ข่าวเด่น
ก.พ.ร. นำทีมสานพลังทุกภาคส่วน จับมือ
4 เครือข่ายพันธมิตร เปิดตัวโครงการ GovLab นำร่องใน 4 กระทรวง เดินหน้าสู่ Thailand 4.0
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 สำนักงาน ก.พ.ร. จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) ร่วมกับ เครือข่าย
ความร่วมมือ ได้แก่ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อม
ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการนำร่องการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีให้เกียรติเป็นประธาน ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล การจัดพิธีลงนามครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสานพลังความร่วมมือกับทุกภาคส่วน คิดค้นและสร้างนวัตกรรมด้านการวางนโยบายสาธารณะร่วมกัน
ผ่านกระบวนการทดสอบ/ทดลองในห้องปฏิบัติการออกแบบ
(design lab) นำไปสู่การปรับปรุงงานบริการภาครัฐ ให้สะดวก รวดเร็ว สามารถแก้ไขปัญหา และตอบสนอง
ความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งมอบบริการที่ดีที่สุดสู่ประชาชน
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงาน ซึ่งสรุปความได้ว่า “ปีนี้เป็นแห่งการอำนวย
ความสะดวก และเป็นปีที่ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกใน
การพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
มีผลใช้บังคับครบ 2 ปี ซึ่งภาครัฐได้มีความพยายามในการทำงานมาอย่างต่อเนื่องเพื่ออำนวยความสะดวก
ให้ประชาชน
โดยหนึ่งในภารกิจ คือการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงาน ช่วยคิด ช่วยพูด ช่วยทำ เพื่อทำให้ระบบราชการเดินหน้าไปได้ด้วยดี ประสบความสำเร็จและสร้างความสะดวกสบายแก่ประชาชนซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้นำแนวคิดช่วยคิด ช่วยทำ ช่วยแก้ปัญหามาใช้ ในชื่อที่เรียกว่า ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ ที่เป็นการรวมกันของห้องปฏิบัติการหรือห้องทดลอง นวัตกรรม และการบริการ
ของภาครัฐ ซึ่งผลที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่นเดียวกับผลจากห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์
โดยได้หน่วยงานที่มีศักยภาพมาช่วยในเรื่องหลักสูตร ความรู้ และผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้กับหน่วยงานภาครัฐที่สนใจ รวมทั้งนำความรู้ที่ได้จากห้องทดลองนี้มาใช้ประโยชน์กับหน่วยงานที่มาร่วมนำร่องดำเนินการในวันนี้ ซึ่งการดำเนินการนี้นับเป็นการตอบสนองนโยบาย 4.0 ที่เน้นด้านนวัตกรรม ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน และตอบสนองการปฏิรูป
ระบบราชการ ซึ่งนำไปสู่ความก้าวหน้า ความมั่งคง พร้อมทั้งประเมินผลการทำงานและเรียนรู้เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่อไป
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า “กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (design thinking) ซึ่ง เป็นหัวใจของ Government Innovation Lab นั้น มี
ความสอดคล้องกับ “ศาสตร์พระราชา” หรือหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”โดยหน่วยงานภาครัฐ
จะยึดเอาหลักการนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาบริการ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสูงสุด”
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้เสนอโครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ ในหลักสูตรการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบ
การปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำหรับปลัดกระทรวง อธิบดี (ป.ย.ป.1) และได้ดำเนินการต่อเนื่องด้วยการร่วมเป็นพันธมิตรกับ UNDP ประเทศไทย โดยมีการประชุมร่วมกับผู้แทน
ของ UNDP เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือ และแนวทางการดำเนินการพัฒนาห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ มาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเล็งเห็นถึงทิศทางการพัฒนาแนวคิดโครงการ ด้วยการขยายความร่วมมือสู่หน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่มีประสบการณ์ใช้การคิดเชิงออกแบบ (design thinking) ตลอดจนการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนางานบริการภาครัฐ นำมาสู่การจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือโครงการห้องปฏิบัติการ นวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) ในวันนี้ โดยได้รับเกียรติจาก นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งเป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายที่ร่วมเป็นพันธมิตร ได้แก่ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำประเทศไทย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมถึงมีการลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการนำร่องการดำเนินงาน ร่วมกับ 4 หน่วยงานภาครัฐ อันประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ โครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ ปี 2560 จะเริ่มดำเนินการนำร่องใน 4 งานบริการ ได้แก่
- การแก้ปัญหาระบบการรอคิวตรวจรักษาใน โรงพยาบาล
- การแก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์สมุนไพร
- การปรับกระบวนงานการออกมาตรฐาน ISO ของห้องปฏิบัติการทดสอบ เพื่อส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ
- แก้ไขปัญหาประชาชนในระดับพื้นที่ (อำเภอ) ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเสนอ
แนวทางการแก้ไขปัญหา
นอกจากนี้ จะมีการจัดหลักสูตรเพื่อปรับกระบวนการทางความคิด (mindset) และเสริมสร้างขีดสมรรถนะของบุคลากร ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ให้เข้าใจกระบวนการคิดเชิงออกแบบ
แล้วสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนานวัตกรรมภาครัฐ โดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จะมีการมอบหมายทีมนวัตกรที่ปรึกษา หรือ i Team เข้ามาช่วยผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมด้านต่าง ๆ ในหน่วยงาน ซึ่ง i Team ดังกล่าว จะต้องเข้าร่วมดำเนินการตลอดโครงการ ตามแผนงานที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ ด้วยความร่วมมือจาก UNDP ประจำประเทศไทย ได้ประสานผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
Mr. Macro Steinberg อดีตอาจารย์แห่ง School of Design มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นผู้ให้คำปรึกษาการออกแบบเชิงกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้แก่รัฐบาลประเทศฟินแลนด์ มาบรรยายพิเศษเกี่ยวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบและการดำเนินการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐในต่างประเทศ ให้กับผู้บริหารภาครัฐระดับปลัดกระทรวง อธิบดี (หลักสูตร ป.ย.ป. 1) และรองอธิบดี (หลักสูตร ป.ย.ป. 2/1)
ในวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน นี้ด้วย
กลุ่มวิเทศสัมพันธ์และการประชาสัมพันธ์ / จัดทำ
รูปภาพ
Img19660_1_resize.jpg (102.14 kb)
|
Img19660_2_resize.jpg (81.81 kb)
|
Img19660_3_resize.jpg (127.37 kb)
|
Img19660_4_resize.jpg (90.6 kb)
|
Img19660_5_resize.jpg (134.58 kb)
|
Img19660_6_resize.jpg (125.64 kb)
|
Img19660_7_resize.jpg (122.35 kb)
|
Img19660_8_resize.jpg (126.71 kb)
|
Img19660_9_resize.jpg (114.56 kb)
|
Img19660_10_resize.jpg (128.12 kb)
|