Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้

เวทีความเห็น และรับเรื่องร้องเรียน

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ตามแผนพัฒนาองค์การ


ตามที่สนง.ก.พ.ร. ได้ส่งตัวชี้วัดผลลัพธ์ของแผนพัฒนาองค์การให้ส่วนราชการพิจารณาเพื่อเลือกตามเงื่อนไขที่กำหนด
 เพื่อให้การดำเนินการวัดผลตามตัวชี้วัดถูกต้องตามเป้าหมายของสำนักงาน ก.พ.ร.  จึงขอนิยามของตัวชี้วัด
หมวด 4
  1.ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้ข้อมูลต่อระบบฐานข้อมูลขององค์กร
  2.ร้อยละของความครอบคลุมถูกต้อง และทันสมัยของฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์อย่างน้อย 1 ประเด็นยุทธศาสตร์

และ
หมวด 6
  1.ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  2.ร้อยละของกระบวนการสร้างคุณค่าที่มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน(Work Manual)

ขอบคุณคะ
ramona    15 กุมภาพันธ์ 2553 09:10:24    IP: 202.57.155.xxx

ความเห็นที่ 1
คำถามเพิ่มเติม
หมวด 4
ตัวชี้วัดที่ 1 ระบบฐานข้อมูลขององค์กร หมายถึงฐานข้อมูลใดก็ได้ที่ส่วนราชการมีอยู่แล้วเดิม หรือ ฐานข้อมูลตาม IT 2 และ 3 (ที่อยู่ในส่วนที่ต้องทบทวนของ ปี 51-52) ตามเกณฑ์ปี 53
ตัวชี้วัดที่ 2  หมายถึง ในอย่างน้อย 1 ประเด็นยุทธศาสตร์ ต้องมีสัดส่วนของจำนวนฐานข้อมูลที่ครอบคลุม ถูกต้องและทันสมัยต่อจำนวนฐานข้อมูลทั้งหมดในประเด็นยุทธศาสตร์นั้นให้มากที่สุด ซึ่งจะได้ 5 คะแนน ต้องทำให้ทุกฐานข้อมูลในประเด็นยุทศาสตร์นั้นมีความครอบคลุม ถูกต้องและทันสมัย
ramona    15 กุมภาพันธ์ 2553 09:28:41    IP: 202.57.155.xxx

ความเห็นที่ 2
คำถามเพิ่มเติม
หมวด 6
ตัวชี้วัดที่ 1 กระบวนงานที่นำมาวัดความพึงพอใจต้องไม่น้อยกว่า 3 กระบวนงาน หมายถึงเฉพาะกระบวนงานสร้างคุณค่าเท่านั้นใช่หรือไม่ เนื่องจากกระบวนการสร้างคุณค่าเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการโดยตรง และในแต่ละกระบวนการที่วัดมีความอิสระต่อกันทั้งในแง่กลุ่มเป้าหมายซึ่งอาจซ้ำกันได้ ใช่หรือไม่
ตัวชี้วัดที่ 2 คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึงมาตรฐานการปฏิบัติงานใช่หรือไม่ และมีองค์ประกอบคือ Workflow และมาตรฐานคุณภาพงาน ซึ่งสามารถทำตาม Toolkits ฉบับปรับปรุงใหม่แค่นั้นได้หรือไม่
ramona    15 กุมภาพันธ์ 2553 09:58:35    IP: 202.57.155.xxx

ความเห็นที่ 3
เรียน คุณromona
   นิยามตัวชี้วัด หมวด 4
1.ร้อยละความพึงพอใจของผู้ใช้ข้อมูลต่อระบบฐานข้อมูลขององค์กร
  เป็นการวัดความพึงพอใจจากการสำรวจผู้ใช้ข้อมูล ซึ่งหากใช้แบบสอบถาม ให้เลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นไปตามหลักสถิติตามระเบียบวิธีวิจัย โดยมีนิยามของคำต่างๆ เพิ่มเติม ดังนี้
   ผู้ใช้ข้อมูล หมายถึง ผู้ใช้ข้อมูลภายในองค์กร
   ฐานข้อมูล หมายถึง การรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ภายใต้หัวเรื่องหรือจุดประสงค์ที่สอดคล้องกับหัวข้อประเมินผล และต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการช่วยเก็บ รวมทั้งเก็บอยู่ในแหล่งที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถเข้าใช้ได้โดยสะดวก
2.ร้อยละของความครอบคลุมถูกต้อง และทันสมัยของฐานข้อมูลที่สนับสนุนยุทธศาสตร์อย่างน้อย 1 ประเด็นยุทธศาสตร์
   เป็นการวัดจากจำนวนฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ทั้งด้านครอบคลุม
ถูกต้อง ทันสมัย เมื่อเทียบกับฐานข้อมูลทั้งหมดที่ครอบคลุมในประเด็นยุทธศาสตร์นั้น ๆ โดยมีนิยามของคำต่างๆ เพิ่มเติม ดังนี้
ความครอบคลุม หมายถึง การจัดให้มีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่สนับสนุนการดำเนินการของยุทธศาสตร์นั้น ๆ อย่างครบถ้วน
ความถูกต้อง หมายถึง การจัดให้มีระบบการตรวจสอบข้อมูลก่อนทำการจัดเก็บและภายหลังการจัดเก็บ รวมถึงการมีแบบฟอร์มจัดเก็บข้อมูล และแบบฟอร์มรายงานที่มีรูปแบบเดียวกันทุกพื้นที่
     ความทันสมัย หมายถึง การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน พร้อมที่จะนำไปใช้ประโยชน์อยู่เสมอ

หมวด 6
1.  ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อขั้นตอนการปฏิบัติงาน
     เป็นการวัดความพึงพอใจของผู้รับบริการ ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการปฏิบัติงาน เช่น ความรวดเร็ว ความมีประสิทธิภาพ ความยุ่งยากซับซ้อนของการเตรียมเอกสาร เป็นต้น
โดย ผู้รับบริการ หมายถึง ผู้รับบริการภายนอกที่เกี่ยวข้องกับกระบวนงานหลักนั้นๆ
      ทั้งนี้ กระบวนงานที่นำมาวัดต้องไม่น้อยกว่า 3 กระบวนงาน  โดยจะนำค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของกระบวนงานทั้งหมดมาเป็นผลของตัวชี้วัดนี้ สำหรับกรณีจัดทำแบบสอบถามให้เลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นไปตามหลักสถิติตามระเบียบวิธีวิจัย

2. ร้อยละของกระบวนการสร้างคุณค่าที่มีการจัดทำคู่มือการ  ปฏิบัติงาน (Work Manual)
     เป็นการวัดจากร้อยละของกระบวนการสร้างคุณค่าทั้งหมด เทียบกับกระบวนการสร้างคุณค่าที่ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน โดยการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานอย่างน้อยต้องประกอบด้วย Work Flow และมาตรฐานคุณภาพงาน

หมวด 4
ตัวชี้วัดที่ 1 ระบบฐานข้อมูลขององค์กร  หมายถึง  ฐานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ นอกจากนี้ต้องมีฐานข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการ รวมทั้งตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ต้องประกอบด้วยส่วนประกอบอย่างน้อยดังนี้
      ฐานข้อมูลที่ช่วยสนับสนุน : ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวข้อมูล แหล่งข้อมูล ความถี่ในการเก็บข้อมูล การสอบทานข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูล
       ฐานข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน : ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ/ตามคำรับรอง การสนับสนุนตัวข้อมูล แหล่งข้อมูล ความถี่ในการเก็บข้อมูล การสอบทานข้อมูล ผู้ใช้ข้อมูล สำหรับตัวชี้วัดตามคำรับรองส่วนราชการต้องมีครบทุกมิติตั้งแต่ปี 2549-2553
      ตัวชี้วัดที่ 2  ความครอบคลุมจะพิจารณาจากสัดส่วนของจำนวนฐานข้อมูลที่ครอบคลุม ถูกต้องและทันสมัยต่อจำนวนฐานข้อมูลทั้งหมดในประเด็นยุทธศาสตร์นั้น ๆ  ซึ่งเข้าใจถูกต้องแล้ว

หมวด 6
ตัวชี้วัดที่ 1  ตัวชี้วัดนี้มิได้อยู่ในตัวชี้วัดแนะนำของสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นการกำหนดเองของส่วนราชการ ซึ่งแนวคิดของท่านถูกต้อง เนื่องจากควรเลือกกระบวนการที่เป็นกระบวนการที่สร้างคุณค่าสร้างคุณค่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า  เนื่องจากกระบวนการสร้างคุณค่าเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการโดยตรง แต่ในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย หรือ กลุ่มตัวอย่างมีโอกาสซ้ำกันได้

ตัวชี้วัดที่ 2   คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง เปรียบเสมือนแผนที่นำทางการทำงานตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด ของกระบวนการเป็นการระบุถึงขั้นตอนและรายละเอียดของกระบวนการต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานไว้ใช้อ้างอิงมิให้เกิดข้อผิดพลาดในการทำงานซึ่งตามเกณฑ์ PMQA (PM5) ได้กำหนดองค์ประกอบขั้นต่ำคือ Work flow และมาตรฐานคุณภาพงาน ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมแนวทางการจัดทำตาม Toolkit ฉบับปรับปรุงใหม่
     ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ของส่วนราชการระดับจังหวัด ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.opdc.go.th/special.php?spc_id=4&content_id=1444

    ขอขอบคุณ
opdc    22 กุมภาพันธ์ 2553 10:03:52    IP: 203.185.154.xxx
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th