Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

ประโยชน์ของการดำเนินการตัวชี้วัดที่ควรพิจารณา


การดำเนินการตามตัวชี้วัดโดยแท้จริงแล้วเป็นการติดตามประเมินผลการดำเนินการของระบบราชการเพื่อให้ทราบถึงวิธีการบริหารงาน การวางแผน การวัดผล และการปรับปรุงพัฒนาระบบราชการที่มีมานานในอดีตแต่เรียกใหม่ให้สวยหรูว่าตัวชี้วัด
ต่อมาก็ยกระดับให้มีมาตรฐานเดียวกันโดยเฉพาะงานที่มีลักษณะเดียวกัน ผลที่ได้รับจากการพัฒนาคือหน่วยงาน ประชาชนและประเทศ เพื่อให้เทียบกับมาตรฐานสากล โดยใช้เงินรางวัลล่อใจหน่วยงาน
หากดูผลงานตั้งแต่เริ่มต้นที่มี กพร.แล้วจะพบว่ามีการตั้งรางวัลจากผลงานเพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานซึ่งเหมือนจะเป็นสิ่งที่ดีที่เรียกว่า "โบนัส"ข้าราชการที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่หากดูในรายละเอียดแล้วจะพบว่าเงินส่วนนี้จะตกอยู่กับผู้บริหารหน่วยงานมากกว่าผู้ปฏิบัติงานอันจะเป็นแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้ข้าราชการหลายท่านไม่อยากทำงานตัวชี้วัดเพราะงานประจำที่มีอยู่ก็มากพอ จะต้องทำรายละเอียดเรื่องตัวชี้วัดเพิ่มงานจนไม่คุ้มกับโบนัสที่ได้เท่ากับผู้บริหาร ความรู้สึกนี้ควรมีการปรับปรุงโดยเหตุผลดังนี้
๑.การพัฒนาองค์กรนอกจากการนำของผู้นำองค์กรแล้วจะเกิดจากความร่วมใจของบุคคลในองค์กร เมื่อแรงจูงใจที่ได้รับน้อยกว่าผู้บริหารจึงไม่อยากทำอย่างจริงจัง และมักจะมีข้อมูลที่ไม่ได้มีการทำจริงเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มให้ได้คะแนนสูง
๒.องค์กรจะพัฒนาได้ด้วยแรงจูงใจต้องสร้างจากระดับล่างให้เกิดความรู้สึกถึงความสำคัญของบุคลากรระดับล่างขึ้นสู่ระดับบน แต่ในระดับล่างกับมีภาวะความพร้อมด้านการเงินน้อยและยังได้รับโบนัสน้อย ส่วนงานกับมากขึ้นจึงเกิดความรู้สึกไม่ใช่เรื่องของตนเองที่จะพัฒนาองค์กรที่ตนมีอยู่
๓.ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากการดำเนินการตามตัวชี้วัดทั้งสี่ด้านเป็นข้อมูลที่ผู้นำไปใช้มากที่สุดคือผู้บริหาร ทั้งด้านแผน งบประมาณ การติดตามผลและการปรับปรุงองค์กร แต่ข้อมุลที่ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจในการรวบรวมของระดับล่างทั้งให้ขาดความแม่นยำของข้อมูล การนำไปใช้จึงทำให้เกิดการพัฒนาที่ล่าช้าไม่ตรง
๔.การดำเนินการของผู้บังคับบัญชาไม่ถูกประเมินโดยระดับล่างอย่างแท้จริงทำให้เกิดกรณีความไม่เป็นธรรมในสังคมมีอยู่ในทุกวงการข้าราชการ
อยากขอเสนอความเห็น ดังนี้
๑.ขอให้มีการประเมินผลการบริหารของผู้บังคับบัญชาแบบ ๓๖๐ องศาอย่างแท้จริง และดำเนินการโดยมีองค์กรภายนอกร่วมตรวจสอบ
๒.ปรับระบบโบนัสให้ข้าราชการชั้นล่างได้มากขึ้นผู้บริหารได้น้อยลงเพื่อเป็นรางวัลจูงใจในการทำข้อมูลตัวชี้วัดที่ถูกต้องและผู้บริหารได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลการบริหารอย่างแท้จริง
๓.หากต้องการให้ผู้บริหารได้รับเงินรางวัลที่สูงก็ดำเนินการจัดตั้งรางวัลต่างๆสำหรับการแข่งขันระหว่างหน่วยงานในการสร้างแรงจูงใจผู้บริหาร และพัฒนาเร็วยิ่งขึ้น เช่น รางวัลผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงด้านบริการ ผู้นำด้านการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ หรือรางวัลผู้บริหารที่มีข้าราชการในหน่วยงานและประชาชนเห็นว่ามีคุณธรรมมากที่สุด เป็นต้น
หากใครเห็นด้วยช่วยโพสหน่อย
nai    4 มิถุนายน 2553 17:25:31    IP: 203.154.147.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th