Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้  

ข่าวเด่น


แผนอำนวยความสะดวกและปลอดภัย รองรับการเดินทาง ของประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559

          กระทรวงคมนาคมได้เสนอเรื่อง แผนอำนวยความสะดวกและปลอดภัย รองรับการเดินทางของประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559ของกระทรวงคมนาคม ใน
การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2558 โดยเป็นเรื่องสำคัญตามนโยบายรัฐบาล 

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยสาระสำคัญของแผนอำนวยความสะดวกและปลอดภัย รองรับการเดินทางของประชาชนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 ของกระทรวงคมนาคม ดังนี้

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          1. แผนอำนวยความสะดวก


              1.1 การให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ
หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดเตรียมพื้นที่สถานีขนส่ง ชานชาลาและพื้นที่จอดรถสำรองให้เพียงพอกับความต้องการเดินทางของประชาชน รวมทั้งจัดเตรียมและเพิ่มจำนวนรถโดยสารประจำทาง เพิ่มจำนวนตู้โดยสารรถไฟ และเที่ยวบินเสริมพิเศษ เพื่อรองรับปริมาณการเดินทางระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2558 – 4 มกราคม 2559 จำนวน 217,983 เที่ยว รองรับผู้โดยสารจำนวน 14,312,529 คน-เที่ยว 

          โดยมีมาตรการรองรับการเดินทางของประชาชน ดังนี้

                  1) จัดเตรียมรถโดยสารประจำทางและรถโดยสารเสริมให้เพียงพอกับความต้องการเดินทางของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างจังหวัด และภายในจังหวัดทั้งเที่ยวไปและเที่ยวกลับ รวมทั้งบริการเชื่อมโยงรับ-ส่งระหว่างสถานีผู้โดยสารกับหมู่บ้าน

                  2) ขอความร่วมมือสมาคมขนส่งสินค้า สมาคมรถบรรทุกและผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกให้หลีกเลี่ยงการใช้รถบรรทุกในช่วงเทศกาลเพื่อบรรเทาปัญหา
การจราจรและป้องกัน การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงในช่วงเทศกาล

                  3) จัดรถ Shuttle Bus รถเฉพาะกิจฟรีช่วงวันที่ 29-30 ธันวาคม 2558 เวลา 16.00-22.00 น. (ขาออก) และวันที่ 3-4 มกราคม 2558 เวลา 05.00 - 08.00 น. (ขาเข้า) จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ สาย 3 วงกลมอู่หมอชิต 2 - สถานีรถไฟฟ้า BTS จตุจักร และสาย 54 อู่หมอชิต 2 – อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 

                  4) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ขยายเวลาในการให้บริการเดินรถไฟฟ้าในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ถึงเวลา 02.00 น. ของวันที่ 1 มกราคม 2559

                  5) จัดตั้งหน่วยบริการประชาชนในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ จำนวน 20 จุด

                  6) จัดเรือด่วนเสริมพิเศษ ท่าเรือสะพานสาทร – ท่าเรือเอเชียทีค ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2558 – 1 มกราคม 2559 ตั้งแต่เวลา 18.00 – 24.00 น.

            1.2 การอำนวยความสะดวกด้านโครงข่ายถนน

                  1) ยกเว้นค่าธรรมเนียมผ่านทางพิเศษ เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาจราจรบริเวณหน้าด่าน

                      1.1) ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์สายตะวันออก) และ 9 (ถนนกาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 25 ธันวาคม 2558 ถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 3 มกราคม 2559

                      1.2) ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา-ชลบุรี) ตั้งแต่เวลา 00.01 น. ของวันที่ 25 ธันวาคม 2558 ถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 3 มกราคม 2559

                  2) หยุดดำเนินการก่อสร้าง/ซ่อมแซมถนนและสะพานในช่วงเทศกาล พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องหมายเตือน ป้ายแนะนำ และไฟสัญญาณเป็นระยะๆ ให้ชัดเจนก่อนถึงบริเวณก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทาง

                  3) ติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อบริหารจัดการสภาพการจราจรบนถนนสายหลัก 210 ตัว และติดตั้ง CCTV Mobile บนจุดเฝ้าระวัง 35 ตัว รวมเป็น 245 ตัว

                  4) รายงานสภาพการจราจรแบบ Real Time ในระบบบริหารงานภัยพิบัติและสภานการณ์ฉุกเฉิน และรายงานสภาพการจราจรหนาแน่นและติดขัดทุกชั่วโมง และหัวหน้าทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมพร้อมอำนวยการสั่งการแก้ไขปัญหา บริหารจัดการได้ตลอด 24 ชั่วโมง

                  5) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จัดตั้งจุดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่จุดเสี่ยง โดยเน้นในบริเวณถนนที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด 10 อันดับแรก ของช่วงเทศกาลปีใหม่ 2558

             1.3 การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกภายในท่าเรือ/ สถานีขนส่ง/ ท่าอากาศยานและอาคารผู้โดยสาร/ สถานีรถไฟ/ สถานีรถไฟฟ้า ให้มีความพร้อมรองรับปริมาณการใช้บริการของประชาชน รวมทั้งเข้มงวดเรื่องความสะอาดของห้องน้ำภายในสถานีขนส่งผู้โดยสาร และต้องจัดให้มีที่จอดรถยนต์ รถจักรยานที่สะดวกและปลอดภัยอย่างเพียงพอ

             1.4 การอำนวยความสะดวกในด้านข้อมูลการจราจร ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งศูนย์ปลอดภัยคมนาคมจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ (Call Center) สายด่วน 1356 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวก บรรเทาและแก้ไขปัญหาการเดินทาง รวมทั้งรายงานสถานการณ์ให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงคมนาคมทราบและพิจารณาสั่งการกรณีฉุกเฉินและเร่งด่วนได้ทันท่วงที และศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงคมนาคม (MOTOC) ให้บริการระบบบริหารจัดการอุบัติเหตุด้านการขนส่ง (TRAMS) แก่หน่วยงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่อำนวยความสะดวกและวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุ

         2. แผนงานบริหารด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย 7 มาตรการ ดังนี้

             2.1 มาตรการด้านการบริหารจัดการผู้ขับขี่/ผู้โดยสารปลอดภัย ผู้ขับรถโดยสารประจำทางและผู้ประจำรถทุกคน ถูกตรวจความพร้อมของร่างกายก่อนรถโดยสารประจำทางออกจากสถานีทุกแห่งทั่วประเทศ โดยต้องมีเวลาพักผ่อนเพียงพอและไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ระหว่างการให้บริการ โดยมีระดับแอลกอฮอล์เป็นศูนย์มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวนร้อยละ 100 และผู้โดยสารรถโดยสารประจำทาง ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง

             2.2 มาตรการยานพาหนะปลอดภัย การตรวจความพร้อมของรถโดยสารสาธารณะ ณ จุดตรวจบนถนนสายหลัก/สายรอง สถานีขนส่งผู้โดยสาร/จุดจอด ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และส่วนภูมิภาค ควบคุมความเร็วรถโดยสารของ บขส. จำนวน 800 คัน ด้วยระบบ GPS ประสานผู้ประกอบการรถร่วม บขส. ให้ควบคุมความเร็วด้วยระบบ GPS ตรวจสภาพความพร้อมของเรือโดยสารให้มีความมั่นคง แข็งแรง พร้อมทั้งมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต เป็นต้น

             2.3 มาตรการถนนปลอดภัย ตรวจสอบป้ายจราจรเครื่องหมายควบคุมการจราจร สัญญาณไฟจราจร ไฟฟ้าแสงสว่างและไฟกระพริบให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน เป็นต้น

             2.4 มาตรการบังคับใช้กฎหมาย ตรวจจับรถที่ใช้ความเร็วเกินกำหนดด้วยเครื่องตรวจจับความเร็วอัตโนมัติ ตรวจวัดแอลกอฮอล์ และห้ามจำหน่ายและดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ บนรถ/รถไฟ และภายในพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสาร

             2.5 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ จัดหน่วยพยาบาลเพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นเตรียมความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง และให้ความช่วยเหลือผู้ประสบเหตุโดยการประสานองค์กรต่างๆ เช่น หน่วยกู้ภัย มูลนิธิ ทีมอาสาท้องถิ่น หน่วยพยาบาล เป็นต้น

             2.6 มาตรการด้านความมั่นคง มีการติดตั้งกล้อง CCTV ประจำสถานีขนส่งผู้โดยสาร จัดพนักงานและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้เพียงพอ และจัดพนักงานตรวจความปลอดภัยยืนประจำจุดตรวจสัมภาระ (Walk through Scanner) ที่กำหนดเพื่อตรวจสอบการเข้าใช้ระบบของผู้โดยสารร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร

             2.7 มาตรการด้านการประชาสัมพันธ์ จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านความปลอดภัย ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับ
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บนรถ/รถไฟ และภายในบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารเป็นการกระทำผิดกฎหมาย

         3. การรายงานผลการปฏิบัติและการประเมินผล

         ช่วงเทศกาล ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานสถิติการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และสถิติอุบัติเหตุมายังศูนย์ปลอดภัยคมนาคม ภายในเวลา 08.00 น. ของวันรุ่งขึ้นเป็นประจำทุกวันตลอดช่วงระยะเวลาปฏิบัติงานตามแผนอำนวยความสะดวกฯ และช่วงหลังเทศกาล ภายหลังเสร็จสิ้นช่วงเทศกาลปีใหม่ 2559 หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมมีการประมวลสรุปผลการปฏิบัติงาน พร้อมข้อเสนอแนะรายงานเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ




ข้อมูลจาก หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
วสุนธรา & ภัทรพร (สลธ.) /รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ /จัดทำ

 

 

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th