดหน่วงานของรัฐลงด้วยครับ เอาใจช่วยครับ ทั้ง กพ. และ กพร.
chatchavalit    1 พฤศจิกายน 2553 00:50:58    IP: 58.8.95.xxx

ความเห็นที่ 1
ขอค้านอย่างแรง รุ่นเดียวกับเราทำงานจนต้องเกษียนอายุ แต่ไม่มีแม้แต่จะซุกหัวนอน เงินเดือน เดือน ๆ ก็พอใช้ไม่เป็นหนี้ใคร แต่พอจะออกได้เงินมาก้อนหนึ่งแค่ดาวบ้านเองน่ะ แล้ว***้อะไรก็ไม่ได้อีกเลยเนื่องจากเงินเดือนบำนาญเหลือแค่ครึ่งหนึ่งของเงินเดือนจริง เนื่องจากไปหลวมตัวเข้าระบบ กบข.เข้า ออกไปก็ได้แค่ดาวบ้านหลังเล็ก ๆ และผ่อนส่งบ้านในระยะสั้นเนื่องจากนับเวลาแค่ 65 ปี แล้วที่สำคัญต้องส่งมากเนื่องจากระยะเวลาสั้น แต่ที่สำคัญเงินเดือนหรือบำนาญที่เหลือน้อยนิดเดียว เป็นข้าราชการก็แค่พอกินไปเดือน ๆ หนึ่ง ไม่เป็นหนี้ใครเท่านั้นส่วนจะให้เหลือกินเหลือใช้ หรือรวยตอนออกจากราชการนั้นร้อยละ 95 ไม่เหลือหรอก แต่ ร้อยละ 5 นั้นอาจจะเป็นญาติของคุณที่เขาโชคดีก็ได้อาจจะเนื่องด้วยสมบัติดดั้งเดิม
trida    1 พฤศจิกายน 2553 08:50:08    IP: 117.121.220.xxx

ความเห็นที่ 2
ก่อนอื่นขอขอบคุณ K.Chatchavalit ที่มอบโลกในแง่ดี ด้านเดียวในมุมของคุณ ฐานพื้นบ้านคงคงเป็นเศรษฐี มีเงินมรดกหรือเปล่า ญาติคุณคงเป็น 1 ในแสนของข้าราชการ คงเป็นประเภทมีมรดก ถืออยู่แบบรำรวย สุสบาย หรือไม่ก็โกงกินจนรำรวยในยามรับราชการ หรือเปล่า คุณเป็นข้าราชการหรือเปล่า ถ้าไม่ใช้ก็คงไม่เข้าถึงหัวอกคนข้าราชการหรอก สาธุ    
เสื้อเหลือง     1 พฤศจิกายน 2553 13:11:17    IP: 119.63.95.xxx

ความเห็นที่ 3
ครั้งที่แล้วผมได้ยกประเด็นเงินได้มวลรวมตลอดชีพที่อ้างว่าของข้าราชการน่าจะสูงกว่าเอกชน ครั้งนี้ผมขอเพิ่มเติมว่าค่าตอบแทนมวลรวมตลอดชีพนี้ประกอบด้วยส่วนที่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้และอีกส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้ ซึ่งผมได้กล่าวถึงส่วนที่ตีค่าเป็นตัวเงินได้ไปแล้ว ส่วนที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้นั้น อาจจะเป็นที่สงสัยว่ามันคืออะไร ผมขอสรุปง่าย ๆ ว่ามันก็คืออะไรก็แล้วแต่ที่จูงใจให้ท่านยังคงทำงานต่อไปในสถานะเดิม ไม่ตัดสินใจลาออกไปหางานใหม่ ซึ่งแต่ละคนก็จะรู้สึกถึงสิ่งที่จูงใจนี้แตกต่างกันไป เอาเป็นว่าเมื่อบวกกับส่วนที่ตีค่าเป็นตัวเงินได้แล้ว ทำให้ท่านต้องพอใจในค่าตอบแทนมวลรวมตลอดชีพที่ได้รับอยู่นี้ ซึ่งมากพอที่จะไม่ลาออกไปอยู่ที่ใหม่ แค่นี้ก่อนครับ ผมดีใจที่เห็นข้าราชการมหาวิทยาลัยทยอยออกนอกระบบกันแล้วครับ เห็นความก้าวหน้าของการบริหารประเทศระดับหนึ่งแล้วครับ เอาใจช่วยครับกับยุทธศาสตร์การลดขนาดฯ
chatchavalit    1 พฤศจิกายน 2553 19:58:33    IP: 58.8.230.xxx

ความเห็นที่ 4
การรับราชการในปัจจุบันไม่ได้มีรายได้ดี หรือสวัสดิการดีกว่าเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจอื่นเลย แต่ที่ไม่ได้ลาออกไปไหนเนื่องจากว่า การรับราชการก็เหมือนการทำงานในสถานประกอบการอื่น ๆ ที่กล่าวมา คือโอกาสที่จะได้ทำงานถ้าเราสอบทำงานได้ที่ใดที่หนึ่งเราก็ทำไม่ใช่เลือกแต่จะรับราชการ แต่เมื่อสอบได้เราก็ทำ เมื่อทำไปแล้วอายุมากขึ้นเขาจะกดขี่เราอย่างไรเราก็ไม่สามารถจะขยับได้หรอก เนื่องจากไปสมัครงานที่ไหนก็ไม้ได้แล้ว พูดง่าย ๆ ดีกว่าว่างงาน ก็ต้องทนอยู่แบบนี้ วันดีคืนดีเขาก็ออกระเบียบออกมาเพื่อจะปิดกั้นเราบ้าง ลดอะไรเราบ้าง หรือบางครั้งก็ล่อให้เราลาออกเพื่อลดขนาด แล้วมันต่างกับเอกชนตรงไหน ไม่ต่างกันเลย เงินเดือนไม่ต้องพูดถึง น้อยกว่าอยู่แล้ว สวัสดิการที่เมื่อก่อนดูเหมือนจะดีกว่าเช่นการรักษาพยาบาลแต่เดี๋ยวนี้ด้อยกว่าประกันสังคมด้วยซ้ำ เจ็บป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุเข้าโรงพยาบาลเอกชนซิจ่ายเองหมด
trida    3 พฤศจิกายน 2553 08:47:06    IP: 117.121.220.xxx

ความเห็นที่ 5
เห็นด้วยครับ "การยอมรับการทรมานนั้นนับว่ากล้าหาญกว่าการยอมตาย"
chatchavalit    9 พฤศจิกายน 2553 00:00:47    IP: 125.26.115.xxx

ความเห็นที่ 6
เพราะว่าต้องทนทุกข์ทรมานกับบรรยากาศที่มัวหมองในองค์กร  ใครจะว่าอย่างไรก็ช่างผมใช้เวลาว่างหารายได้เสริมเลี้ยงตัวเองและครอบครัว  และเพื่อผ่อนคลายความทุกข์ทรมานในชีวิตราชการ  ผมคิดอยู่เสมอว่าจะยอมรับการทรมานหรือว่ายอมตายจากชีวิตราชการ
kobo11    18 พฤศจิกายน 2553 15:25:04    IP: 182.52.187.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th