การพัฒนาศูนย์บริการร่วม / เคาน์เตอร์ บริการประชาชน ซึ่ง ก.พ.ร. ได้กำหนดให้
ระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เป็นตัวชี้วัดภาคบังคับในทุกกระทรวง กรม และ พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2553 ได้กำหนดให้วัด
ระดับความสำเร็จของจังหวัด มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 การพัฒนาศูนย์บริการร่วม หรือเคาน์เตอร์บริการประชาชน เพื่อรักษามาตรฐานการให้บริการ และประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากศูนย์บริการร่วม ทำให้มีการตั้ง ศูนย์บริการร่วมหรือ Services Link: SL ในแหล่งชุมชนหรือในย่านการค้า และเคาน์เตอร์บริการประชาชน (Government Counter Service: GCS) เพื่อเพิ่มความสะดวกให้แก่ ประชาชน ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2551 มีศูนย์บริการร่วม 102 แห่ง และเคาน์เตอร์บริการประชาชน 17 แห่ง และ มีศูนย์บริการร่วมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฯ 19 แห่ง เคาน์เตอร์บริการประชาชน 9 แห่ง โดยศูนย์บริการร่วม 4 แห่ง และ เคาน์เตอร์บริการประชาชน 2 แห่ง ได้รับรางวัลมาตรฐานศูนย์บริการร่วมและรางวัลมาตรฐานเคาน์เตอร์บริการประชาชนตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2552 มีศูนย์บริการร่วม 94 แห่ง และเคาน์เตอร์บริการประชาชน 19 แห่ง โดยมีศูนย์บริการร่วมที่ได้รับการ รับรองมาตรฐานฯ 12 แห่ง เคาน์เตอร์บริการประชาชน 5 แห่ง โดยศูนย์บริการร่วม 3 แห่ง และเคาน์เตอร์บริการประชาชน 3 แห่ง ได้รับรางวัลมาตรฐาน ศูนย์บริการร่วมและรางวัลมาตรฐานเคาน์เตอร์บริการ ประชาชนตามลำดับ และในปี พ.ศ. 2553 มีศูนย์บริการร่วม100 แห่ง และเคาน์เตอร์บริการประชาชน 19 แห่ง รวม 119 แห่ง (ตารางที่ 2.2-2)
ทั้งนี้ มีศูนย์บริการร่วมที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฯ 13 แห่ง เคาน์เตอร์บริการประชาชน 7 แห่ง โดยศูนย์บริการร่วมกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เขตดินแดง และเขตคลองเตย (รวม 2 ศูนย์) ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพลังงาน (1 ศูนย์) และศูนย์บริการร่วมกระทรวงแรงงานจังหวัดตาก (1 ศูนย์) ได้รับรางวัล ชมเชยด้านการบริหารจัดการ และเคาน์เตอร์บริการประชาชนจังหวัดกาญจนบุรี ได้รับรางวัลดีเด่นด้านการส่งเสริมภาพลักษณ์ และเคาน์เตอร์บริการประชาชนจังหวัดลำปาง ได้รับรางวัลชมเชยด้านการบริหารจัดการ
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 3 มีนาคม 2557 16:02:48 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 3 มีนาคม 2557 16:02:48