เราพุดกันแต่ปฏิรูปการศึกษาโดยไม่ชัดเจนว่า การพัฒนาคุณภาพคนในชาติต้องใช้การศึกษา การศาสนา และวัฒนธรรมที่ต้องไปพร้อมๆกันอย่างบูรณาการ แต่หากมองการเปลี่ยน ศธ ต้องมอง อย่างน้อยสองมุมมอง
มุมมองแรกโครงสร้างการบริหารจากการวิวัฒนาการมานานร้อยปี ศธ ได้เพิ่มองค์กรกรมต่างๆตามความเหมาะสมและจำเป้นของลักษณะงาน แต่ก้ยังคงเอกภาพของความเป็นชาตินั่นคืดการพัฒนาที่ใช้การศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรมอยู่ร่วมกัน ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการแยก *** ย้าย กรมต่างรวมทั้งตั้งกระทรวงใหม่ ถามว่าที่ดำเนินการมานั้นประชาชนได้ประโยชน์อะไรบ้าง ประหยัดงบประมาณได้จริงหรือ เพราะผลของการเปลี่ยนที่เห็นชัดเจนคือข้าราชการมีตำแหน่งเพิ่มมากมาย หน่วยงานใหม่ขอสร้างอาคารสถานที่มากมาย ตอนนี้ก็มีการเปลี่ยนตั้งแต่ขอใช้ชื่อเดิมของกรมพลสึกษา ขอออกกฏหมายเฉพาะของตนเองของกรม การศึกษาเอกชน กรมการศึกษานอกดรงเรียน กรมอาชีวศึกษา กรมสามัญศึกษา สรุปแนวโน้มว่าจะกลับไปสู่ความคิดของบรรพบุรุษเมื่อร้อยปีก่อน สงสัยว่า กพร คิดอย่างไรเมื่อจะเปลี่ยนแปลงวันนั้น
ประการที่สอง การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ที่ผลสรุปจะลงว่ามีปัญหาที่ครุผู้สอน อันดับแรกเราไม่เคยมองไปที่แม่พิมพ์ผู้ผลิตครุผุ้สอนบ้างเลยคณะครุศาสตรืของมหาวิทยาลัยต่างๆใช้วิธีสอนอะไร นักศึกษาเรียนวิธีสอนด้วยการฝึกสอนจริงกี่ชั่วโมงหรือทำรายงานวิธีสอน ต่อมาเรามาดูการประเมินผลงานวิชาการ เพราะเราม่งประเมินเอกสารครุจึงท้งการสอนไปม่งทำเอกสารพร้อมการท้งนักเรียนครูขาดที่พึ่งทางวิชาการเพราะผลการเปลี่ยน ศธ ทำให้โรงเรียนบางแห่งห่างไกลหน่วยนิเทศทางวิชาการนับ 100 กม เราต้องเอาคุณภาพการศึกษาเป็นฐานการประเมินความสามารถของการบริหารตั้แต่ รัฐมนตรี ลงไปถึงผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นอันดับแรก แลงจึงค่อยโทษครุผุ้สอน
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรถูกตำหนิมากที่สุดคือ กพร ที่มุ่งประหยัดงบประมาณอย่างเดียว จึงตัดเสื้อโหลให้หน่วยงานราชการไทยทั้งประเทศใช้ นั่นคือการ*** รวม หน่วยงานระดับอำเภอ จังหวัด จึงควรทำวจัยว่าผลงานกพร สร้างอะไรให้เมืองไทยอย่างไรบ้าง |