Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้
ยุทธศาสตร์ปี 2551-2555 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 (ดี) / นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี

นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี

| ผู้รับผิดชอบ:

ความเป็นมา




    สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนาระบบราชการและส่งเสริมธรรมาภิบาลในภาครัฐ ดังปรากฏในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 71/10 (1) บัญญัติให้ ก.พ.ร. มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทนและวิธีปฏิบัติราชการอื่นให้เป็นไปตามมาตรา 3/1 โดยจะเสนอแนะให้มีการกำหนดเป้าหมาย  ยุทธศาสตร์ และมาตรการก็ได้
    ดังนั้น เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารราชการอย่างเป็นรูปธรรม จึงเห็นสมควรกำหนดให้ส่วนราชการ จังหวัด สถาบันอุดมศึกษา และองค์การมหาชน จัดทำแนวทางปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในระดับองค์การ เรียกว่า นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี นอกเหนือจากประมวลจริยธรรมในระดับบุคคลซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ มีอยู่แล้ว และเพื่อให้การจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีของภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นสากลเทียบเท่าหน่วยงานในต่างประเทศ และองค์การอื่น ๆ ในประเทศไทย สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้กำหนดกรอบนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบ 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ (1) นโยบายด้านรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม (2) นโยบายด้านผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (3) นโยบายด้านองค์การ และ (4) นโยบายด้านผู้ปฏิบัติงาน

ความหมาย

    นโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี หมายถึง การประกาศเจตนารมณ์ขององค์การที่จะดำเนินการและกำหนดนโยบายตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยผู้บริหารของแต่ละองค์การจะต้องวางนโยบายที่เกี่ยวกับรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม  ผู้รับบริการ  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  องค์การและผู้ปฏิบัติงาน  รวมทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติ และมาตรการหรือโครงการ เพื่อให้บรรลุตามนโยบายขององค์การ

 
<
                                                
การดำเนินการของสำนักงาน ก.พ.ร.

    ปี พ.ศ.2551 จัดทำคู่มือนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (Organization Governance) เพื่อให้ส่วนราชการ จัุดมศึกษา และองค์การมหาชน มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี และสามารถนำไปประกอบการจัดทำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

    ปี พ.ศ. 2552 มีการดำเนินการที่สำคัญ ๆ ดังนี้

1)  จัดทำคู่มือ การจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี(Good Governance Rating) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้รับทราบเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลและเกณฑ์การจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating)

2)  จัดให้มีการสำรวจและประเมินผลระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของหน่วยงานนำร่อง จำนวน 10 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมการขนส่งทางบก กรมการพัฒนาชุมชน กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สำนักงาน ก.พ.ร.  สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดชัยนาท โดยหน่วยงานดังกล่าวสามารถนำผลที่ได้รับจากการประเมินการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปพัฒนาเพื่อยกระดับธรรมาภิบาลในหน่วยงานของตนเองต่อไป

3)  จัดเวทีปัญญาสัมมนาวาที เรื่องนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีและการประเมินเพื่อจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี เพื่อทำให้ส่วนราชการได้รับทราบแนวทางในการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่มีความเหมาะสมกับองค์กรของตนเอง

    ปี พ.ศ. 2553 มีการดำเนินการที่สำคัญ ๆ ดังนี้

1) กำหนดเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ หมวด 1 การนำองค์กร โดยส่วนราชการ / ผู้บริหารต้องมีการกำหนดนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (Organizational Governance) เพื่อเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลให้การดำเนินงานของส่วนราชการเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยผู้บริหารจะต้องวางนโยบายอย่างน้อย 4 ดด้แก่ (1) ด้านรัฐ สังคม สิ่งแวดล้อม (2) ด้านผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (3) ด้านองค์การ และ (4) ด้านผู้ปฏิบัติงาน (รหัส LD 5) นอกจากนี้ ส่วนราชการจะต้องมีผลสัมฤทธิ์ของมาตรการ/โครงการตามนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี (รหัส RM 1)

2) จัดเวทีปัญญาสัมมนาวาที เรื่อง แบ่งบันประสบการณ์การนำนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดีในส่วนราชการไปสู่การปฏิบัติ โดยเชิญกรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างส่วนราชการ

3) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดกิจกรรมชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice: COP) เกี่ยวกับนโยบายการกำกับดูแลองค์การที่ดี

    ปี พ.ศ. 2554 กำหนดเป็นตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ในมิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ  ตัวชี้วัด ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ

 


เผยแพร่ข้อมูลเมื่อ 3 มีนาคม 2557 16:05:40 ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดเมื่อ 3 มีนาคม 2557 16:05:40

เอกสาร และ สื่อ

2556    |  2553    |   2552    |   

  • PowerPoint การปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี กระทรวงพลังงาน
  • หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  •     ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

    เกี่ยวกับ

    กฏหมายและระเบียบ

    หนังสือเวียน

    ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

    ศูนย์ความรู้

    ประชาสัมพันธ์

    W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

    Slocan

    สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

    59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th