Logo of OPDC ก.พ.ร. FAQ สำหรับการค้นหา  |  ภาษาไทย   |   English   |   Mobile   |   Help   |  

หน้าหลัก หน้าหลัก | ติดต่อ | ผังเว็บไซต์ |  หน้าหลัก
Share แชร์ พิมพ์หน้านี้  

ข่าวเด่น


สำนักงาน ก.พ.ร. จับมือธนาคารโลก เปิดมิติใหม่ของความร่วมมือระหว่างอาเซียนจัดอบรม ASEAN Executive Governance Program


           เมื่อวันที่  26 – 31 สิงหาคม  2556 ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับธนาคารโลก จัดอบรม  ASEAN Executive Governance Program ซึ่งเป็นหลักสูตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐจากประเทศสมาชิก เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้นจำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ไทยเวียดนาม และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ณ ห้องประชุม Connection 1 โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท

           การประชุมในครั้งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่  12 เมื่อเดือนมกราคม  2550 ณ เซบู ประเทศฟิลิปปินส์  ซึ่งได้มีข้อตกลงร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ขึ้นภายในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) เพื่อเป็นการสนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนอย่างรอบด้าน ทั้งในด้านประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community: APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC) ซึ่งในการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนั้น  ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการกำหนดแผนกลยุทธ์ที่ใช้เป็นแม่บทสำหรับการขับเคลื่อนขึ้น (Roadmap for ASEAN Community 2009-2015) โดยการส่งเสริมความร่วมมือในแต่ละด้านของประชาคมอาเซียนได้มีการวางพิมพ์เขียวที่เป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนเพื่อให้การรวมตัวของประชาคมอาเซียนบรรลุเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้  โดยเฉพาะพิมพ์เขียวแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  ในพิมพ์เขียวดังกล่าวได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการส่งเสริมสนับสนุนหลักธรรมาภิบาลการกำกับดูแลที่ดี (Promote Good Governance) นอกจากนี้ พิมพ์เขียวแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  ยังได้ให้ความสำคัญของการสร้างเสริมพัฒนาขีดสมรรถภาพของระบบราชการ (Building Civil Service Capability) รวมทั้งส่งเสริมให้ภาครัฐสนับสนุน  ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (Promoting Corporate Social Responsibility)  ซึ่งในการนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างยิ่งยวดเพื่อที่จะสามารถดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ดังกล่าวได้ 



           ในส่วนของประเทศไทย ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน จากมติในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 เพื่อกำหนดนโยบายและท่าทีของประเทศไทย ในการดำเนินการตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบในส่วนของการส่งเสริมธรรมาภิบาล (Promote Good Governance) และในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  12  ตุลาคม  2553 ได้มีมติมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามมาตรการภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  เพื่อพัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ (Building Civil Service Capability) ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม  (Promoting Corporate Social Responsibility) พัฒนาสมรรถภาพของระบบราชการ โดยให้สนับสนุนการประสานงานในอาเซียนเพื่อให้ระบบราชการมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสาธารณชนและมีธรรมาภิบาล และเพิ่มและจัดตั้งกลไกเพื่อการบริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรฐานการบริการ การมีกลไกรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน (Citizens Feedback Procedures) และจัดระบบแสดงระดับผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน (Output-based Performance Rating Systems รวมถึงการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (Promoting Corporate Social Responsibility) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะของระบบราชการให้เป็นระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มีความรับผิดชอบและมีความน่าเชื่อถือ ผ่านมาตรการการส่งเสริมความร่วมมือและการมีส่วนร่วมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

           เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการส่งเสริม สนับสนุนหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) และเป็นการเพิ่มขีดสมรรถนะในการให้บริการสาธารณะของภาครัฐในอาเซียน  สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (Knowledge Sharing) พร้อมเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน (Collaborative Relations) ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการ  The ASEAN Workshop on the New Era for the Public Sector Reform in ASEAN Community เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกสำหรับภูมิภาคอาเซียน โดยในการประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนสถานการณ์  และการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในด้านต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาระบบราชการ การพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน  โดยมีประเด็นที่แต่ละประเทศให้ความสนใจร่วมกันคือ การพัฒนายกระดับการบริหารจัดการของภาครัฐที่ตั้งอยู่บนหลักธรรมาภิบาลเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การส่งเสริมความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ  (Anti- Corruption) และที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาระบบการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง  ทั้งนี้ ยังอาจกล่าวได้ว่า  ความร่วมมือกันในครั้งนั้นประสบความสำเร็จอย่างสูงในการกระชับความสัมพันธ์ของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาระบบราชการของประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

          การจัดอบรมหลักสูตรธรรมาภิบาลสำหรับผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานภาครัฐของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Executive Governance Program) ในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ The ASEAN Workshop on the New Era for the Public Sector Reform in ASEAN Community ดังกล่าว ซึ่งเป็นการสนับสนุนผลักดันการดำเนินการตามกรอบแผนงานภายใต้ AESAN Blueprint ในด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาล ที่ได้มีการกำหนดมาตรการในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เป็นเลิศ (Best Practices)     ด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และการพัฒนาสมรรถภาพระบบราชการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน  อันนำไปสู่การปฏิบัติงานของภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล รวดเร็ว สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและเพิ่มศักยภาพในเชิงแข่งขันให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยสำนักงาน ก.พ.ร. และธนาคารโลกประจำประเทศไทยได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรขึ้น เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นเลิศ และการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งศึกษาดูงาน ณ สถานที่ต้นแบบ  ได้แก่  กรมการขนส่งทางบก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ความสำเร็จด้านการพัฒนาคุณภาพงานบริการภาครัฐ และชุมชนคลองเขิน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม  ซึ่งเป็นชุมชนตัวอย่างด้านการจัดการการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเพิ่มขีดสมรรถนะแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ ASEAN ให้เป็นผู้นำธรรมาภิบาลในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์อย่างเหมาะสม  สร้างความเข้าใจในเรื่องธรรมาภิบาลของอาเซียนและการนิยามธรรมาภิบาลอาเซียนร่วมกัน พัฒนา Service Delivery ภาครัฐภายใต้บริบทของธรรมาภิบาล เป็นการริเริ่มและผลักดันแผนธรรมาภิบาลอาเซียน 5 ปี ที่มุ่งเน้น Service Delivery ในช่วงปีแรก และการติดตามผลเพื่อพัฒนาในปีถัดไป


           ผลสรุปโดยรวมจากการดำเนินงานการจัดอบรมหลักสูตร  ASEAN Executive Governance Program คือ ได้มีการร่วมกันจัดทำความเข้าใจและข้อตกลงเกี่ยวกับนิยามความหมายของธรรมาภิบาลในอาเซียน  ซึ่งประกอบด้วย  หลักประสิทธิผล (Effectiveness) หลักประสิทธิภาพ  (Efficiency)  หลักการตอบสนอง (Responsiveness)  หลักการตรวจสอบได้/มีภาระรับผิดชอบ  (Accountability)  หลักการมีส่วนร่วม (Participation)  หลักนิติธรรม (Rule of Law)  วิสัยทัศน์เชิงยุทธศาตร์ (Strategic Vision)

           และจากการหารือร่วมกันของผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนนำมาซึ่งประเด็นที่แต่ละประเทศอาเซียนให้ความสำคัญในการส่งเสริมธรรมาภิบาล  อันประกอบด้วย การพัฒนารูปแบบการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ (Service Delivery) การบริหารความเสี่ยงและการภาวะวิกฤติ (Crisis and Disaster Management) การยกระดับขีดความสามารถของข้าราชการ (Capacity Building for Civil Servants) พัฒนาระบบการทำงานและการปฏิบัติงานภายในหน่วยงานภาครัฐ (Systems and Work Processes within an Agency) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Investment in Economic Infrastructure) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม (Investment in Social Infrastructure) มีการร่วมกันวางแผนและระบุแนวทางความร่วมมือด้านการยกระดับการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐใน 2 – 3 ปีข้างหน้า โดยจะเรียนรู้และดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับ World Bank’s Public Expenditure Management Network in Asia (PEMNA)

           
กล่าวได้ว่าในปีนี้ ทุกประเทศได้ให้ความสำคัญกับประเด็นความร่วมมือด้านการพัฒนารูปแบบการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ  (Service Delivery) โดยจะมีการระบุแผนความร่วมมือด้านการส่งเสริมธรรมาภิบาลของประเทศสมาชิกอาเซียน ผ่านกิจกรรมที่จะดำเนินการร่วมกันในอนาคตอย่างต่อเนื่อง  อันประกอบด้วย การเปิดช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่าง ASEAN Pubs ผ่านโซเชียลมีเดีย (Website / Facebook) การประชุมผ่าน Video Conference โครงการแลกเปลี่ยนข้าราชการระหว่างประเทศสมาชิก ( Exchange program ) การฝึกปฏิบัติงานจริงในหน่วยงานราชการของประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน (On the job training) การอบรมผู้บริหารระดับสูงของประเทศสมาชิกอาเซียน  (Executive Program) และท้ายสุดจะพยายามผลักดันให้เป็นประเด็นสำคัญทั้งในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน และระดับผู้นำสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนภายในปี 2015


 






กลุ่มสื่อสารฯ สลธ. / ข่าว & ภาพ
วสุนธรา (สลธ.) / รายงาน
กลุ่มสื่อสารฯ / จัดทำ


 

 

    ลิงค์     |     สมาชิกเครือข่าย     |     RSS feed     |     คำถามที่พบบ่อย            

เกี่ยวกับ

กฏหมายและระเบียบ

หนังสือเวียน

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ

ศูนย์ความรู้

ประชาสัมพันธ์

W3C   Facebook Facebook สำนักงาน ก.พ.ร.   PMQA Channel  ฐานข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ  ipv6 ready  www.info.go.th  การปฏิเสธความรับผิดชอบ |  Webmail| Intranet สำหรับข้าราชการ | ผังเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ 

Slocan

สงวนลิขสิทธิ์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 356 9999 โทรสาร 02 281 7882 สายด่วน 1785 e-mail: administrator@opdc.go.th