วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ
พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
1. การป้องกันรักษาป่า
2. จัดการที่ดินป่าไม้
3. ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้
4. ส่งเสริมการปลูกป่าในเชิงเศรษฐกิจ
5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรป่าไม้ในรูปแบบป่าชุมชน ป่าในเมือง วนเกษตร และอื่นๆ
6. พัฒนาการอนุญาต และการบริการ
7. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้ รวมถึงการกำหนดมาตรฐานและการรับรอง
เป้าประสงค์หลัก
1. ทรัพยากรป่าไม้ได้รับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าไม้ได้รับการปกป้อง ดูแล และใช้ประโยชน์ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
ค่านิยมและวัฒนธรรมของส่วนราชการ
I AM RFD มีความหมาย ดังต่อไปนี้
I : Intellectual คือ การปฏิบัติงานอย่างชาญฉลาด หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่อย่างชาญฉลาพื้นฐานของความรู้ ประสบการณ์ การนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนางาน และสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
A : Activeness คือ การปฏิบัติงานเชิงรุก หมายถึง ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีเป้าหมาย มีทิศทางที่สอดคล้องกับภารกิจ วิสัยทัศน์ของกรมป่าไม้
M : Open Mind คือ การเปิดใจกว้าง มีจิตบริการ หมายถึง การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ให้บริการอย่างมีคุณภาพ โปร่งใส และเสมอภาคต่อผู้รับบริการ
R : Responsibility คือ มีความรับผิดชอบ หมายถึง ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อ
สังคม และรับผิดชอบต่อผลการกระทำของตน รับผิดชอบต่อผลที่มีต่อประชาชน และกรมป่าไม้ ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกหน้าที่
F : Faith คือ การรักษาคำมั่นสัญญา หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
ต่อผู้รับงาน ต่อประชาชน และต่อหน้าที่ราชการโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
D : Development คือ ใฝ่เรียนรู้และพัฒนาตนเอง หมายถึง การศึกษา แสวงหาความรู้ในด้าน
วิชาการเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาศักยภาพตนเองอยู่เสมอ
สถานที่ติดต่อ
61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 02-561-4292-3 โทรสาร 0-2940 5910
www.forest.go.th
webmaster@forest.go.th
อำนาจหน้าที่
มีภารกิจเกี่ยวกับการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแลรักษา ส่งเสริม ทำนุบำรุงป่า และการดำเนินการเกี่ยวกับการป่าไม้ การทำไม้ การเก็บหาของป่า การใช้ประโยชนในที่ดินป่าไม้ และการอื่นเกี่ยวกับป่าและอุตสาหกรรมป่าไม้ ให้เป็นไปตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ด้วยกลยุทธ์เสริมสร้างความร่วมมือของประชาชนเป็นหลัก เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และมีภารกิจอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมป่าไม้ โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. ควบคุม กำกับ ดูแล ป้องกันการบุกรุก การทำลายป่า และการกระทำผิดในพื้นที่รับผิดชอบตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสวนป่า กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ กฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ศึกษา วิจัย วางแผน และประสานงานเกี่ยวกับการปลูกป่าเพื่อการฟื้นฟูสภาพป่า และระบบนิเวศ
3. ส่งเสริมการปลูกป่า การจัดการป่าชุมชน และการปลูกสร้างสวนป่าเชิงเศรษฐกิจในลักษณะสวนป่าภาคเอกชนและส่วนป่าในรูปแบบอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการศึกษาวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ป่าเศรษฐกิจของตลาดในประเทศและต่างประเทศ
4. อนุรักษ์ คุ้มครอง ดูแลรักษา และจัดการให้มีการใช้ประโยชน์ ที่ดินป่าไม้และการอนุญาตที่เกี่ยวกับ การใช้ประโยชน์จากไม้ อุตสาหกรรมไม้ ที่ดินป่าไม้ และผลิตผลป่าไม้
5. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้และผลิตผลป่าไม้ และที่เกี่ยวข้องกับไม้และผลิตภัณฑ์ไม้
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
|