สำนักเผยแพร่และสนับสนุนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการได้พิจารณาข้อคิดเห็นคำถาม คำตอบข้อคำถามในประเด็นต่างๆ สรุป ดังนี้
1. ที่มาของผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) ที่มาของผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) จาก พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ที่กำหนดหลักการในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนด้วยวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามนัยมาตรา 3/1 และ
จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 ที่เห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ระบุเงื่อนไขความสำเร็จในการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยไปสู่การปฏิบัติ ว่า การบริหารการเปลี่ยนแปลงต้องได้รับการยอมรับ สนับสนุน และแสดงบทบาทการเป็นเจ้าของโดยผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการและจะต้องมีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบงานและการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็คือผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Chief Change Officer) หรือ CCO ที่มีบทบาทในการเป็นผู้นำที่บริหารเกื้อหนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และทำงานร่วมกับกลุ่มพัฒนาระบบบริหารของแต่ละส่วนราชการในการเป็นเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ
2. อำนาจหน้าที่ของผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO)
รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ โครงการการพัฒนาเครือข่ายการพัฒนาระบบราชการ ได้สรุปอำนาจหน้าที่ของผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) ไว้ดังนี้
1) เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารภายในหน่วยงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และเจตนารมณ์การพัฒนาระบบราชการไทย และผลักดันให้หน่วยงานและบุคลากรในหน่วยงานปฏิบัติตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบรารบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ ก.พ.ร.กำหนด เพื่อนำองค์กรไปสู่การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
2) เป็นแกนกลางประสานการดำเนินงานระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานภายในเพื่อให้การปฏิบัติงาน เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารราชการ บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผล
3) เป็นผู้นำการกระตุ้น เร่งเร้า ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร
4) ติดตามรายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ และนำเสนอผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานเพื่อสั่งการ
5) สื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับข้าราชการในองค์กร เพื่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาระบบบริหารราชการ
6) เป็นต้นแบบของการบริหารการเปลี่ยนแปลง
3. คุณสมบัติของผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO)
ผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) นอกจากจะเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรแล้วควรมีคุณสมบัติต่อไปนี้ด้วย (1)
1) ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ สถานการณ์ทั่วไปของโลกและประเทศ
2) ต้องเป็นผู้ที่มีความรอบรู้และทัศนคติที่ดีต่องานในองค์กร
3) สามารถทำงานร่วมกับผู้บริหารสูงสุดขององค์กรได้ดี
4) สามารถดำเนินงานร่วมกับทีมงานการบริหารการเปลี่ยนแปลง
(กลุ่มงานพัฒนาระบบบริหาร) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5) เป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงานในองค์กร
6) มีความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาองค์กรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
7) มีความกระตือรือร้น เอาใจใส่ มุ่งมั่น และอดทนในการปฏิบัติงาน
8) มีความยืดหยุ่นและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
4. ความหมายผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) ของส่วนราชการ
ผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) คือ ผู้บริหารระดับสูงสุดระดับหัวหน้าหน่วยงาน หรือรองหัวหน้าหน่วยงรับมอบหมายให้ทำหน้าที่ช่วยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานในการพัฒนาระบบงานและการบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร ทั้งนี้ ผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) ในแต่ละหน่วยงานราชการ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) ผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง(CCO) ระดับกระทรวง หมายถึง ปลัดกระทรวงหรือรองปลัดกระทรวงที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงให้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบงานและการบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการระดับ กระทรวง
(1) คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี, คำกล่าวเปิดการประชุมสัมมนา ผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง(Chief Change Officer: CCO)
ณ โรงแรมดุสิตธานี รีสอร์ท พัทยา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2550
2) ผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (CCO) ระดับกรม หมายถึง
อธิบดีหรือรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายจากอธิบดีให้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบงานและ
การบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการระดับ กรม
3) ผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง(CCO) จังหวัด หมายถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการพัฒนาระบบงานและการบริหารการเปลี่ยนแปลงในส่วนราชการระดับ จังหวัด
|