กระทรวงการต่างประเทศ
4.1 การดำเนินการตามบทเฉพาะกาล มาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
พ.ศ. 2545 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้โอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ หนี้ สิทธิ ภาระผูกพัน ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของกรมวิเทศสหการ และบรรดาอำนาจหน้าที่ของ ผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในกรมวิเทศสหการไปเป็นของส่วนราชการหนึ่งส่วนราชการใดของกระทรวงการต่างประเทศ หรือของผู้ดำรงตำแหน่งหรือผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการดังกล่าว แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะกำหนดให้การกำหนดรายละเอียดบางกรณีเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีหรือประกาศของรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก็ได้ เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งขึ้นใช้บังคับแล้ว ให้ถือว่ากรมวิเทศสหการเป็นอันยุบเลิก ซึ่งได้มีการยุบเลิกกรมวิเทศสหการ ควบคู่ไปกับการพิจารณาหน่วยงานเพื่อรองรับประเทศตามยุทธศาสตร์การต่างประเทศ โดยมีการจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ ขึ้นเป็นส่วนราชการที่ไม่มีฐานะเป็นกรม ในกระทรวงการต่างประเทศ19
4.2 การจัดกลุ่มภารกิจ
มีการจัดกลุ่มภารกิจในกระทรวงการต่างประเทศ เป็น 3 กลุ่มภารกิจ คือ กลุ่มภารกิจด้านความสัมพันธ์ทวิภาคี กลุ่มภารกิจด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ และกลุ่มภารกิจด้านส่งเสริมกิจการต่างประเทศ20
4.3. การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการ
4.3.1 สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการต่างประเทศได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่เมื่อปี 2549 โดยจัดตั้งสำนักจัดหาและบริหารทรัพย์สิน สำนักบริหารการคลัง และสำนักบริหารบุคคล เนื่องจากการบริหารทรัพยากรทั้งทรัพย์สิน งบประมาณ และบุคลากรของกระทรวงรวมศูนย์ไว้ที่สำนักงานปลัดกระทรวง และมีขอบเขตในการดูแลรับผิดชอบทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับนโยบายรัฐบาลด้านการต่างประเทศเชิงรุกมุ่งขยายบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ และส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนานาประเทศ โดยรัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศระดับชาติซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและได้มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพหลักในการบริหารภารกิจด้านการต่างประเทศแบบบูรณาการ ภายใต้หลักการ Minimize Resources, Maximize Coverage ทำให้กระทรวงการต่างประเทศต้องปรับบทบาท ภารกิจโครงสร้าง ระบบงาน และเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยงานส่วนกลางที่จะทำหน้าที่ Back Office ให้กับสถานเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการ 60 แห่งทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริม Internal Management of External Relations ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
4.3.2 กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการภายใต้กรอบการปฏิรูปส่วนราชการในต่างประเทศ (Revamp) และที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศระดับชาติที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งในระยะ
ที่ผ่านมาได้ดำเนินการปรับโครงสร้างส่วนราชการในต่างประเทศอย่างเป็นขั้นเป็นตอนมาโดยลำดับ นับตั้งแต่โครงการทดลองนำร่องเอกอัครราชทูตแบบบูรณาการใน 6 ประเทศ2 และการประเมินผลโดย สกว. รวมทั้งได้ริเริ่มการบูรณาการใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทวิภาคี การจัดทำโครงการนำร่องงบประมาณแบบบูรณาการในลักษณะ Strategic fund และการจัดโครงสร้างส่วนราชการและบุคลากรประจำการในต่างประเทศ
19 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547
20 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2546
21 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทร์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี และคณะแทนไทยประจำสหภาพยุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์
เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 กรกฎาคม 2551 13:13:44 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 กรกฎาคม 2551 13:13:44