Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 (มีส่วนร่วม) / การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม / ที่มา 2553

ที่มา 2553

| ผู้รับผิดชอบ:

การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม

1.1 ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมสำหรับข้าราชการระดับกระทรวง/กรม ที่มีบทบาทสำคั­ในการเป็นผู้เปลี่ยนแปลงกลไกในการกำหนดนโยบายและพัฒนาระบบบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมและนำไปสู่การขยายผลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในระดับกระทรวงโดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วยการนำร่องใน 3 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมประชาสัมพันธ์ และในปี พ.ศ. 2552 ได้ศึกษาการดำเนินงานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ และประเมินผลการมีส่วนร่วมจากประสบการณ์เพื่อสรุปบทเรียนการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมที่ส่วนราชการดำเนินการ ตลอดจนปัญหา อุปสรรค หรือปัจจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ต่อการดำเนินงานในภารกิจด้านการสาธารณสุข ด้านทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและด้านการท่องเที่ยว เพื่อนำข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางหรือกลยุทธ์การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยเฉพาะรูปแบบการเข้ามาเกี่ยวข้อง รูปแบบการร่วมมือ และรูปแบบการเสริมอำนาจประชาชน ให้ส่วนราชการต่าง ๆ นำไปประยุกต์ใช้กำหนดกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมไป สู่การปฏิบัติรวมทั้งนำข้อเสนอเกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาหรือปรับปรุงกฎหมาย ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนไปดำเนินการ

1.2 การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัดมีความเข้มข้นขึ้นเป็นลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ก.พ.ร. ได้ส่งเสริมการสร้างระบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัดเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม โดยมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมสำหรับข้าราชการในระดับจังหวัด และสร้างความเข้มแข็งและกลไกการมีส่วนร่วมในระดับจังหวัดซึ่งเป็นการวางแนวทางในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม รวมทั้งส่งเสริมการขยายผลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นในระดับจังหวัดทั้ง 75 จังหวัด (ภาพที่ 2-31)



 

จาก การประเมินผลเพื่อมอบรางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ให้กับจังหวัด ซึ่งสถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ประเมินผลการดำเนินการของจังหวัด ที่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ และก่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยการมีส่วนร่วมที่เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน และมีความยั่งยืนที่จะดำเนินการต่อไป พบว่ามีจังหวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินเข้ารับรางวัลเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2551 กับปี พ.ศ. 2552 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งนี้รางวัลที่มอบให้จังหวัดที่ผ่านเกณฑ์แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับดีเยี่ยม ระดับดี และระดับชมเชย (ตารางที่ 2-7)



 
1.3 การส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วม
ในการบริหารราชการ และการพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเครือข่าย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเข้มแข็งให้กับสมาชิกเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการให้มีความสามารถในการเข้ามามีส่วนร่วมและทำงานร่วมกับภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ที่ได้ดำเนินการในจังหวัดต่าง ๆ ทั้ง 4 ภูมิภาคได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2552 ได้ดำเนินงานเสริมสร้างความเข้มแข็งโดยจัดทำฐานข้อมูลสมาชิกเครือข่ายฯ ให้ถูกต้องและทันสมัย จัดกิจกรรมการสร้างปฏิสัมพันธ์ การทำงานที่เชื่อมโยง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสมาชิกเครือข่ายการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการพัฒนาระบบราชการ ออกแบบและกำหนดแนวทางการจัดทำวารสารของเครือข่ายการมีส่วนร่วมภาคประชาชนฯเพื่อใช้เป็นเอกสารหรือช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรายงานความเคลื่อนไหวของสมาชิกเครือข่ายการมีส่วนร่วมภาคประชาชน รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป




 

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 27 สิงหาคม 2553 16:39:08 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2553 13:50:44
    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th