Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 (มีส่วนร่วม) / การพัฒนาและส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะและการเปิดให้หน่วยงาน /องค์กรในภาคส่วนอื่นสามารถเสนอตัวเข้ามาให้บริการสาธารณะของรัฐ / การดำเนินการปรับบทบาทภารกิจและโครงสร้างส่วนราชการปี 2546-2549 / 1) สำนักนายกรัฐมนตรี

1) สำนักนายกรัฐมนตรี

| ผู้รับผิดชอบ:

สำนักนายกรัฐมนตรี

1.1 การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในส่วนราชการ

     1.1.1  สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่เมื่อ
ปี 2547  โดยจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เพื่อรองรับงานด้านการเป็นศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศของสำนักนายกรัฐมนตรี  นอกจากนี้  ได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคขึ้นเป็นหน่วยงานภายในสำนักตรวจราชการ เพื่อให้เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพของรองนายกรัฐมนตรีในการกำกับและติดตาม
ผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาค 
     1.1.2  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี  ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ เมื่อปี 2549 เพื่อรองรับภารกิจในการสนองงานการจัดประชุมของคณะรัฐมนตรีและงานวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดตั้งเป็นกองการประชุมคณะรัฐมนตรี  พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจของสำนักบริหารการประชุมคณะรัฐมนตรีและเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักวิเคราะห์เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ได้จัดตั้งสำนักพัฒนายุทธศาสตร์และติดตามนโยบายพิเศษของคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่  เพื่อเป็นการรองรับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นหน่วยขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลทางการบริหาร และรองรับภารกิจพิเศษในเรื่องของการชำระและพัฒนา
มติคณะรัฐมนตรี
     1.1.3  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  ได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ ใน
ปี 2549  โดยจัดตั้งสำนักแผนและการพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นใหม่ เพื่อรองรับบทบาทภารกิจในด้านการเป็นหน่วยนโยบายและแผนงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และการสร้างเครือข่ายในงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้เกิดพลังร่วมที่เข้มแข็งในการผลักดันงานคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ได้พัฒนางานบริการด้านการร้องเรียนและการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคโดยยกฐานะกองนิติการขึ้นเป็นสำนักกฎหมายและคดี  
     1.1.4  สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ  ได้มีการปรับบทบาทภารกิจให้เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบงานข่าวเศรษฐกิจ  เพื่อจัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจการค้าของประเทศให้เป็นปัจจุบัน  ทันเหตุการณ์  และเพียงพอต่อการเจรจาการค้า  โดยมีขอบเขตงานแต่ละส่วนราชการ  ดังนี้

  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  รับผิดชอบหลักในการจัดทำข้อมูลข่าวกรองเศรษฐกิจ  ซึ่งเป็นข้อมูลเศรษฐกิจเชิงลึกที่จะต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม  และต้องมีการเฝ้าระวังสถานการณ์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นปกติประจำ
  • สำนักข่าวกรองแห่งชาติ  รับผิดชอบหลักในการจัดทำข้อมูลข่าวกรองเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ  หรือที่มีผลกระทบต่อการเมือง  และความมั่นคงของประเทศ  ซึ่งจำเป็นต้องสืบสวนเจาะลึก

1.2 การจัดตั้งองค์การมหาชน

     1.2.1  สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้10 จัดตั้งขึ้นเพื่อให้มีการบริหารจัดการ การเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนที่กว้างขวางมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน และสอดคล้องกับเหตุการณ์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเรียนรู้  รวมทั้งประสานการสร้างเครือข่ายของภาคส่วนต่าง ๆ ที่ให้บริการความรู้เข้าด้วยกัน  เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาความสามารถของตน  โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้สาธารณะอันเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการสะสมและเสริมสร้างปัญญา ขยายฐานความรู้และสร้างศักยภาพทางความรู้ให้แก่ตนเอง ซึ่งจะเป็นการลงทุนทางปัญญาและพัฒนาบุคลากรของประเทศโดยผ่านสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ 
     1.2.2  สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน11 จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดตาม ประสานงานระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ  และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนซึ่งจะนำทรัพย์สินของภาครัฐและภาคเอกชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือเกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ อันจะเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้และกระตุ้นให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ ส่งผลให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 
     1.2.3  องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน12 จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวซึ่งจะช่วยเพิ่มและกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยให้มีการบริหารและพัฒนาพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงบูรณาการ หรือส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวให้มีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพ รวมทั้งสามารถระดมบุคลากร งบประมาณ และเครื่องมือเครื่องใช้มาใช้ในการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างมีเอกภาพและแก้ไขปัญหาโดยรวดเร็ว ตลอดจนส่งเสริมให้มีการนำความรู้ด้านการบริหารจัดการสมัยใหม่มาใช้เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้

1.3  การจัดตั้งหน่วยงานในกำกับ

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ13 จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยปรับเปลี่ยนจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับจัดสรรเงินทุนหมุนเวียนแก่กองทุนหมู่บ้าน เป็นกลไกให้ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมืองนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ หรือเพิ่มรายได้ และลดรายจ่ายในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง และเพื่อให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ รวมทั้งกองทุนหมู่บ้านและกองทุนชุมชนเมืองสามารถพัฒนาเป็นสถาบันการเงินชุมชนในอนาคต โดยมีกระบวนทัศน์ด้านการบริหารและการพัฒนาที่มุ่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีรูปแบบ วิธีการคิด และมุมมองที่เปิดกว้าง มีคุณธรรมและมีการเรียนรู้ร่วมกัน โดยอาศัยหลักของการเอื้ออาทรในรูปแบบกัลยาณมิตร ตลอดจนมีการสร้างและพัฒนาความคิด ความเข้าใจให้เป็นระบบในลักษณะของการบูรณาการทุกเรื่องเข้าด้วยกันและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายกองทุนในทุกระดับอย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ที่เป็นการเสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้วยการให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตและจัดการหมู่บ้านหรือชุมชนตามภูมิปัญญาหรือทุนทางสังคมของตนเอง

1.4  การแปรสภาพหน่วยงานเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit : SDU)
     1.4.1  การแปรสภาพสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ14 โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (ช่อง 11) คงดำรงวัตถุประสงค์เดิมที่ไม่มีการโฆษณายกเว้นเฉพาะการโฆษณาในลักษณะที่เป็นการเผยแพร่ภาพพจน์ขององค์กร (Corporate Image) โดยยังได้รับการสนับสนุนเงินงบประมาณอย่างเพียงพอ 
     1.4.2  การแปรสภาพกองโรงพิมพ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและ
ราชกิจจานุเบกษา (หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ) และการแปรสภาพสถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร.  เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ15 ทั้งนี้ ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการเบิกจ่ายในส่วนงานโรงพิมพ์จากเงินกองทุนหมุนเวียนจำนวน 97,430,664.61 บาท  ต่อไป
     1.4.3  การจัดตั้งสำนักงานกำกับระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)  เป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ 16 โดยให้สังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีไปก่อน และเมื่อพิจารณาจัดวางระบบครบถ้วนสมบูรณ์แล้วให้โอนไปสังกัดกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังต่อไป


10 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547

11 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่ 2  มิถุนายน 2546

12 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2  มิถุนายน 2546

13 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2547

14 ตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548

15 ตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมวันที่  20  มิถุนายน  2549  โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2548

16 ตามมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2549

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 11 กรกฎาคม 2551 12:18:04 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 11 กรกฎาคม 2551 12:18:04
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th