Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 (มีส่วนร่วม) / การพัฒนาและส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะและการเปิดให้หน่วยงาน /องค์กรในภาคส่วนอื่นสามารถเสนอตัวเข้ามาให้บริการสาธารณะของรัฐ / การดำเนินการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการปี 2546-2549 / 14) กระทรวงยุติธรรม

14) กระทรวงยุติธรรม

| ผู้รับผิดชอบ:

กระทรวงยุติธรรม

14.1   การจัดกลุ่มภารกิจ ได้ปรับปรุงการจัดกลุ่มภารกิจใหม่เมื่อปี 2547 โดยปรับปรุงชื่อและส่วนราชการในกลุ่มภารกิจด้านเสริมสร้างความยุติธรรมซึ่งมี กรมคุมประพฤติ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เป็นกลุ่มภารกิจด้านบริหารงานยุติธรรม โดยนำกรมบังคับคดีมากำหนดแทนกรมคุมประพฤติ และนำกรมคุมประพฤติไปกำหนดเพิ่มในกลุ่มภารกิจด้านพัฒนาพฤตินิสัย

14.2    การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการ 
           14.2.1  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่เมื่อปี 2548 ให้สามารถรองรับนโยบายสำคัญและภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามยุทธศาสตร์และขั้นตอนการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดเพื่อให้สามารถประสานและสนับสนุนการดำเนินงานของจังหวัดโดยเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการวางระบบเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่มากขึ้น ทั้งนี้ โดยปรับปรุงสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภาคจาก 4 ภาคเป็น 9 ภาค และสำนักงานปัองกันและปราบปรามยาเสพติดกรุงเทพมหานคร และเพิ่มสถาบันวิชาการและตรวจพิสูจน์ยาเสพติด สถาบันสำรวจและติดตามการ
ปลูกพืชเสพติด  ปรับปรุงกองการต่างประเทศเป็นสำนักการต่างประเทศ และสำนักนโยบายและแผนเป็นสำนักยุทธศาสตร์

           14.2.2   กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีการกำหนดสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมทุกเขตพื้นที่จังหวัดทั่วประเทศภายในเวลา 3 ปี โดยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2547 และเพื่อให้เด็กและเยาวชนที่กระทำผิดได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ของประเทศไทยตามสิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และได้นำกระบวนการยุติธรรมทางเลือกตลอดจนเครือข่ายความร่วมมือจากภาคประชาชนและภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนการดำเนินการ

           14.2.3   กรมราชทัณฑ์ มีการจัดตั้งทัณฑสถานหญิงระยอง เรือนจำกลางเขาบิน เรือนจำกลางวังทอง    ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ การยกฐานะเรือนจำจังหวัดเป็นเรือนจำกลาง 6 แห่ง (สุรินทร์ เพชรบุรี ตาก ปัตตานี สมุทรสงคราม และนครพนม) เพื่อรองรับผู้ต้องขังที่มีโทษสูง การจัดตั้งเรือนจำอำเภอ 3 แห่ง (ชัยบาดาล นาทวี และเกาะสมุย) การจัดตั้งสถานกักขังกลางจังหวัดเพิ่มขึ้น  3 แห่ง (ลำปาง ร้อยเอ็ด และนครศรีธรรมราช)จากเดิมซึ่งมีเพียง 2 แห่งในภาคกลาง และภาคตะวันออก คือ ปทุมธานีและตราด เพื่อรองรับการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการลงโทษผู้ต้องขังแทนค่าปรับซึ่งจะไม่ให้กักขังไว้ในเรือนจำ สถานีตำรวจ หรือสถานที่ควบคุมผู้ต้องหาของพนักงานสอบสวน

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 กรกฎาคม 2551 14:45:49 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 กรกฎาคม 2551 14:45:49
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th