ข้อมูลทั่วไป
วิสัยทัศน์ พันธกิจหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เป้าประสงค์หลัก หน่วยงานในสังกัด
สถานที่ติดต่อ อำนาจหน้าที่ |
คำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อมูลปี 2557
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ
รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (รอบ 12 เดือน) ของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ตามประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ดังนี้1. การสอบทานกรณีปกติ
1.1 การตรวจราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
รายงานผลการตรวจราชการของผู้ตรวจราชการกระทรวง และผู้ตรวจราชการกรมมีความครบถ้วนตามแบบรายงานมาตรฐานที่สำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด | ผู้ตรวจราชการกระทรวงและผู้ตรวจราชการกรมควรกำกับติดตามเร่งรัด ให้หน่วยรับตรวจได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะ |
1.2 การตรวจสอบภายใน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. ผู้ตรวจสอบภายในยังคงมีความรู้ ทักษะและความสามารถในการตรวจสอบระบบสารสนเทศไม่เพียงพอรวมทั้ง ยังขาดความเชี่ยวชาญในเชิงวิเคราะห์เพื่อให้รายงานการตรวจสอบได้รับข้อเสนอแนะและการแก้ไขปัญหา ได้อย่างถูกต้อง 2. การตรวจสอบยังคงเน้นการตรวจสอบการเงินและการปฏิบัติตามข้อกำหนดมากกว่าการตรวจสอบการดำเนินงาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับการบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงาน 3.บางหน่วยงานจัดทำรายงานการตรวจสอบภายในเสนอผู้บริหารค่อนข้างล่าช้า ทำให้การแก้ไขปัญหาอาจไม่ทันต่อเหตุการณ์ |
1. ส่วนราชการควรให้การสนับสนุนการพัฒนาทักษะความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบภายในการประเมินผลเชิงวิเคราะห์และเทคนิคการนำเสนอรายงานผลการตรวจสอบแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในอย่างต่อเนื่อง 2. ผู้ตรวจสอบภายในควรปฏิบัติงานตรวจสอบที่เน้นประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงาน และให้ความสำคัญในเรื่องการประเมินความเสี่ยง เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในมีคุณค่าต่อการพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานของส่วนราชการให้ดีขึ้น 3. เมื่อดำเนินการตรวจสอบแล้วเสร็จ ขอให้รีบรายงานผลการตรวจสอบโดยถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการตรวจสอบภายในของส่วนราชการ พ.ศ. 2551 โดยเคร่งครัด |
1.3 การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. การให้ความเห็นกรณีที่มีจุดอ่อนที่มีนัยสำคัญไม่สอดคล้องกันระหว่างหนังสือรับรองการประเมินผลการควบคุมภายใน (แบบ ปอ. 1) รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของการควบคุมภายใน (แบบ ปอ.2) และรายงานแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน (แบบ ปอ.3) 2. การใช้รูปแบบรายงานไม่เป็นไปตามแบบฟอร์มที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด 3. การกำหนดเวลาแล้วเสร็จในรายงานแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน (แบบ ปอ.3) บางกิจกรรมกำหนด ไว้ไม่ชัดเจน |
1. ส่วนราชการควรให้ความสำคัญกับการจัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายใน 2. ส่วนราชการควรกำชับผู้รับผิดชอบให้จัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในให้เป็นไปตามรูปแบบรายงานที่กำหนดไว้ในแนวทางการจัดวางระบบการควบคุมภายในและการประเมินผลการควบคุมภายใน 3. การกำหนดเวลาแล้วเสร็จของแต่ละกิจกรรมในรายงานแผนการปรับปรุงการควบคุมภายใน (แบบ ปอ.3) หน่วยงานควรระบุเป็น วัน เดือน ปีที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถควบคุมและติดตามการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงาน |
1.4 การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report)รอบ 12 เดือน ในทุกมิติมีความครบถ้วน ครอบคลุม ตามรูปแบบของการรายงานผลการปฏิบัติราชการ แต่มีบางตัวชี้วัด ที่ไม่อธิบายการดำเนินการที่ชัดเจนในหัวข้อคำชี้แจง การปฏิบัติงาน / มาตรการที่ได้ดำเนินการ ไม่ระบุปัญหาอุปสรรค ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานและข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงานในปีต่อไป |
เพื่อให้การตรวจสอบและการประเมินผล เป็นไปเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ควรกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มรายงานผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ให้ครบถ้วน |
1.5 รายงานการเงิน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
1. รายงานการเงินของส่วนราชการจัดทำขึ้นโดยใช้ข้อมูลจากระบบ GFMIS ซึ่งยังมีความคลาดเคลื่อน 2. ภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2555 เบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนด โดยสามารถเบิกจ่ายได้ร้อยละ 79.87 (เป้าหมาย ร้อยละ 93) นอกจากนี้การเบิกจ่ายงบลงทุนและงบรายจ่ายอื่นอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ คิดเป็นร้อยละ 61.55 และ 45.53 ตามลำดับ |
1. ส่วนราชการควรเร่งรัดเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตรวจสอบแก้ไขข้อคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นและดำเนินการนำข้อมูลเข้าในระบบ GFMIS ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งดำเนินการตรวจสอบรายการบัญชีที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ 2.ผู้บริหารควรให้ความสำคัญและร่วมรับผิดชอบในการกำกับ ดูแล การเบิกจ่ายเงินให้สอดคล้องกับแผนและเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนด และควรจัดทำแผนสำรองสำหรับโครงการที่มีความเสี่ยงสูง |
2. การสอบทานกรณีพิเศษ
1. โครงการพัฒนาป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ จากการลงพื้นที่ติดตามโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริ พบว่า ราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ยังไม่มีการรวมกลุ่มเพื่อนำผลผลิตที่ได้ออกจำหน่าย ซึ่งทำให้การขนส่งไม่สะดวกและต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น รวมทั้งการบรรจุภัณฑ์อาจไม่ได้มาตรฐาน พื้นที่บริเวณรอบ ๆ โครงการฯ พบว่าทรัพยากรป่าไม้ถูกบุกรุกทำลายเป็นจำนวนมาก |
1. กรณีราษฎรในพื้นที่โครงการฯ ยังไม่มีการรวมกลุ่ม ขอให้ผู้รับผิดชอบโครงการห้วยองคต อันเนื่องมาจากพระราชดำริประสานกับราษฎรเจ้าของผลผลิตรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายหรือสหกรณ์ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อประสานงานกับบริษัทภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพ มารับซื้อผลผลิตในพื้นที่ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน 2. กรณีทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่บริเวณรอบๆ โครงการฯ ถูกบุกรุกทำลาย ขอให้กรมป่าไม้ พิจารณาขอความร่วมมือกับภาคเอกชนในการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการปลูกป่าบริเวณรอบพื้นที่โครงการฯ |
2. โครงการส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ ในพื้นที่บ้านห้วยสะพานสามัคคี อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ในช่วงฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร และเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคคณะกรรมการฯจึงต้องการขอรับการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำ เพื่อใช้ในช่วงฤดูแล้ง |
1. กรมป่าไม้ควรเน้นย้ำเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ให้ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานป่าชุมชนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การเข้าถึงทรัพยากรป่าไม้เป็นไปอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ชุมชน 2. กรณีที่คณะกรรมการต้องการขอรับการสนับสนุนรถ บรรทุกน้ำ เพื่อใช้ในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากภารกิจการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของกระทรวงทรัพยากร-ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว ดังนั้น ขอให้กรมป่าไม้ ประสานคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี เพื่อทำความเข้าใจและให้ความรู้ในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป |
3. โครงการลดผลกระทบด้านธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ
1. กิจกรรมการลดผลกระทบดินถล่มโดยการใช้ไม้ไผ่สานขัดแตะ เป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาชั่วคราวเท่านั้น หากจะมีการก่อสร้างด้วยฐานรากที่แข็งแรง พบว่า กรมทรัพยากรธรณีไม่มีตำแหน่งวิศวกร ในโครงสร้างอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้างดังกล่าวได้
2. มีบ้านเรือนของประชาชนตั้งอยู่ริมลำธารกลางหุบเขา เมื่อพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศแล้วหากเกิดน้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม บ้านหลังดังกล่าวจะมีอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากดินถล่มสูงมาก
|
1. กรมทรัพยากรธรณี ควรบูรณาการเครือข่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานแนวทางการแจ้งเตือนภัยให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
2. ควรศึกษาวิจัยและจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยที่สามารถระบุสาเหตุและลำดับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยดินถล่ม และกำหนดมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์พื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวเพื่อป้องกัน การเกิดภัยและลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3. ควรทบทวนโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรธรณี โดยปรับปรุงแก้ไขตามสถานการณ์ปัจจุบัน |
4. โครงการดูแลเขตพิทักษ์ป่าชายเลน รักษ์สัตว์น้ำ
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1. ประชาชนบางกลุ่มรับจ้างปลูกป่าในพื้นที่ของตนเอง แต่ขาดความรู้ในเรื่องการปลูกป่าชายเลน จึงทำให้มีอัตราการรอดตายต่ำซึ่งก่อให้เกิดความสูญเปล่าของค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าชายเลน 2. สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 6 (สมุทรสงคราม) ไม่มีสถานที่ทำงานเป็นของตนเอง ต้องอาศัยสถานที่ของ อบต. คลองโคน เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งงบประมาณและเจ้าหน้าที่น้อยไม่เพียงพอและไม่เหมาะสมกับพื้นที่ที่รับผิดชอบ 3. ในบริเวณชายฝั่งทะเลของทั้งจังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดเพชรบุรี พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและพื้นที่งอก ซึ่งทางราชการได้แก้ไขปัญหาโดยใช้โครงสร้างและรูปแบบที่ต่างกัน และยังไม่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา เพราะไม่มีการศึกษาในภาพรวมอย่างเป็นระบบ |
1. ควรให้ความรู้ในเรื่องการปลูกป่าชายเลนเพื่อให้มีอัตราการรอดตายสูงขึ้น รวมทั้งควรให้คำแนะนำให้ประชาชนดำเนินการปลูกป่าชายเลนเสริมความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ป่าเดิม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่าการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ใหม่ 2. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ควรมีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานปลูกป่าชายเลนในพื้นที่ที่ได้ดำเนินการปลูกไปแล้ว 3. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ควรศึกษาถึงข้อดีข้อเสีย เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณทั้งโครงการในภาพรวมต่อไป |
5. โครงการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555)
ข้อค้นพบ | ข้อเสนอแนะ |
ข้อสังเกตในการดำเนินโครงการ 1. โครงการปรับปรุงซ่อมแซมแหล่งน้ำเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัย ปัจจุบันมีการดำเนินงานหลายหน่วยงาน จึงทำให้การบริหารจัดการน้ำและการบริหารจัดการโครงการขาดความเป็นเอกภาพ 2. การดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมแหล่งน้ำในคลองเดียวกัน และมีหลายหน่วยงานเข้าไปดำเนินการโดยใช้บริการของผู้รับเหมารายเดียวกัน แต่เป็นคนละสัญญา เมื่อระยะเวลาใกล้ครบตามสัญญา จึงต้องมีการระดมคนและอุปกรณ์เครื่องจักรเข้าดำเนินการก่อน จึงส่งผลให้การดำเนินงานของอีกหน่วยงานหนึ่งเกิดความล่าช้า และไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด |
1. การดำเนินโครงการของแต่ละหน่วยงาน ควรมีการ บูรณาการการดำเนินงานร่วมกัน 2. ควรมีการศึกษาและพิจารณาผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของแหล่งน้ำ ทั้งก่อนและหลังการดำเนินโครงการ 3. ควรให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบการระบายน้ำ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของโครงการและลดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานกับประชาชนในพื้นที่ |