โดยปกติทั่วไป การจัดทำมาตรฐานการประเมินอะไรก็แล้วแต่ มักจะมีการกำหนดมาตรฐานเอาไว้ พร้อมรายละเอียดที่ต้องปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐานนั้นๆ กพร.เอง จะให้คนอื่นปฏบัติผ่าน มาตรฐานของตัวเองที่กำหนดไว้ ก็ต้องมีคู่มือที่ชัดเจนวัดได้ เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งประเทศ ไม่ใช่ให้แต่ละส่วนราชการ ไปตั้งตัวชี้วัดกันเอาเอง ตัว กพร.เองต้องชัด จะวัดอย่างไร หนึ่ง สอง สาม บอกเป็นข้อๆ ไม่ต้องตีความอ้อมค้อม จะวัดผลลัพธ์ ผลกระทบ หรือปริมาณ เอาให้แน่ แล้วออกเป็นมาตรฐานทีเดียว ข้าราชการไม่ใช่เป็นคนไม่ฉลาด ไม่งั้นสอบเป็นข้าราชการไม่ได้แน่นอน การตรวจสอบคนอื่นแล้วไม่ได้บอกว่าเขาบกพร่องตรงไหน หรือบอกไม่ได้ มันไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น มันใช่การทำข้อสอบที่มีการเรียนมาทั้งเทอม มีความรู้มากพอสมควรตามห้วงเวลาในการเรียน พอสอบจึงจะได้เดาว่าอาจารย์จะออกข้อสอบอย่างไร แต่นี่มันเป็นตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานแสดงว่า มันต้องมีอะไรที่วัดได้ ชัดเจน ทำไมต้องให้หน่วยงานเขาไปเดาว่า กพร.+ทริส จะออกข้อสอบแบบไหนอีก กพร.เองต้องทบทวนตัวเองด้วย ว่าจะเดินไปทางไหน กำหนดเส้นทางไว้ให้ชัดเจน แล้วออกคู่มือปฏิบัติที่ชัดเจน วัดได้ ไม่ต้องตีความคู่มือที่โหลดมาอ่านแล้ว ยังต้องมาตีความภาษาไทยอีกครั้ง ว่ามันคืออะไร นิยามคำที่มันกำกวม ให้ชัดเจน ก็ในเมื่อต้องการพัฒนาข้าราชการ ที่ตามปกติเขาก็มีวินัยราชการอยู่แล้ว ชัดเจนด้วยซ้ำไป แต่ กพร.เองจะประเมินหน่วยงานราชการของราชการแท้ๆ ยังต้องไปจ้างบริษัท ทริส อะไนั่นมาตรวจประเมินให้เลย จะสื่อว่าอะไร ไม่เข้าข้างตัวเอง เลยต้องให้บริษัทเอกชนมาประเมิน อันนี้ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ราชการเองต้องออกมาตรฐานให้เอกชนด้วยซ้ำไป ขอให้ กพร.นั่งทบทวนบทบาทของ กพร.เอง ว่าจะเอาอย่างไร กรณีตรวจประเมินส่วนราชการ แล้วผลการประเมินออกมาแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว ทั้งๆที่มีการปฏิบัติคล้ายกันทั้งประเทศ |