1.ถ้าหน่วยงานไม่ทำตาม กพร. การจัดตำแหน่งก็ยังเหมือนเดิม สมมุติ นักวิชาการ ตำแหน่ง นักจัดการงานทั่วไป วุฒิ ป.โท แต่ก็ยังทำงานเหมือนเสมียน รับ-ส่ง หนังสือ เดินเวียนหนังสือ แล้ว หัวหน้าฝ่ายเป็น เจ้าพนักงานธุรการ ประเภททั่วไป ที่จบวุฒิ ปวช. (แต่ ซี 7 เท่ากัน ซึ่งปัจจุบันเป็นระบบแท่งแล้ว แล้ว ฝ่ายอำนวยการก็มีอยู่แค่ 2 คน ที่เป็นข้าราชการ นอกนั้นเป็นลูกจ้างประจำ 1 ลูกจ้างชั่วคราว 1 ต้องล้างจาน ล้างแก้วด้วย แต่เวลาประเมิน ก็จะให้หัวหน้าฝ่ายเป็นคนประเมิน เสนอความเห็นต่อ ผู้บังคับบัญชา) ซึ่งปัญหาแบบนี้มีเยอะมาก ในระบบราชการ ถาม กพร.ว่าถ้าเจอปัญหาแบบนี้ กับตัวเอง จะมีความรู้สึกอย่างไร บอกผู้บังคับบัญชาแล้ว ก็ไม่จัดการอะไร ทั้งๆ ที่มีตำแหน่ง นักการภารโรงอยู่ในหน่วยงาน
2.บางหน่วยงาน ระดับ กรม ยังใช้ ระบบซี เป็นตัวจับในการเลื่อนตำแหน่ง ทั้ง ๆ ที่ยกเลิกไปแล้ว ทำให้ข้าราชการที่หวังความก้าวหน้ายิ่งเกิดความเดือดร้อน เพราะจะเรียกในการเรียงลำดับอาวุโส
ซึ่งจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยกับการแก้ปัญหาเรื่องสมองไหล ข้าราชการ ในหน่วยงานนี้ ก็จะพยายามโอนย้ายไปอยู่กรมอื่่น โดยไม่มีความอยากทำงานให้องค์กร เพราะมองภาพความก้าวหน้าในอาชีพไม่ได้ และซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้น ทุกคนก็จะทำงานเช้าชามเย็นชามเหมือนเดิม ผมอยากถาม กพร. เวลาคัดคนเก่งระดับหัวกระทิ
มาแก้ไขระเบียบ ซึ่งถ้าหน่วยงานทำตาม พรบ.ใหม่ ก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่มีหน่วยงานระดับกรม ซึ่งยังปฏิบัติแบบนี้อยู่ ผมอยากเรียนถาม กพร.ว่ามีประโยชน์อะไร กับ พรบ.แท่งใหม่ มันก็เหมือนเสือกระดาษ เขียนเสือให้วัวกลัว แต่วัวไ่ม่กลัวหรอกครับ เพราะมันคือกระดาษ
3. การให้คะแนนเป็นเปอร์เซนต์ สำหรับการขึ้นเงินเดือนก็แล้วใหญ่ ครับ ใครประจบสอพลอ เปอร์เซนต์ก็สูง มีหนังสือชมเชยจากหน่วยงานระดับจังหวัด นี่แหละคำปัญหา ทั้ง 3 ข้อ ที่เกิดขึ้นแล้ว
สำหรับ ระบบข้าราชการพลเรือนใหม่
ผมหวังว่า กพร. คงนำปัญหาเหล่านี้ ไปแก้ไข อย่าให้ พรบ.ใหม่ เป็นแค่เสือกระดาษเลยครับ |